อาหารสําหรับคนท้อง 2 เดือน อาหารสําหรับคนท้องเดือนแรก อาหารสําหรับคนท้อง ที่กิน มังสวิรัติ


2,351 ผู้ชม


อาหารสําหรับคนท้อง 2 เดือน อาหารสําหรับคนท้องเดือนแรก อาหารสําหรับคนท้อง ที่กิน มังสวิรัติ

การตั้งครรภ์ในเดือนที่ี่ 2

พัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์

        เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 5 ตัวอ่อนจะมีขนาดโตขึ้นเท่ากับผลองุ่นแล้ว ส่วนหัวจะโตขึ้นพอๆกับอก หน้าจะเริ่มปรากฏให้สังเกตเห็นได้ แต่ตาจะเห็นได้ชัดเจนเพราะเม็ดสีเข้มที่ผิวหนังใต้ตา หัวใจที่เริ่มทำงานจะทำให้มีการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงร่างกายเล็กๆนั่นแล้ว และระบบประสาทก็เริ่มมีความสมบูรณ์มากขึ้น โดยในเดือนที่ 2 นี้สมองจะมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วมาก สมองซีกซ้ายและขวาจะเริ่มเจริญเติบโตและแตกสาขาของเส้นประสาทที่ต่อออกมาจากสมอง จะมีเยื่อบางๆมาหุ้มสมองเอาไว้ซึ่งมีของเหลวอยู่รอบๆเพื่อป้องกันกลุ่มเซลล์เล็กๆนั้น เมื่อสิ้นสุดเดือนที่ 2 สมองก็จะเริ่มทำงาน และสั่งให้ทารกมีการเคลื่อนไหวได้

        เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 8 เราจะเรียกตัวอ่อนว่า “ทารกในครรภ์” ซึ่งทารกจะเริ่มสร้างส่วนของแขนและขาขึ้นมา ที่ส่วนปลายของแขนขาจะมีส่วนที่เป็นร่องซึ่งจะกลายไปเป็นมือเท้า และนิ้วเท้าเล็กๆนี้จะเริ่มเตะเพื่อเป็นการเริ่มออกกำลังกายของทารกเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะออกมาสู่โลกภายนอกต่อไป ส่วนปอด ทางเดินอาหาร ตับ ไต ระบบสำคัญๆของร่างกายภายในจะสมบูรณ์มากขึ้นเมื่อถึงปลายของเดือนที่ 2 และมีขนาดยาวเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งนิ้ว คุณอาจลองนึกภาพเปรียบเทียบขนาดของทารกได้เท่ากับผลสตรอเบอร์รี่ที่มีหัวใจสี่ห้องและมีการเต้นของหัวใจ ในเดือนที่ 2 นี้จะมีการพัฒนาของกระดูกและระบบทางเดินอาหารทำให้มีการไหลเวียนเกิดขึ้น แม้ว่าทารกจะไม่ได้กินอะไรเข้าไปก็ตามกระเพาะอาหารก็ยังมีการหลั่งน้ำย่อยออกมา ตับก็มีการผลิตเม็ดเลือดและไขกระดูก ส่วนข้างในของหูก็มีการพัฒนาส่วนที่รับการได้ยินและการทรงตัว

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณแม

        คุณแม่อาจรู้สึกว่าช่องคลอดบวม มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตกขาวเพิ่มมากขึ้นได้ โดยปกติตกขาวจะมีสีขาวหรือใสไม่มีกลิ่นรุนแรง แต่ถ้าหากพบว่าตกขาวมีสีเปลี่ยนไป มีกลิ่นเหม็นมากอาจแสดงว่ามีการติดเชื้อเกิดขึ้นก็ควรปรึกษาแพทย์
        นอกจากนั้นเต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น หัวนมมีสีคล้ำมากขึ้น เส้นเลือดที่เต้านมสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน หัวนมไวต่อความรู้สึกเจ็บ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณแม่ใส่เสื้อชั้นในที่คับเกินไป 
        ความต้องการออกซิเจนสูงขึ้น คุณแม่จะรู้สึกอึดอัดหายใจไม่สะดวกได้ง่ายเพราะคุณแม่ต้องการอากาศมากขึ้นนั่นเอง ลองนอนเปิดหน้าต่างในวันที่อากาศดีๆ หลีกเลี่ยงการเดินตามถนนที่มีควันรถ เพราะคาร์บอนมอนออกไซด์จะไปแทนที่ออกซิเจนทำให้คุณแม่หน้ามืดเป็นลมได้
        อาจรู้สึกเหนื่อยและวิงเวียนเนื่องจากแรงดันเลือดต่ำเพราะอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลง แต่เมื่อคุณแม่ผ่านไตรมาสที่ 1 ไปได้อาการเหล่านี้จะดีขึ้น หัวใจจะสูบฉีดเลือดมากขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ หลอดเลือดจะขยายและปริมาณเม็ดเลือดจะเพิ่มมากขึ้น ความรู้สึกอ่อนเพลียนี้ยังอาจเกิดขึ้นจากการที่มีน้ำตาลในเลือดต่ำหรือขาดธาตุเหล็กก็ได้
        คุณแม่อาจพบว่ามีเลือดออกตามไรฟัน เพราะเนื้อเยื่อที่เหงือกจะอ่อนนุ่มมากขึ้นนั่นเอง แต่การมีเลือดออกอาจตามมาด้วยการอักเสบ ดังนั้น คุณแม่อาจจำเป็นต้องปรึกษาหมอฟัน และควรทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร หรืออาจบ้วนปากบ่อยๆ และแปรงฟันวันละ 3 ครั้งด้วยแปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม 
        อาการแพ้ท้องประกอบไปด้วยอาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศีรษะ แสบลิ้นปี่ อาการแพ้ท้องไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในตอนเช้าอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่จริงๆแล้วสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งวัน อาการแพ้ท้องเกิดขึ้นกับหญิงตั้งครรภ์มากกว่า 90% และมักเป็นอาการอย่างแรกที่เกิดขึ้น อาการแพ้ท้องเกิดขึ้นจากการที่รกของเด็กมีการฝังตัวเข้าไปในเยื่อบุโพรงมดลูกและสร้างฮอร์โมน hCG ออกมาตั้งแต่หลังประจำเดือนขาดไป 2 – 3 วัน ซึ่งมีผลให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนช่วยการตั้งครรภ์ชื่อเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนออกมา ซึ่งในช่วงแรกระดับของฮอร์โมนยังไม่สูงมากก็จะยังไม่มีอาการ แต่เมื่อระดับฮอร์โมนเพิ่มสูงขึ้นอาการแพ้ท้องก็จะเริ่มต้นขึ้น ส่วนใหญ่มักเริ่มมีอาการแพ้ท้องเมื่ออายุครรภ์ย่างเข้า 5 สัปดาห์ และระดับของฮอร์โมน hCG จะเพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดเมื่ออายุครรภ์ 8 สัปดาห์ แต่จะลดระดับลงเมื่ออายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ซึ่งอาการแพ้ท้องก็จะเริ่มทุเลาลง แต่ในคุณแม่บางรายก็มีอาการไปจนกระทั่งคลอดเลยทีเดียว อาการแพ้ท้องมักจะรุนแรงขึ้นโดยการกระตุ้นจากกลิ่นอาหาร กลิ่นฉุนและควันบุหรี่ จากการศึกษาวิจัยพบว่า หากคุณแม่ตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกเมื่ออายุน้อยกว่า 20 ปี น้ำหนักมากกว่า 75 กิโลกรัม ไม่สูบบุหรี่ และการตั้งครรภ์แฝด อาการแพ้ท้องนั้นจะเพิ่มมากขึ้น อาการแพ้ท้องรุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้แต่พบได้น้อย แต่ถ้าหากมีการแพ้ท้องอย่างรุนแรงก็จำเป็นที่จะต้องนอนพักในโรงพยาบาลให้น้ำเกลือ ตรวจหาระดับคีโตนในเลือด อย่างไรก็ตามเรามักพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้องมักสามารถดำเนินการตั้งครรภ์ไปจนสิ้นสุดได้

คำแนะนำในการปฏิบัติตัวของคุณแม่

เมื่อมีอาการแพ้ท้อง
  • มีขนมปังแครกเกอร์แบบเค็มๆไว้ข้างเตียงนอนเสมอ เมื่อคุณแม่ตื่นขึ้นมาให้รับประทานทันที แล้วนอนต่อสัก 15 นาทีก่อนที่จะลุกขึ้น อาการแพ้ท้องมักเกิดขึ้นในตอนเช้าหลังจากที่คุณแม่เพิ่งตื่นนอนและท้องว่าง
  • หลีกเลี่ยงของทอดและผลไม้ดอง
  • เนื่องจากคุณแม่อาจรู้สึกคลื่นไส้อาเจียน หากมีอาการแน่นท้อง ลองรับประทานอาหารแบ่งเป็นมื้อย่อยๆแต่รับประทานหลายๆมื้อ ในแต่ละมื้อรับประทานเพียงน้อยๆก็พอ จะช่วยให้คุณแม่ได้รับอาหารเพียงพอต่อความต้องการโดยไม่ฝืนใจจนเกินไปนัก คุณแม่อาจแบ่งมื้ออาหารออกเป็น 5 – 6 มื้อต่อวัน
  • ดื่มน้ำให้มาก แต่อย่าดื่มน้ำร่วมกับอาหารหรือหลังอาหารทันที ให้ดื่มน้ำก่อนหรือหลังอาหารประมาณ 30 นาที
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด หากเครื่องดื่มทำให้ท้องไส้ปั่นป่วน ลองรับประทานผักผลไม้ เช่น ผักกาดหอมเพราะจะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก
  • รับประทานน้ำผลไม้ใส่น้ำแข็ง เชอร์เบท ไอศกรีม โยเกิร์ต นมปั่น
  • แม้ว่าคุณไม่รู้สึกหิว แต่ควรพยายามบังคับให้ตัวเองรับประทาน เพราะการที่ท้องว่างจะทำให้คุณอาเจียนได้ง่ายกว่าที่มีอาหารอยู่ในท้อง
  • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงจะรับประทานได้ง่ายกว่า เช่น ขนมปังแห้งๆ กรอบๆ  ธัญพืช  หรือข้าวสวย
  • การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงบางชนิดอาจทำให้คุณแม่ไม่สบายท้อง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู คุณแม่อาจลองรับประทานไข่ต้มสุกๆ แทนน่าจะดีขึ้น
  • หลีกหนีให้ไกลจากกลิ่นที่ทำให้ท้องของคุณปั่นป่วน หากจำเป็นต้องปรุงอาหารให้เปิดหน้าต่าง เปิดพัดลมดูดกลิ่น
  • วิตามินเสริมที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหารได้  ดังนั้น หากคุณแม่ที่เคยมีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก่อนอย่าลืมแจ้งให้คุณหมอทราบด้วย วิตามิน B จะช่วยให้อาการแพ้ท้องดีขึ้น ดังนั้น คุณหมออาจสั่งวิตามิน B complex หรือ B6 ให้
  • หากทุกวิธีที่กล่าวมาไม่ได้ผลสำหรับคุณแม่ และคุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียวิงเวียนและรู้สึกไม่สบายมาก  อย่าใช้ยาอะไรที่คุณหมอไม่ได้สั่งให้โดยเด็ดขาด แม้ว่าคุณแม่จะรู้สึกว่ามันเป็นยาธรรมดาที่ใช้ประจำ ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะยาบางชนิดอาจมีส่วนประกอบที่คุณไม่ทราบ อย่าลืมว่าคุณหมอของคุณยินดีที่จะตอบคำถาม และช่วยดูแลคุณแม่เสมอ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

        ปวดปัสสาวะบ่อย

        การที่มีฮอร์โมนเพิ่มมากขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยเฉพาะโปรเจสเตอโรนจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้กล้ามเนื้อเรียบผ่อนคลายมากขึ้น กระเพาะปัสสาวะก็เป็นกล้ามเนื้อเรียบเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อมีปัสสาวะปริมาณเพียงเล็กน้อยก็จะทำให้คุณแม่รู้สึกปวดปัสสาวะได้ ซึ่งเป็นเหตุผลให้คุณแม่ต้องปัสสาวะบ่อยมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าคุณแม่พบห้องน้ำที่ไหนให้เข้าไว้ก่อน และเมื่อปัสสาวะเสร็จเรียบร้อยแล้วให้นั่งรอ 2 – 3 นาที บางทีคุณแม่ก็จะรู้สึกปวดขึ้นมาอีก

        ท้องผูก

       หากคุณแม่เป็นคนที่ออกกำลังกายอย่างหนักมาก่อน การที่ไม่ค่อยมีกิจกรรมใดๆและการนอนมากๆในช่วงนี้อาจทำให้คุณแม่ท้องผูกได้ ดังนั้น คุณแม่อาจเริ่มที่จะออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดินเป็นเวลา 15 – 20 นาทีในตอนเช้า แล้วกลับมาดื่มน้ำอุ่นหรือนมอุ่นๆ และนั่งพัก คุณแม่อาจเริ่มปวดท้องขึ้นมาได้ หรือพยายามดื่มน้ำให้มากขึ้น ดื่มน้ำผลไม้ เช่น น้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ รับประทานพืชผักที่ให้กากอาหารมากขึ้นก็จะช่วยได้ แต่ถ้าคุณแม่เป็นคนที่ท้องผูกเป็นกิจวัตรและใช้ยาระบายมาตลอด ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้ยาระบายทุกชนิด เพราะยาบางชนิดอาจมีผลทำให้แท้งบุตรได้เลยทีเดียว

        รู้สึกเหนื่อยและอ่อนเพลีย

        อาการอ่อนเพลียและง่วงนอนนี้เป็นผลมาจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน คุณแม่อาจคิดว่าคุณหมอกล่าวหาฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้เป็นผู้ร้ายอยู่เสมอ แต่ความเป็นจริงก็คือ เคยมีนักวิจัยทำการทดลองโดยการฉีดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนให้กับหนูทดลอง ผลการทดลองพบว่าหนูหลับเพราะฮอร์โมนนี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อคลายตัวนั่นเอง ดังนั้น หากรู้สึกเหนื่อยก็นอนพัก นอนหลับให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถนอนได้ เพราะธรรมชาติต้องการให้เป็นเช่นนั้น หากการนอนกลางวันเป็นการฝืนใจคุณแม่ ให้ลองนึกว่ามีอีกคนที่กำลังง่วงและอยากจะนอนแล้ว

       ท้องนอกมดลูก

       คือ การที่ตัวอ่อนไปฝังตัวในที่อื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ หรือในช่องท้อง จะมีอาการเลือดออกกระปริบกระปรอยอยู่เรื่อยๆ และมีอาการปวดท้องซึ่งจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งทนไม่ไหว ซึ่งถ้าเกิดการท้องที่ท่อนำไข่แล้วท่อนำไข่แตก เลือดจะไหลเข้าไปในช่องท้องทำให้เสียเลือดมากจนอาจช็อกหมดสติได้ การท้องนอกมดลูกสามารถทำการวินิจฉัยเบื้องต้นได้โดยการตรวจเลือดหาระดับฮอร์โมน hCG และตรวจอัลตร้าซาวด์เปรียบเทียบจะไม่พบถุงน้ำคร่ำในโพรงมดลูก การวินิจฉัยที่แน่ชัดทำได้โดยการส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง Laparoscopy การวินิจฉัยได้ตั้งแต่เริ่มแรกจะช่วยให้ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีซึ่งจะทำให้มีความปลอดภัยสูงขึ้นมาก

การตรวจต่าง ๆ

       การตรวจอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound)

       อัลตร้าซาวด์ คือ คลื่นเสียงความถี่สูง 3.5 - 7 megahertz ที่ปล่อยออกมาจากหัวตรวจ (Transducer) ที่สัมผัสกับผนังหน้าท้องของแม่ คลื่นเสียงจะไปตกกระทบที่เนื้อเยื่อแล้วสะท้อนกลับมา เครื่องก็จะอ่านผลเป็นความเข้มหรือจางขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเนื้อเยื่อ ภาพที่แสดงให้เห็นทางจอภาพจะแสดงในรูปแบบของจุด (Pixel) เช่น ถ้าเป็นเนื้อเยื่อที่มีความหนาแน่นมาก เช่น กระดูก ก็จะแสดงให้เห็นเป็นสีขาว ถ้าเป็นเนื้อเยื่อก็จะเป็นส่วนที่มืดมากขึ้น ถ้าเป็นของเหลวก็จะเป็นสีดำ เป็นต้น การตรวจอัลตร้าซาวด์ในขณะตั้งครรภ์คลื่นเสียงจะผ่านผนังหน้าท้องของแม่ไปยังทารกในครรภ์แล้วสะท้อนกลับมาสร้างเป็นภาพให้เห็นทางจอภาพ

การตรวจอัลตร้าซาวด์ที่ใช้ในสูติกรรมมี 2 ชนิดคือ

    1. การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางหน้าท้องใช้ในการตรวจครรภ์ในระยะไตรมาสที่ 2 – 3 เพื่อที่จะได้เห็นภาพของทารกและรกที่ชัดเจนมากขึ้น
  1. การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอดใช้ตรวจครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก เพื่อที่ได้เห็นภาพ ของปากมดลูก  มดลูก ถุงน้ำคร่ำ ตัวอ่อน และโครงสร้างลึกๆของอุ้งเชิงกราน
การตรวจอัลตร้าซาวด์ทั่วๆไปในการตรวจครรภ์จะใช้เพื่อ
  • คาดคะเนอายุครรภ์
  • ตรวจการเจริญเติบโตของทารก
  • ดูจำนวนของทารก
  • ตรวจครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง 
  • สงสัยว่ามีความผิดปกติ หรือทารกตายในครรภ์ 
  • เพื่อบอกตำแหน่งของรกและความผิดปกติของรก
  • เพื่อแยกการตั้งครรภ์นอกมดลูกและความผิดปกติในการตั้งครรภ์อื่นๆ
  • มีเลือดออกผิดปกติ

     

จำนวนวันหลัง
ประจำเดือนครั้งสุดท้าย  

ระดับของฮอร์โมน hCG   

สิ่งที่เห็นได้จากการตรวจ
อัลตร้าซาวด์

       34 +/- 2        914 +/- 106         ถุงน้ำคร่ำ
       40 +/- 3        3783 +/- 683         fetal pole
       47 +/- 6          3178 +/- 2898         หัวใจเด็กเต้น

ตารางที่ 1.2 แสดงผลการตรวจอัลตร้าซาวด์ในระยะต่างๆของการตั้งครรภ์

การตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็ก (CVS)

       CVS (Chorionic villous sampling) คือ การดูดเอาตัวอย่างของรกเด็กมาตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซม เช่นเดียวกันกับการตรวจน้ำคร่ำ สามารถบอกความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down’s syndrome ความผิดปกติของโครงสร้างของร่างกาย เช่น Spina bifida (การเปิดของสันหลัง กระดูกสันหลังไม่ปิด) และ Anencephaly (สภาวะที่สมองไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีสมอง) โดยปกติการตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็กสามารถทำการตรวจได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 2 เดือนขึ้นไป
       การเตรียมตัวเพื่อทำการตรวจ การตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็กไม่จำเป็นต้องให้ยาสลบ อาจใช้เพียงยานอนหลับชนิดฉีดเข้ากระแสเลือด ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องใช้วิสัญญีแพทย์และต้องทำในห้องผ่าตัด ผู้ป่วยต้องงดน้ำงดอาหารก่อนทำอย่างน้อย 6 ชั่วโมง และนอนพักเพื่อสังเกตอาการในโรงพยาบาลอย่างน้อยหนึ่งวัน
       วิธีการตรวจชิ้นเนื้อจากรกของเด็ก แพทย์จะให้ผู้ป่วยนอนหลับก่อนแล้ว แพทย์จะทำการตรวจครรภ์โดยจะใช้เครื่องอัลตร้าซาวด์เพื่อคาดคะเนอายุครรภ์ที่แน่นอน จำนวนของทารก การเต้นของหัวใจ ท่าและตำแหน่งของทารก ตำแหน่งของรกว่าอยู่ที่ใดเพื่อป้องกันไม่ให้ไปถูกทารก สายสะดือ หรือรก หลังจากนั้นแพทย์จะทำความสะอาดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกก่อนโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแล้วใส่เครื่องมือขยายช่องคลอด (Speculum) เข้าไปในช่องคลอดเพื่อให้สามารถมองเห็นปากมดลูกได้ แล้วแพทย์จะใช้ท่อพลาสติกเล็กๆสอดผ่านช่องคลอดเข้าไปในโพรงมดลูก เพื่อดูดเอาชิ้นเนื้อจากรกเด็กมาเพียงเล็กน้อยโดยดูตำแหน่งของรกเด็กผ่านทางการตรวจอัลตร้าซาวด์ ตลอดเวลาเพื่อเป็นการป้องกันการที่ท่อไปดูดส่วนอื่นของเด็ก เมื่อได้ตัวอย่างของชิ้นเนื้อจากรกเด็กมาแล้วก็จะนำไปตรวจหาความผิดปกติในห้องทดลองต่อไป และผลการตรวจจะทราบภายใน 3 วัน


แหล่งที่มา : perfectwomaninstitute.com

อัพเดทล่าสุด