อาการไอเรื้อรังในเด็ก อาหารสำหรับคนที่ไอเรื้อรัง ยาสมุนไพรแก้ไอเรื้อรัง
เมื่อลูกมีอาการไอ ไม่ว่าจะเป็นไอเรื้อรังที่มักจะมาร่วมกับอาการหวัดธรรมดาๆ หวัดเจ็บคอ หากลูกมีอาการไอ บางคนก้อไอนานมากกว่าจะหายไอสนิท บางครั้งต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ อาจเป็นไปได้ว่าคุณพ่อคุณแม่ระวังสุขภาพน้องมากขึ้นจึงมาพบ เภสัชกรได้เร็วขึ้นหรือไม่ก็สายพันธุ์ของเชื้อหวัดเปลี่ยนไปแข้งแรงมากว่าแต่ก่อน จึงทำให้มีหลอดลมอักเสบมากและหลอดลมไวเกิดขึ้นบ่อยกว่าเดิม จึงทำให้ไอนานไม่คอยหาย ถ้าพบปัญหาไอค้อกแค้กมากวน อย่าได้วางใจ รีบติดตามความรุ้ไปดูแล ป้องกันลูกรักของคุณกันดีกว่า
ทำไมลูกรักจึงมีอาการไอบ่อยกว่าเดิม
ตอนทารกหากน้องน้อยไดรับนมอุ่นจากมารดา จะเห็นได้ว่าไม่ค่อยมีอาการไอมากเท่าไร แต่จะพบได้อาการนี้ได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุ 4 เดือนถึง 2 ขวบ เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากแม่เริ่มหมดลงแล้ว จึงมีโอกาสรับเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย ถ้าน้องมีสัญญานไอติดต่อกันนานๆ ไม่หายสักที น่าสงสัยว่าอาจเข้าขั้นไอเรื้อรังได้
สาเหตุไอเรื้อรัง และอย่างไรที่เรียกว่าไอเรื้อรัง
ทบทวนกันอีกรอบว่าอาการไอเป็นกลไกอย่างหนึ่งจากการที่ร่างกายต้องการจะกำจัดเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมออกไป แต่ถ้ามีอาการไอติดกันมากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไปนั้น ถือว่าเป็นอาการของโรคไอเรื้อรัง
สาเหตุหลักๆ มีอยู่ 2 ประการคือ
1. ไอเพราะติดเชื้อ
• เกิดจากการติดเชื้อซ้ำซ้อน เมื่อลูกได้รับเชื้อไปก็จะมีอาการไอประมาณ 1-2 วัน จากนั้นอาการมักจะดีขึ้นแล้วเป็นซ้ำอีกส่วนใหญ่มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีน้ำมูก เสียงแหบ เจ็บคอ และเป็นไข้ การติดเชื้อซ้ำซ้อนส่วนมากพบในเด็ก ที่เริ่มให้เข้าเนิร์สเซอรี่หรืออนุบาลในช่วงแรกๆ น้องน้อยจะเริ่มมีอาการไอหรือน้ำมูกไหลตลอดปีหรือเป็นๆ หายๆ
• การติดเชื้อที่ไม่รุนแรง แต่อาการของโรคมีระยะเวลานาน เช่น ได้รับเชื้อไมโครพลาสมา ซึ่งเป็นเชื้อที่ไม่รุนแรงแต่เป็นนานและการรักษายากกว่าการติดเชื้อที่มีความรุนแรงซึ่งรักษาได้ง่ายกว่าให้ยาในการรักษาไม่นานเชื้อก็จะตาย
• โรคติดเชื้อไอกรน ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะเจอน้อยมาก แต่หากได้รับเชื้อมา น้องมักจะมีอาการไออย่างหนักและยาวนานประมาณ 3 เดือน จากนั้นอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงได้ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคนี้แล้ว ซึ่งเด็กทุกคนควรจะได้รับช่วง 2, 4, 6 เดือน และฉีดกระตุ้นเมื่ออายุขวบครึ่งและ 4-6 ปี อยู่แล้ว
2. ไอเพราะภูมิแพ้
อาการภูมิแพ้ถือเป็นโรคที่พบได้มากในปัจจุบัน ยิ่งถ้าตรวจพบว่าประวัติในครอบครัวเป็นภูมิแพ้ด้วยแล้วโอกาสเกิดภูมิแพ้ก็สูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งเด็กที่แพ้มักจะไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ง่ายกว่าปกติ ทั้งขี้ฝุ่น ตุ๊กตาขนสัตว์ กองหนังสือหรือไรฝุ่นจากที่นอน หมอน มุ้ง ล้วนแต่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะไรฝุ่นจะถือเป็นศัตรูตัวฉกาจที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ได้เลย
ไม่ใช่เฉพาะโรคภูมิแพ้เท่านั้น เด็กปกติที่แข้งแรงดีมาก่อนก็สามารถเกิดอาการเสมือนภูมิแพ้ได้ ขึ้นอยู่กับว่าเจอสิ่งกระตุ้นที่มีความรุนแรงเพียงใด เช่น ไปอยู่ในที่มีฝุ่นควันเยอะๆ หรือในอาการเย็นจัด เป็นต้น
การดุแลเบื้องต้นเมื่อลูกไอ
แบ่งตามอาการและรุปแบบการไอ ได้เป็น
อันนี้สำคัญมากๆ เมื่อให้ลูกกินยาลดน้ำมูกไปแล้ว ต้องตระหนักว่าควรให้ดื่มน้ำในปริมาณที่มากขึ้นด้วย เพื่อทำให้เสมหะไม่เหนียวข้น แม้ว่าเด็กวัยนี้ยังขากเสมหะทิ้งไม่ได้ แต่ถ้าเป็นเสมหะที่เหลวก็จะทำให้ลูกกลืนลงกระเพาะไปได้โดยง่าย เมื่อเสมหะมีเยอะเกินก็จะอาเจียนออกมาเองตามธรรมชาติ
เมือต้องไปหาคุณหมอช่วยรักษา ต้องเตรียมตัวอย่างไร
• เก็บข้อมูลประวัติการไอ รวมทั้งประวัติโรคภูมิแพ้ของคนภายในครอบครัว การเดินทางไปตามแหล่งชุมชนซึ่งมีผู้คนแออัดยัดเยียด หรือการเข้าเนิร์สเซอรี่ กรณีที่เด็กมีอายุไม่ถึงขวบแล้วเข้าเนิร์เซอรี่ ก็ให้สันนิษฐานได้เลยว่า อาการไอและติดเชื้อมาจากสาเหตุนี้แน่นอน เพราะเด็กมักเริ่มป่วยที่อายุ 4 เดือน-2 ขวบ ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่เด็กดูแข็งแรง แต่ภูมิคุ้มกันไม่ดี เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากคุณแม่เริ่มหมดไปแล้ว เพราะฉะนั้น เด็กจะเป็นหวัดและไอหนักๆ อยู่ 2 ช่วง ช่วงแรกก็คือ 4-6 เดือน ช่วงที่สองคือ ขวบครึ่ง-2 ปี เมื่อเข้าชั้นประถมปีที่ 1 อาการเหล่านี้ก็จะหายไปได้เอง
• ตรวจร่างกาย เพื่อดูว่ามีเสมหะ เป็นไข้มากน้อยเพียงใดอย่างไรก็ตามในการพาลูกมารับการรักษานั้นควรจะทำเมื่อลูกมีอาการไอมากเป็นเวลานานหลายวัน ถ้าหากเป็นแค่เพียง 1-2 วัน ก็ยังไม่ควรรีบพาไปโรงพยาบาล เพราะอาจได้รับเชื้อจากข้างนอกเพิ่มด้วย อีกทั้งทำให้ได้รับยาบางอย่างเกินความจำเป็น ทั้งยาแก้ไข้ ยาลดน้ำมูก ยาขับเสมหะ ยาฆ่าเชื้อ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก ท้ายสุดสิ่งที่ต้องสังวรสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ก้อคือต้องแยกแยะอาการไอที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะอื่นๆ ถ้าแน่ใจแล้วว่าไม่ใช่เป็นจากสาเหตุอื่นๆ เภสัชกรรูปหล่ออย่างผมจะตั้งใจมากๆเพื่ออธิบายให้คุณๆได้เข้าใจถึงลักษณะธรรมชาติของโรค เพื่อที่ว่าคนไข้ที่รักของเราจะได้ไม่ต้องกังวลใจ ไม่ต้องไปเสียกระตังค์เพื่อตามไปซื้อหายาต่างๆ มารับประทานโดยไม่รุ้จักการจัดการที่ต้นเหตุ เภสัชกรชุมชนที่ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็งพร้อมให้คำปรึกษาดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องทุกท่านครับ ไปร้านยาถามหาเภสัชกรได้สบายใจ ปลอดภัยกว่าครับ แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 29 มิย. 2553
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address https://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
· รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
• Clinical Practice Guidelines: COUGH, The Royal Children's Hospital, Melbourne https://www.rch.org.au/clinicalguide/cpg.cfm?doc_id=9744
• Coughs, WebMD , https://www.emedicinehealth.com/coughs/article_em.htm
• Cough, NetDoctor.co.uk , https://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/cough.htm
• Your child’d cough, KidsHealth,https://kidshealth.org/parent/general/eyes/childs_cough.html
• ศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ,ไอ บอกสุขภาพลูก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย https://www.elib-online.com/doctors51/child_fever001.html
• ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ทำไมลูกไม่หายไอสักที, วิชัยยุทธจุลสาร, ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2550
• ผศ.นพ.จักรพันธ์ สุศิวะ โรคไอเรื้อรังในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.มหิดล
• ยาแก้ไอ, Thailabonline , https://www.thailabonline.com/drug/drug9.htm
• ภก.พนิดา จารุศิลาวงศ์, ยาแก้ไอ,หมอชาวบ้าน เล่ม : 2 เดือน-ปี : 06/2522, https://www.doctor.or.th/node/5109
• นพ. สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ,ไอเรื้อรัง, วิชัยยุทธจุลสาร ฉบับที่ 35 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม 2549, https://www.vichaiyut.co.th/html/jul/35-2549/p29-31_35.asp
• จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ และ ผศ.นพ.อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล, วิธีการระบายน้ำมูกในโพรงจมูก, หน่วยโรคระบบการหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี , https://www.oknation.net/blog/DrPon/2009/12/16/entry-1 |