วิธีรักษาโรคลมพิษ วิธี แก้ ลมพิษ สมุนไพร รักษา ลมพิษ


1,701 ผู้ชม


วิธีรักษาโรคลมพิษ วิธี แก้ ลมพิษ สมุนไพร รักษา ลมพิษ

ลมพิษ (urticaria)
โดย : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ  
         ลมพิษ (urticaria) เป็นโรคภูมิแพ้ที่พบได้บ่อย และไม่มีอันตรายร้ายแรง สามารถรักษาด้วยยาแก้แพ้ และหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ ถ้าเป็นเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ 

บางคนอาจเป็นร่วมกับโรคบางอย่างก็ได้ ลมพิษเป็นโรคที่พบบ่อยในคนทุกเพศทุกวัย และไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่บ่งชี้ว่าเป็นคนที่จะแพ้อะไรง่าย และต้องระมัดระวังในการใช้ยา เพราะอาจเกิดอาการแพ้ยาซึ่งอาจมีอันตรายได้ คนที่เป็นลมพิษอยู่บ่อยๆ ทุกครั้งที่หาแพทย์ ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อจะได้ระวังการใช้ยา

ลมพิษเป็นภาวะที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยจำนวนมากอาจไม่ได้มาพบแพทย์ เนื่องจากบ่อยครั้งที่อาการจะหายไปได้เอง หรือเมื่อได้รับยาแก้แพ้ ประชากรมากกว่าร้อยละ 20 เคยเป็นลมพิษมาแล้วอย่างน้อยหนึ่งครั้ง จากการสำรวจครั้งหนึ่งในหมู่นักศึกษาแพทย์ พบว่าร้อยละ 58 ให้ประวัติว่าเคยเป็นลมพิษมาก่อน และอีกการสำรวจหนึ่งในกลุ่มเด็กนักเรียนอายุ 6-12 ปี ในกรุงเทพมหานคร พบว่าร้อยละ 28.9 เคยเป็นลมพิษ โดยที่ร้อยละ 21.6 ทราบสาเหตุ และสาเหตุเกิดจากอาหารร้อยละ 8.2

ลมพิษถือเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีการสร้างสารแพ้ดังที่เรียกว่า “ฮิสตามีน” (histamine) ออกมาจากเซลล์ในชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว เกิดเป็นผื่นนูนแดงและคันขึ้นตามผิวกาย โดยทั่วไปมักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันก็มักจะหายได้ แต่บางคนอาจเป็นอยู่ทุกวัน ถ้าหากเป็นลมพิษทุกวันติดต่อกันนานเกิน 2 เดือน ก็เรียกว่า “ลมพิษเรื้อรัง” ซึ่งส่วนมากจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนน้อยอาจพบว่า มีสาเหตุจากการแพ้สิ่งหนึ่งสิ่งใดดังกล่าวข้างต้น บางคนอาจพบร่วมกับโรคติดเชื้อเรื้อรัง เช่น โรคพยาธิลำไส้ ฟันผุ ไซนัสอักเสบ หูน้ำหนวก เป็นต้น บางคนอาจเกิดร่วมกับโรคร้าย เช่น มะเร็ง หรือโรคภูมิต้านทานตัวเอง เช่น โรคเอสแอลอี ขอย้ำว่าเป็นสาเหตุที่พบได้น้อยมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่ปฏิบัติ คนที่เป็นลมพิษเรื้อรังนานเกิน 2 เดือน ก็อย่าได้นิ่งนอนใจ ควรให้แพทย์ตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด

เนื่องจากลมพิษเป็นโรคในกลุ่มโรคภูมิแพ้ คนไข้จึงอาจเป็นๆ หายๆ ได้บ่อยเมื่อสัมผัสถูกสารแพ้ นอกจากนี้ยังอาจพบว่า มีญาติพี่น้องเป็นโรคภูมิแพ้ เช่น ลมพิษ ผื่นคัน คันตา หวัด แพ้อากาศ โรคหืด ชนิดใดชนิดหนึ่งร่วมด้วยก็ได้ เพราะโรคภูมิแพ้สามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด