เจ็บหน้าอก ก่อนเป็นประจำเดือน เจ็บหน้าอก ตั้งครรภ์ เจ็บหน้าอกหลังมีประจำเดือน


4,545 ผู้ชม


เจ็บหน้าอก ก่อนเป็นประจำเดือน เจ็บหน้าอก ตั้งครรภ์ เจ็บหน้าอกหลังมีประจำเดือน

 

 

 

กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน Premenstrual Syndrome

ปวดประจำเดือน

เชื่อคุณผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการก่อนมีประจำเดือนทุกเดือนจนเกิดความคุ้นเคยกับมัน เดือนไหนไม่มีอาการเหมือนขาดอะไรสักอย่าง บางคนก็มีอาการไม่มากจนไม่รบกวนคุณภาพชีวิต แต่บางคนก็เป็นมากจนเกิดอาการซึมเศร้า ประมาณว่าผู้ป่วยร้อยละ 8-10จะมีอาการของกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน อาการต่างๆเหล่านี้ได้แก่ คัดเต้านม เวียนศีรษะ ปวดท้องอาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในกระแสเลือดโดยมาก อาการมักจะไม่รุนแรงจนกระทั่งรบกวนคุณภาพชีวิต แต่คนกลุ่มหนึ่งอาการเหล่านี้รุนแรงจนกระทั่งบางคนเกิดอาการซึมเศร้า แบ่งกลุ่มอาการออกเป็น

อาการทางกาย

อาการทางกายมักเกิดก่อนมีประจำเดือน 2 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะมีอาการแน่นท้อง คัดเต้านม บวมน้ำเล็นน้อย บางคนอาจจะเจ็บเต้านมขณะไข่ตกเมื่อมีประจำเดือนอาการเจ็บเต้านมก็หายไป จุกเสียดแน่นท้อง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ร้อนตามตัว นอนไม่หลับ ไวต่อเสียงและกลิ่น

อาการทางอารมณ์

อารมณ์ของผู้ป่วยจะผันผวนมากโกรธง่าย เครียด จะสูญเสียสมาธิ บางคนความจำไม่ดี มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจะมีอาการซึมเศร้าอย่างมาก โกรธง่าย บางคนอาจจะร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล และปวดศีรษะจากความเครียดก่อนมีประจำเดือนเรียกกลุ่มอาการนี้ว่า  Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)ซึ่งเป็นโรค premenstrual syndrome ที่มีอาการรุนแรง โดยต้องมีอาการทางซึมเศร้าอย่างน้อย 5 อาการตามการวินิจฉัย

การวินิจฉัย Premenstrual dysphoric disorder (PMDD)

ผู้ป่วยจะเกิดอาการก่อนมีประจำเดือนและหายไปหลังประจำเดือนมาโดยจะต้องมีอาการดังต่อไปนี้ 5 อาการเป็นอย่างน้อย

  1.  รู้สึกซึมเศร้าหมดหวัง อาจจะมีความคิดทำร้ายตัวเอง
  2.  มีความวิตกกังวลและเครียด
  3.  อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย และอาจจะร้องไห้
  4.  อารมณ์ไม่มั่นคงโกรธคนอื่นง่าย
  5.  ไม่สนใจชีวิตประจำวันและไม่สนใจคนอื่น
  6.  ไม่มีสมาธิในการทำงาน
  7.  อ่อนเพลียขาดพลังงานในการทำงาน
  8.  Food cravings or bingeing
  9.  นอนไม่หลับ
  10.  ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง
  11.  อาการทางกายได้แก แน่นท้อง เจ็บเต้านม ปวดศีรษะ ปวดข้อ


สาเหตุ
ของการเกิด Premenstrual syndrome 

  1. Reproductive Hormones and Neurotransmitters เมื่อให้ยาที่ลดการสร้าง estrogen สามารถทำให้อาการดีขึ้นจึงเชื่อว่าความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนเพศกับสารที่หลั่งในสมอง ได้แก่ serotonin และ gamma-aminobutyric acid (GABA). ระดับ serotonin ที่ต่ำจะสัมพันธ์กับอาการซึมเศร้าและ carbohydrate cravingsและการขาดสาร GABA จะทำให้เกิดความวิตกกังวล
  2. เสียสมดุลของ Calcium และ Magnesium โดยพบว่าคนที่ขาด magnesium และมีระดับ calcium สูงจะเกิดอาการได้ง่าย
  3. เกิดจากความเครียดทำให้มีการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดออกมาได้แก่ cortisol ทำให้กระตุ้นเกิดอาการขึ้นมา

ผลของเสียต่อสุขภาพของ Premenstrual syndrome

  • ขณะที่มี Premenstrual syndrome จะทำให้โรคหลายโรคกำเริบ เช่นโรคปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคลมชัก โรคsle
  • ผลเสียทางอารมณ์ทำให้มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน บางคนอาจจะมีความคิดที่จะทำร้ายตัวเอง 
  • ผู้ป่วยมักจะกังวลเรื่องเจ็บเต้านมทำให้ต้องตรวจ mamography ก่อนวัยอันควร

การวินิจฉัย Premenstrual syndrome

ผู้ป่วยควรทำตารางจดอาการต่างๆที่เกิดในรอบเดือน 2-3 เดือนนำไปปรึกษาแพทย์โดยเริ่มจดตั้งแต่วันที่หนึ่งของรอบเดือนจนกระทั่งประจำเดือนมาดังตัวอย่าง หากมีอาการเหมือนกันและเป็นช่วงเดียวกันของรอบเดือนก็ให้การวินิจฉัยว่าเป็น premenstrual syndrome

การป้องกัน

เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุของโรคแน่ชัดดังนั้นจึงยังไม่มีวิธีที่ได้ผลดีและเชื่อถือได้จึงมีคำแนะนำรวมๆเพื่อป้องกัน

  • รับประทานอาหารที่มีคุณภาพ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มี carbohydrate สูง
  • รักษาน้ำหนักไม่ให้อ้วน
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงกาแฟ บุหรี่ และสุรา
  • ใช้ยาแก้ปวดเมื่อจำเป็นเช่น  ibuprofen or naproxen
  • รับประทาน calcium ทุกวัน (1,500 mg/day),เท่ากับดื่มนมวันละ 3-4 แก้ว
  • หลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ทำให้เครียด

การรักษาโดยไม่ใช้ยา

  • อาหารให้หลีกเลี่ยงของหวาน กาแฟ บุหรี่ สุรา รับประทานผักสด ผลไม้ ธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม นมสด หลีกเลี่ยงเนื้อแดง  แนะนำให้รับประทานอาหารมื้อละน้อยๆ อย่ารับประทานครั้งละมากๆ รับประทานอาหารให้เป็นเวลาเพื่อป้องกันท้องอืด
  •  การออกกำลังกายควรวันละ 30 นาทีโดยการเดินเร็วๆไม่จำเป็นต้องออกกำลังกายอย่างหนักเพราะจะทำให้ประจำเดือนผิดปกติ
  • ให้รับประทาน calcium วันละ 1200 มิลิกรัมต่อวันซึ่งจะเห็นผลหลังจากรับยาไปแล้ว3 เดือน
  • วิตามินมีบางรายงานว่าอาการ Premenstrual syndrome เกิดจากการขาดวิตามินหลายชนิดได้แก่ vitamins A, E, B-6, และ B1ดังนั้นจึงมีผู้แนะนำให้รับวิตามิน B1 และ B6 
  • นอนพักให้เพียงพอ
  • ลดความเครียด

การรักษาโดยใช้ยา

  • Selective serotonin-reuptake inhibitors (SSRIs) เป็นยาที่เพิ่มระดับ serotonin ในสมองเป็นกลุ่มยาที่รักษาอาการซึมเศร้าได้แก่ fluoxetine , sertraline , paroxitine มีรายงานว่าสามารถอาการซึมเศร้าและอาการปวดศีรษะ
  • GnRH Analogs เป็นยาที่ลดการสร้าง estrogen ทำให้ไม่มีการตกไข่ทำให้อาการ คัดเต้านม อ่อนเพลีย และโกรธง่ายหายไป แต่ต้องระวังหากใช้มากกว่า 6 เดือนอาจจะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน
  • Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis
  • Danazolเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์เหมือนฮอร์โมนเพศชายใช้ในการรักษา อาการปวดประจำเดือน (dysmenorrhea), ประจำเดือนมามาก (menorrhagia), fibroids, และโรค endometriosis
  • ยาเม็ดคุมกำเนิดซึ่งจะป้องกันไข่ตกสามารถลดอาการของ premenstrual syndrome
  • ยาฉีดคุมกำเนิดก็นำมาใช้รักษาอาการได้
  • ยาแก้ปวด

แหล่งที่มา : siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด