ฮอร์โมน ฉีดฮอร์โมนเพิ่มขนาดทรวงอก ฮอร์โมนเพศหญิง อาหาร


2,937 ผู้ชม


ฮอร์โมน ฉีดฮอร์โมนเพิ่มขนาดทรวงอก ฮอร์โมนเพศหญิง อาหาร

 

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง

ต่อมใต้สมองเป็นต่อมไร้ท่อ อยู่บริเวณตรงกลางสมอง แบ่งได้

เป็น 3 ส่วน คือ

1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า

2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง

3.ต่อมใต้สมองส่วนหลัง

1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ดังนี้

- ฮอร์โมนโกรท (Growth hormone) ควบคุมการเจริญเติบโต

ของร่างกาย โรคที่เกิดจากมีฮอร์โมนโกรทในร่างกายมากเกินไป

จะเป็นโรคอะโครเมกาลี (acromegaly) คือจมูก ปาก มือ เท้าใหญ่

- ฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (Conadotrophin hormone) ประ

กอบด้วยฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเคิล F.S.H. ฮอร์โมนลูทิไนซ์

ในเพศหญิง

- ฮอร์โมน F.S.H. กระตุ้นให้ฟอลลิเคิลแบ่งเซล และการหลั่ง

ของ L.H. ทำให้เกิดการตกไข่

ในเพศชาย

- ฮอร์โมน F.S.H. ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะ

และการสร้างอสุจิ

- ฮอร์โมน L.H. กระตุ้นกลุ่มเซลอินเตอร์สติเชียลให้หลั่ง

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone)

- ฮอร์โมนโพรแลกติน (prolactin) มีหน้าที่กระตุ้นต่อมน้ำนม

ให้สร้างน้ำนม

- ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน (adrenocorticotrophin

hormone) หรือ A.C.T.H ทำหน้าที่กระตุ้นอะดรีนัลคอร์เทกซ์

ของต่อมหมวกไตให้สร้างฮอร์โมนตามปกติ

- ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (thyroid stimulating hormone)

หรือ TSH ทำหน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนตาม

ปกติ ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะควบคุมโดยฮอร์โมน

ประสาทที่สร้างมาจากไฮโพทาลามัส

2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมน ดังนี้

- ฮอร์โมนเมลาโนไซต์ (Melanocyte stimulating hormone) หรือ

MSH ทำหน้าที่ทำให้รงควัตถุภายในเซล ผิวหนังกระจายไปทั่ว

เซล

3. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง

เซลนิวโรซีครีทอรี (neurosecretory cell) สร้างฮอร์โมน ได้แก่

- วาโซเพรสซิน (Vasopressin) หรือฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก

ADH มีหน้าที่ดูดน้ำกลับของหลอดไต และกระตุ้นให้หลอด

เลือดบีบตัว ถ้าขาดฮอร์โมนนี้จะเกิดการเบาจืดทำให้ปัสสาวะ

บ่อย

- ออกซีโทซิน (Oxytocin) ทำหน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบและ

อวัยวะภายใน กระตุ้นกล้ามเนื้อรอบ ๆ ต่อมน้ำนมให้ขับน้ำนม

ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมามากตอนคลอด เพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อ

มดลูกบีบตัวขณะคลอด

ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน ได้แก่

- อินซูลิน สร้างจากเซลเบตา มีหน้าที่รักษาระดับ

น้ำตาลในเลือดให้ปกติ

- กลูคากอน (glucagon) สร้างมาจากแอลฟาเซล มี

หน้าที่กระตุ้นการสลายตัวของไกลโคเจนจากตับให้เป็นน้ำตาล

กลูโคสมากขึ้น

ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต

ต่อมหมวกไต (adrenal gland) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิดคือ

1. อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex) เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอก

2. อะดรีนัลเมดุลลา (adrenal medulla) เป็นเนื้อเยื่อชั้นใน

อะดรีนัลคอร์เทกซ์

ผลิตฮอร์โมนได้มาก สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid hormone)

ทำหน้าที่ควบคุมเมตาโบลิซึมของคาร์โบไฮเดรต กระตุ้นการ

เปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตและไกลโคเจนเป็นกลูโคส และยังควบ

คุมสมดุลของเกลือแร่

2. ฮอร์โมนมิเนราโลคอทิคอยด์ (mineralocorticoid) ทำหน้าที่

ควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย เช่น อัลโดสเตอโรน

(aldosterone) ทำหน้าที่ดูดโซเดียมกลับท่อหน่วยไต

อะดรีนัลเมดุลลา ผลิตฮอร์โมนดังนี้

- อะดรีนาลิน (adrenalin) ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น และ

กระตุ้นการเต้นของหัวใจ

- นอร์อะดรีนาลิน (noradrenalin) หลั่งจากเส้นประสาทซิมพา

เทติก ทำให้ความดันเลือดสูง

ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

- ไทรอกซิน (thyroxin) คือสารที่สกัดจากต่อไทรอยด์

ทำหน้าที่ควบคุมอัตราการเผาผลาญอาหารต่าง ๆ ในร่างกาย

และกระตุ้นเมตามอร์โฟซิสของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำให้เปลี่ยนเป็น

ตัวเต็มวัย ถ้าต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างไทรอกซินจะทำให้

เกิดโรคคอพอก , มิกซีดีมา แต่ถ้าต่อมไทรอยด์ถูกกระตุ้นให้สร้าง

ฮอร์โมนมากเกินไป ทำให้เกิดโรคคอพอกเป็นพิษ

- แคลซิโทนนิน (Calcitonin) ทำหน้าที่ลดระดับแคลเซียมใน

เลือด

ฮอร์โมนจากอวัยวะเพศ

เพศชาย

ฮอร์โมนแอนโดรเจน (androgens) ประกอบไปด้วย

เทสโทสเตอโรน (testosteron) มีหน้าที่ควบคุมลักษณะเกี่ยวกับ

การเปลี่ยนแปลงของเพศชายในช่วงวัยรุ่น

เพศหญิง

- เอสโทรเจน (estrogens) สร้างจากเซลล์ฟอลลิเคิลในรังไข่

ฮอร์โมนนี้จะต่ำในขณะมีประจำเดือน

- ฮอร์โมนโปรเจสเทอโรน (progesterone) สร้างจาก

คอร์ปัสลูเทียม ควบคุมลักษณะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่าง

กายในช่วงวัยรุ่น

ฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์

- พาราฮอร์โมน (parathormone) ทำหน้าที่รักษาสมดุลและ

ฟอสฟอรัสในร่างกายให้คงที่

ฮอร์โมนจากต่อมไพเนียล ต่อมไพเนียลอยู่บริเวณกึ่งกลางของ

สมองส่วนเซรีบรัมพูซ้ายและพูขวา ต่อมนี้ไม่ได้ทำหน้าที่สร้าง

ฮอร์โมน ต่อมนี้จะสร้างเมลาโทนิน (melatonin) ในคนและสัตว์

ชั้นสูงในช่วงวัยรุ่นและยับยั้งการเจริญเติบของอวัยวะสืบพันธุ์

ถ้าขาดจะทำให้เด็กเป็นหนุ่มสาวเร็วกว่าปกติ

- ฟีโรโมน (Pheromone)

ฟีโรโมน คือสารเคมีที่ร่างกายสร้างขึ้นมาปล่อยออกจากร่าง

กาย ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม รวมถึงสารดึงดูด

ทางเพศ , สารเตือนภัย ,สารส่งเสริมการรวมกลุ่ม

ฮอร์โมนพืช ได้แก่

- กรดอินโดลอะซิติก (indole acetic acid) หรือ IAA หรือเรียก

ว่า ออกซิน (auxin) สร้างจากกลุ่มเซลบริเวณยอดอ่อนและราก

อ่อน ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช

- จิบเบอเรลลิน (giberellin) จะพบในพืช มีหน้าที่ช่วยใน

การกระตุ้นการเจริญของเซล และการขยายตัวของเซล ตรง

บริเวณช่วงระหว่างข้อ ทำให้ต้นไม้สูง ช่วยกระตุ้นออกดอกของ

พืชบางชนิด , กระตุ้นการงอกของเมล็ด

- ไซโทไคนิน (Cytokinin) มีหน้าที่กระตุ้นการแบ่งเซล และ

การเจริญ

- กรดแอบไซซิก (abcisic acid) มีหน้าที่กระตุ้นการพักตัวของ

พืช และมีคุณสมบัติเกี่ยวกับการหลุดร่วงของใบ

แหล่งที่มา : bs.ac.th

อัพเดทล่าสุด