มีอาการไอเรื้อรัง ไอเรื้อรังในเด็ก ยาสมุนไพรรักษาไอเรื้อรัง
ไอเรื้อรัง……อาการที่ควรต้องหาสาเหตุ
หลังจากประสบปัญหาอาการไอเรื้อรังมาตั้งแต่ก่อนปีใหม่ ปัจจุบันก็ยังไม่หายดี ทั้งอากาศเปลี่ยน วันนี้หนาว เช้าแสนร้อน บ่ายฝนตก โอ๊ย! ตรูจะบ้าตาย แต่ไม่ตาย ทำให้โรคคนรวยกำเริบ ก็ภูมิแพ้ครับ(ทั้งๆที่ยังไม่รวยเลย) แพ้อากาศ ดีนะที่จะไม่แพ้ใจเธอ (แหวะ) เข้าเรื่องดีฝ่าครับ เมื่อครู่ใหญ่ผมนำเอา อาการไอเรื้อรังในเด็กมาบอกเล่า ให้อ่าน เผื่อลูกๆสุดรักกำลังเป็นอยู่ พอดีมีเพื่อนบ่นให้พัง ว่าลูก ไอตลอด แถมเป็นภูมิแพ้อีก แพ้เหงื่อตัวเอง ขอให้หายไวๆนะ คุณสุดา??? เอาอีกแล้ว นอกเรื่องอีก เข้าเรื่องครับ อ่อ ! ต้องขอขอบคุณ ศูนย์สุขภาพปอดกรุงเทพ
ทุกคนคงเคยไอมาแล้วที่พบบ่อย ก็คือ อาการไอหลังจากที่เป็นไข้หวัด หรือหลังการสำลัก แต่อาการไอที่พบในผู้ป่วยพวกนี้จะไม่อยู่นาน เป็นนานๆ ที หรืออย่างมากก็เป็นวัน หลังจากนั้นก็จะหายไป มีน้อยรายที่หลังจากเป็นไข้หวัดแล้วมีอาการไอนานหลายอาทิตย์ ซึ่งเป็นผลจากการที่รักษาอาการไข้หวัดไม่ดีพอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการพักผ่อนที่ไม่พียงพอ การพูดก็จะทำให้อาการไอเพิ่มมากขึ้น
อาการไอเรื้อรังทั่วๆ ไปถือว่าไอเป็นเวลาติดต่อกันนานไม่น้อยกว่า 3 อาทิตย์ สาเหตุของการไอเรื้อรังนั้นอาจจะเป็นจากโรคที่ไม่รุนแรงก็ได้ เช่นอาการไอเรื้อรังหลังจากการที่เป็นไข้หวัดตามที่กล่าวมา หรืออาจจะเป็นอาการของโรคที่รุนแรง เช่น วัณโรคปอด หรือมะเร็งของปอดเป็นต้น ดังนั้นผู้ที่มีอาการไอเรื้อรัง ไม่ควรที่จะปล่อยปละละเลย ควรหาสาเหตุว่าไอจากอะไรก่อนที่จะเป็นการสายเกินไป
ผู้ป่วยจริงๆ แล้วแทบจะไม่มีอาการอะไรเลย
มีอาการไอเล็กน้อย มาหาแพทย์จึงได้เอ็กซ์เรย์
พบว่ามีก้อนในปอดข้างขวา
ตอนหลังพิสูจน์ได้ว่าเป็นมะเร็งของปอด
ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัดและอาการดีขึ้น
ผู้ป่วยเป็นวัณโรคระยะติดต่อ และเป็นมาก
ปอดทั้งสองข้างถูกทำลายเป็นบางส่วน
ผู้ป่วยมาหาแพทย์เพราะเรื่องอื่น แต่พอเอ็กซ์เรย์พบ
จึงได้ถามอาการ ผู้ป่วยยอมรับว่ามีอาการไอบ้าง
แต่ไม่รู้สึกอะไร ยังคงดำรงชีวิตตามปกติ
การไอคืออะไร
ออกซิเจนจากอากาศเข้าไปสู่ปอดตามลมหายใจเข้า และเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อให้เลือดนำออกซิเจนนั้นไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้ใช้ ในปฏิกิริยาเผาผลาญอาหารเพื่อสร้างเป็นพลังงาน นอกจากนั้นแล้วยังนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดจากการเผา ไหม้อาหาร กลับมายังปอดและต้องขับถ่ายออกจากร่างกายทางลมหายใจออก เพราะถ้าสะสมอยูในร่างกายจะทำให้เกิดภาวะกรดเกินเกิดขึ้น ซึ่งอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิต
The Human respiratory system =
ระบบทางเดินหายใจในคนปกติ
Nasal passage = โพรงจมูก
Oral Cavity = ช่องปาก
Pharynx = ลำคอส่วนต้น
Larynx = ลำคอส่วนล่าง
Trachea = หลอดลมใหญ่ส่วนต้น
Bronchi = หลอดลมใหญ่ที่แยกเข้าปอดทั้งสองข้าง
Lung = ปอด
Heart = หัวใจ
Ribs = ซี่โครง
วันหนึ่งๆ เราต้องหายใจเอาอากาศเข้า ออกประมาณวันละ 8,000–9,000 ลิตร ซึ่งเป็นปริมาณที่มาก อากาศที่เราหายใจเข้าไปมักจะมีสารที่เป็นพิษต่อปอด และทางเดินหายใจ ที่เราเรียกว่ามลภาวะอากาศเป็นพิษ ซึ่งมีทั้งที่เป็นแก๊ส และเป็นผงฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศ ปอดของเราเป็นส่วนที่ไวต่อการถูกทำอันตรายจากสารพิษ ดังนั้นอากาศที่หายใจเข้าไปควรเป็นอากาศที่บริสุทธิ์ปราศจากสารที่เป็นพิษ ร่างกายมีกลไกการป้องกันการเกิดอันตรายอยู่ หลายอย่าง
ฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศที่มีขนาดใหญ่เกิน 10 ไมครอน มักจะถูกกักติดอยู่ในส่วนต้นของทางเดินหายใจ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กเท่านั้น คือ เล็กกว่า 5 ไมครอนจึงจะมีโอกาสลงไปกับลมหายใจเข้าไปถึงปอดได้ หลอดลมเรามีกลไกในการป้องกันอันตราย กลไกป้องกันระบบทางเดินหายใจอันที่ 1 คือ หลอดลมของเราจะถูกคลุมด้วยเมือกซึ่งจะเป็นตัวป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองถูกกับ เซลล์ที่บุหลอดลมโดยตรง เมือกนี้เกิดจากต่อมหลั่งเมือกที่บุอยู่ในหลอดลมหลั่งออกมา ถ้าหลอดลมมีการอักเสบหรือถูกกระตุ้นจากสารที่ระคาย เมือกนี้ก็จะออกมามากขึ้น ซึ่งก็คือเสมหะนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นผู้ที่สูบบุหรี่มาก และเป็นโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง จะมีการหลั่งเมือกออกมามาก และไอออกมาเป็นเสมหะ เซลล์ที่บุหลอดลมจะมีขนซึ่งช่วยโบกพัดให้เมือกนั้นไหลออกมาจากหลอดลมส่วน ปลาย มายังหลอดลมส่วนต้นและไหลออกมาทางปาก ฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่เมื่อหายใจเข้าไปในหลอดลมอาจจะติดอยู่บนเมือกที่คลุม หลอดลมอยู่นี้ และผลที่สุดก็จะถูกขับออกมากับเสมหะ
เป็น Diagram แสดงถึงเยื่อบุหลอดลม
Mucous gland = ต่อมหลั่งเมือก
Cilia = ขน
Mucus = เมือกที่คลุมผิวของหลอดลม
เป็น Electron Microscope
แสดงให้เห็นเยื่อบุหลอดลมซึ่งมีขนปกคลุมทั่วไป
กลไกการป้องกันระบบทางเดินหายใจอันที่ 2 คือ ตลอดทางเยื่อบุของหลอดลม และหลอดอาหารส่วนต้นจะมีปลายประสาทสัมผัสซึ่งเมื่อถูกกระตุ้นจากสารที่ มาระคายจะทำให้เกิดมีอาการไอ การไอเกิดขึ้นได้โดยการที่ปลายประสาทสัมผัสถูกกระตุ้นจะทำให้เราหายใจได้ เต็มที่ ในขณะ ที่สายกล่องเสียง (Vocal cord) ที่ลำคอ (Epiglottis) จะปิด และหลังจากนั้นเราจะหายใจออกอย่างแรง โดยใช้กำลังการหดบีบตัวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง กระบังลม และกล้ามเนื้อหายใจเข้า ทำให้เกิดมีความดันเกิดขึ้นในหลอดลมสูงอย่างมาก อาจจะถึง 300 ซม.น้ำ (สูงกว่าหายใจออกเต็มที่ประมาณ 1?-2 เท่า และสูงกว่าหายใจเข้า–ออกธรรมดา 50–60 เท่า) ขณะเดียวกัน สายกล่องเสียงจะเปิดออก ผลของการที่มีการหายใจออกอย่างแรงทำให้อากาศที่อยู่ในหลอดลมไหลออกด้วยความ เร็วสูง และอาจพาเอาชิ้นฝุ่นละอองที่ตกลงไปในหลอดลมออกมา กับอากาศที่หายใจออกมาได้
รูปแสดงถึง
สายกล่องเสียงเปิดในอากาศผ่าน
ขณะที่ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออก
หรือพูด
การไอ เริ่มจากกล้ามเนื้อหน้าท้องบีบหดตัวอย่างแรง ทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น และดันให้กระบังลมสูงขึ้น ในขณะนั้นสายกล่องเสียงจะปิดไม่ให้อากาศผ่านเข้า–ออกได้
กระบังลมและกล้ามเนื้อ ช่วยการหายใจเข้า จะหดบีบตัวอย่างแรง ทำให้เกิดความดันในหลอดลมสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อสายกล่องเสียงเปิดอากาศในหลอดลม
จะไหลออกด้วยความเร็วสูงมาก และพาเอาเศษผงและเสมหะออกมาพร้อมๆกัน
ถ้ากล้ามเนื้อหน้าท้องและกระบังลมอ่อนแรง
หรือล้าการไอจะไม่ได้ผลเพราะไม่มีแรงไอ
กลไกในการป้องกันระบบทางเดินหายใจอันที่ 3 คือ ภูมิต้านทานที่มีอยู่ในกระแสเลือด และมีอยู่ในเม็ดโลหิตขาวที่จะทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไป โดยเฉพาะเชื้อโรค และเชื้อไวรัส
ดังนั้นเราอาจมองการไอ ได้เป็น 3 แง่ คือ
1. การ ไอเป็นกลไกการป้องกันทางเดินหายใจ เพื่อขับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในหลอดลม หรือขับเสมหะออกมาหลอดลม เพื่อลดอันตรายต่อหลอดลม และปอด และไม่ให้อุดกั้นการหายใจ
2. การไอเป็นการแสดงอาการของโรคในระบบทางเดินหายใจ เช่น เป็นอาการของวัณโรคหรือมะเร็งของปอด เป็นต้น
3. การไอเป็นการแพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่น เช่น การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ หรือของวัณโรค เป็นต้น
การไอเราแบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิด คือ
1. ไอแห้งๆ หรือไอโดยที่ไม่มีเสมหะ พวกนี้เกิดจากการระคายหลอดลม และระบบทางเดินหายใจ
2. ไอ มีเสมหะ เป็นผลจากการอักเสบทำให้มีการหลั่งเมือกออกมามากขึ้น หรือในกรณีที่มีการอักเสบในปอด และการตายของเนื้อปอด ซึ่งของพวกนี้ก็จะถูกขับออกมาเป็นเสมหะเช่นเดียวกัน
3. บางคราว เสมหะอาจมีเลือดปน หรือเป็นเลือดสดๆโดยไม่มีเสมหะปนก็ได้
สาเหตุของการไอเรื้อรัง
อาการไออาจเป็นอาการแสดงของโรคในระบบต่างๆเช่น โรคของโพรงจมูก หลอดลม ปอด หัวใจ และภาวะกรดในกระเพาะไหลย้อนกลับมาสู่ทางเดินอาหารส่วนต้น ผู้ป่วยที่เป็นโรคปอด และโรคหัวใจและทำให้มีอาการไอเรื้อรัง การตรวจรังสีทรวงอก (Chest x-ray) มักจะแสดงให้เห็นความผิดปกติเสมอ ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่มานาน ทำให้เกิดมีโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยพวกนี้มักจะมีเอ๊กซ์เรย์ทรวงอกปกติ อาการไอมีเสมหะมักจะไม่มาก มักจะไอในตอนเช้า
รายงานจากการศึกษาผู้ป่วยที่มาด้วยไอเรื้อรังจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา พบว่าการไอเรื้อรังมักจะเกิดจากหลายสาเหตุร่วมกันคือไม่ใช่สาเหตุเดียว และถ้าแบ่งเป็นสาเหตุ จะพบว่าเป็นผลจากจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ประมาณ 40% จากโรคหอบหืดประมาณ 24% จากโรคกรดในกระเพาะไหลย้อนทางเดินอาหารส่วนต้นประมาณ 15%, หลอดลมอักเสบเรื้อรัง 11%, หัวใจล้มวาย เลือดคั่ง 3% ถ้าเอาเฉพาะผู้ป่วยที่ไอเรื้อรัง ไม่สูบบุหรี่ และมีอ๊กซ์เรย์ปกติ ประมาณ 80% เป็นผลจากการที่ผู้ป่วยเป็นโรคจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ โรคหอบหืด และโรคกรดในกระเพาะไหลย้อนเข้าทางเดินอาหารส่วนต้น ในปัจจุบันมียารักษาโรคหัวใจหลายตัวที่ทำให้ผู้ป่วยที่ รับประทานยานี้เกิด อาการไอได้ โดยเฉพาะยา ACE Inhibitor และ Beta–Blocker หรือพวกที่ต้องใช้เสียงมากๆ แต่บางคนอาจชอบไอเป็นนิสัยโดยไม่มีโรคอะไรเลยก็ได้ จริงๆมักเป็นการกระแอมมากกว่าการไอ
อันตรายจากการไอเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ไอมากๆ และไอนานๆ อาจเกิดอาการ
เหนื่อยหมดแรง ซึ่งพบได้ในราว 57% ในผู้ป่วยที่ไอมาก
นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่พอ 45%
เจ็บหน้าอก 45%
เสียงแหบ 43%
เหงื่อออก 42%
ปัสสาวะเล็ด 33%
อันตรายบางครั้งมีอาการรุนแรงได้ เช่น ทางระบบไหลเวียนอาจพบว่ามี ความดันเลือดตก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หน้ามืดเป็นลม ทางสมองอาจมีอาการหมดสติหลังไอ มีอาการชัก และมีอาการปวดหัว ทางระบบหายใจอาจมีการฉีดขาดของปอด มีการฉีดขาดของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อหน้าท้อง คนไข้ที่ไอจำนวนมากมักจะไอมากเวลากลางคืนทำให้มีผลต่อการพักผ่อนนอนหลับไม่ เพียงพอ
การวินิจฉัย และการรักษาโรค จะ เห็นได้ว่าสาเหตุของการไอเรื้อรังนั้นเกิดจากโรคต่างๆ กัน จำเป็นต้องหาสาเหตุให้ได้ เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง นอกจากการตรวจเอ๊กซ์เรย์ทรวงอกแล้ว และพบว่าเอ๊กซ์เรย์นั้นปกติ อาจจำเป็นต้องตรวจเอ๊กซ์เรย์โพรงจมูก และไซนัสถ้าสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับภูมิแพ้ และมีจมูกอักเสบเรื้อรัง อาจจะต้องตรวจสมรรถภาพปอด และตรวจดูความไวของหลอดลมว่าผิดปกติหรือไม่ ในกรณีที่สงสัยว่าอาจะเป็นโรคหอบหืด อาจจะต้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นโดยการเอ๊กซ์เรย์ หรือการส่องกล้องดู หรือตรวจดูภาวะการเป็รกรดถ้าสงสัยว่าเป็นโรคกรดในกระเพาะไหลย้อนทางเดิน อาหารส่วนต้น เมื่อตรวจครบเราสามารถบอกสาเหตุได้ราว 90 เปอร์เฃ็นต์
การปฏิบัติรักษาตัวเอง การ พักผ่อน และการงดการใช้เสียงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ถ้าผู้ป่วยยังพูดมากอาการไอจะไม่ทุเลา การดื่มน้ำมากๆจะช่วยทำให้เสมหะไม่เหนียว ยาแก้ไอโดยเฉพาะยาที่มีสารพวกโคเดอีนเป็นส่วนประกอบจะช่วยลดอาการไอ การรักษาสาเหตุมีความจำเป็นมาก
แหล่งที่มา : oknation.net