ในร่างกายคนเราจะพบธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส อยู่ที่ส่วนใด - แคลเซียมฟอสเฟตทําให้กระดูกแข็งแรง


25,005 ผู้ชม


ในร่างกายคนเราจะพบธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส อยู่ที่ส่วนใด - แคลเซียมฟอสเฟตทําให้กระดูกแข็งแรง

แคลเซียม....ไม่ว่าวัยไหนก็ขาดไม่ได้


          แคลเซียมเป็นเกลือแร่ที่มีประโยชน์มาก ๆ ต่อร่างกาย ไม่เพียงแต่ช่วยกระดูกและฟันแข็งแรงเท่านั้น แต่แคลเซียมยังสามารถช่วยต่อต้านโรคความดันโลหิตสูงอาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และมะเร็งลำไส้ น่าเสียดายที่พบว่าคนส่วนใหญ่ได้รับแคลเซียมน้อยกว่าครึ่งของที่ร่างกายควรจะได้รับต่อวัน

          โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามรักษาแคลเซียมในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติ ถ้าพูดให้ง่ายก็คือ แคลเซียมปกติ คือจำนวนเงินที่ติดกระเป๋าสำหรับใช้จ่ายแต่ละวัน โดยแคลเซียมส่วนที่ขับออกทางปัสสาวะและแคลเซียมที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูกเปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน แคลเซียมในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียมรับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่ายอาจมีเหลือเก็บในธนาคาร ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสมแคลเซียมในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นอยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป นั่นก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมไม่พอเพียง จึงต้องละลายแคลเซียมจากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้แคลเซียมในกระดูกค่อย ๆ ลดลง สุดท้ายแคลเซียมหรือเงินที่ติดกระเป๋าก็ลดลงจนไม่พอให้นั่นเอง จากการศึกษาพบว่าการสะสมแคลเซียมในร่างกายของมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวันร่างกายสามารถสะสมปริมาณแคลเซียมในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้


          - เด็กแรกเกิด - 9 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียมได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน 
          - เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 – 150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน 
          - ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200 – 400มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน 
          - ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50 – 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน 
          - ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่าหลังจากอายุ 30 ปีขึ้นไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติมแคลเซียมให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในกระดูก

            




แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด