ฮอร์โมนเพศหญิงแบบฉีด ยาฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มหน้าอก ยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิงวัยทองขายส่งราคาถูก


3,851 ผู้ชม


ฮอร์โมนเพศหญิงแบบฉีด ยาฮอร์โมนเพศหญิงเพิ่มหน้าอก ยาเสริมฮอร์โมนเพศหญิงวัยทองขายส่งราคาถูก

 


วัยทอง สดใสได้ ด้วยการ...ดูแลสุขภาพ

"วัยทอง" เป็นคำที่ได้ยินบ่อย ๆ ในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นคำใช้แทนคำว่า "วัยหมดประจำเดือน" (menopause) สำหรับในหญิงการหมดประจำเดือนเป็นภาวะที่ไม่มีประจำเดือนอีก เนื่องจากรังไข่ไม่ทำงาน โดยทั่วไปจะคิดเมื่อไม่มีประจำเดือนอีก 12 เดือน และจะนับการมีประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นวัยหมดประจำเดือน อายุเฉลี่ยของผู้หญิงที่เข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน คือ 44-45 ปี ปัจจุบันผู้หญิงมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 76 ปี แสดงว่าหนึ่งในสามของอายุขัยผู้หญิงอยู่ในวัยหมดประจำเดือน สำหรับในผู้ชาย "วัยทอง" คือ ภาวะขาดฮอร์โมนเพศชายหรือทางการแพทย์เรียกว่า ผาดัม (pardum) มักเกิดกับผู้ชายอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป โดยระดับฮอร์โมนจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากอัณฑะจะผลิตฮอร์โมนเพศชายลดลง
อากรที่พบมาก ในเพศหญิงวัยทองเช่น อาการร้อนวูบวาบตามใบหน้า ศรีษะ คอ และส่วนบนของทรวงอก ซึ่งเป็นอาการที่พบ
ประมาณร้อยละ 60-85 ผู้ที่มีอาการจะรู้สึกร้อนวูบวาบบริเวณหน้าซึ่งเกิดขึ้นนานเป็นเวลา 1-2 นาที ตามด้วยอาการหนาวสั่น มีเหงื่อออกตามลำตัวและฝ่ามือ โดยเฉพาะตอนกลางคืน นอนไม่หลับ วิตกกังวล อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย ความรู้สึกทางเพศลดลง ช่องคลอดแห้งและติดเชื้อบ่อย ตลอดจนการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด หรือกระดูกผุและหักง่าย ล้วนเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมนเพศหญิง คือ "เอสโตรเจน" ทั้งสิ้น

สตรีที่ย่างเข้าสู่ภาวะหมดประจำเดือน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ


1.) ช่วงที่1 เรียกว่า premenopause ระยะนี้เป็นประจำเดือนอาจจะไม่ค่อยสม่ำเสมอและอาจจะขาดหายไปบ้าง เป็นช่วงสั้น ๆ โดยมากถือว่าจะเริ่มต้นเมื่ออายุย่างเช้า 40 ปี


2.) ช่วงที่ 2 เรียกว่า preimenopause คือ ช่วงเวลาที่เริ่มหมดประจำเดือน โดยประจำเดือนจะไม่สม่ำเสมอมากขึ้นและอาจจะขาดหายเป็นช่วงเวลานานขึ้น และในที่สุดประจำเดือนจะขาดหายไปอย่างถาวร ส่วนใหญ่จะเริ่มตอนอายุประมาณ 47 ปี ประจำเดือนจะเริ่มผิดปกติ ซึ่งผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีอาการช่วงนี้ประมาณ 4-6 ปี
สำหรับในเพศชายจะมีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็กลงอ้วนลงพุง ไม่กระฉับกระเฉง อารมณ์แปรปรวนความจำเสื่อมและอาการที่ชายวัยนี้กังวลมากที่สุดคือ เรื่องการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และการผลิตฮอร์โมนเพศชายที่สดน้อยลงนี้ ยังมีผลเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนและโรคหัวใจที่สูงขึ้นคล้ายกันกับเพศหญิง


แนวทางป้องกันและแก้ไข


1.) การให้ฮอร์โมนทดแมน (Hormone replacment therapy) ในเพศหญิง
เนื่องจากช่วง perimenopause และpremenopause ยังสามารถเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นได้และเป็นช่วงชีวิตที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ อันเป็นผลมาจากการขาดฮอร์โมน estrogen ดังนั้นการให้ฮอร์โมนทดแทนจะให้ผลประโยชน์หลายประการ คือ ป้องกันการตั้งครรภ์ ป้องกันหรือบรรเทาภาวะประจำเดือนผิดปกติและไม่สม่ำเสมอ ภาวะช่องคลอดแห้งและติดเชื้อบ่อย ซึ่งมักเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงอายุนี้ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคกระดูกพรุน เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน พบว่า การใช้ฮอร์โมนทดแทนในช่วงก่อนหมดประจำเดือน ติดต่อกันนานประมาณ 8 ปี จะทำให้ความหนาแน่นของกระดูกเพิ่มขึ้นกว่าปกติและยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไปถึง 2 ปี หลังหมดประจำเดือนแล้ว สามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด ป้องกันหรือบรรเทาอาการ menopause และความผิดปกติบางอย่างของช่องคลอดและระบบปัสสาวะที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลานี้ ในเพศชาย การได้รับฮอร์โมนเสริมจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งร่างกายและจิตใจ เพราะการได้รับฮอร์โมนเสริม จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น กระดูกมีความหนาแน่นขึ้น ป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ยังส่งผลให้มีอารมณ์ที่แจ่มใสด้วย


รูปแบบของฮอร์โมนทดแทนที่มีอยู่ในปัจจุบัน


สำหรับเพศหญิง


1.1.) ชนิดมีเอสโตรเจนเพียงชนิดเดียว มีทั้งชนิดรับประทาน ฝังใต้ผิวหนัง แปะบนผิวหนัง ครีมและเจลทาบริเวณผิวหนังหรือช่องคลอด
1.2.) โปรเจนเตอโรนเพียงชนิดเดียว ใช้ป้องกันมะเร็งของเยื่อบุมดลูกในสตรีที่ร่างกายยังสามารถสร้างเอสโตรเจนได้เพียงพอ
1.3.) ชนิดที่มีเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน นิยมให้แบบรอบเดือน โดยแต่ละเม็ดจะมีปริมาณฮอร์โมนไม่เท่ากัน ซึ่งส่วนใหญ่จะมีปริมาณฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงเลียนแบบลักษณะการเปลี่ยนแปลงปริมาณฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกาย

สำหรับเพศชาย
ชนิดที่มีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรนอยู่ในรูปเกลือต่างกัน มีทั้งชนิดรับประทาน เจลทาภายนอกและชนิดฉีด

2.) การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์


โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารที่มีปริมาณแคลเซี่ยมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย ผักสีเขียว ถั่งเหลือง โยเกิร์ต นมและนมผง ถั่วต่าง ๆ เนื่องจากภาวะหมดประจำเดือนทำให้ฮอร์โมนเอสโตรเจน(estrogen) ลดลง ในเพศหญิงและในเพศชายวัยทองจะมีฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (testosterone) ลดลง ซึ่งผลของการขาดทำให้ปริมาณการดูดซึมแคลเซียมลดลงและร่างกายจะสลายแคลเซี่ยมที่กระดูกออกมาใช้แทน จึงทำให้เกิดภาวะกระดูกกร่อนขึ้นได้ ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซี่ยมและแคลเซี่ยมในรูปแบบต่าง ๆ ที่สามารถเลือกซื้อเพื่อเสริมปริมาณแคลเซี่ยมในร่างกายให้มากขึ้นอีกด้วย


3.) หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ชา และกาแฟ


4.) หมั่นออกกำลังกายแบบเบา ๆ เช่น วิ่งจ๊อกกิ้ง เดินเร็ว ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิคและอื่น ๆ เป็นประจำอย่างน้อยวันละประมาณ 15-30 นาที


5.) ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง อย่างวิตกกับอาการที่เกิดขึ้นและควรพักผ่อนร่างกายให้เพียงพอ

ในภาวะวัยทองนี้ทำให้ผู้หญิงและผู้ชายมีอาการหงุดหงิด เศร้า ฉุนเฉียว โกธรง่าย ดังนั้นผู้ใกล้ชิดควรให้กำลังใจและเข้าใจในภาวะที่เกิดขึ้น จะทำให้ผู้ที่อยู่ในภาวะนี้มีภาวะจิตใจที่ดีขึ้นมากทีเดียว

แหล่งที่มา : thairunning.com

อัพเดทล่าสุด