เจ็บหน้าอกตอนเช้า เจ็บหน้าอกเกิดจากอะไร อาการเจ็บหน้าอกฝั่งซ้าย
อาการปวดเจ็บแน่นหน้าอก อาจนำไปสู่โรคร้ายอะไรได้บ้าง
เจ็บแน่นอก นำไปสูโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 3 ของคนไทย รองจาก มะเร็ง และอุบัติเหตุ (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขปี 49-50) ผู้ป่วยจะมีอาการจุกเสียดแน่นตรงกลางหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวก เหมือนมีอะไรมาบีบรัดหรือกดทับ อาจปวดร้าวไปที่คอ แขนซ้าย หรือกราม ร่วมกับอาการคลื่นไส้ เหงื่อออกท่วมตัว อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อออกกำลังกาย และดีขึ้นเมื่อพักหรืออมยาใต้ลิ้น ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบมาก อาการแน่นหน้าอกอาจรุนแรง และอาการไม่ดีขึ้น แม้หยุดพักหรืออมยาใต้ลิ้น เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจอาจหยุดเต้นอย่างกระทันหัน หรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
พฤติกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
อายุที่พิ่มขึ้น
เพศชายจะมีความเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง ซึ่งเพศหญิงวัยหมดประจำเดือนจะมีโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภาวะไขมันในเลือดสูง
ความดันโลหิตสูง
การสูบบุหรี่
โรคเบาหวาน
เราจะป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร
- หยุดสูบบุหรี่ หากท่านสูบบุหรี่ต้องหยุดสูบทันที หรือหากคิดจะสูบบุหรี่ก็ให้เลิกความคิดนี้ หารหยุดสูบบุหรี่จะเป็นการป้องกันโรคหัวใจได้ดี การสูบบุหรี่ไม่ว่าจะเป็นบุหรี่ไร้ควัน หรือบุหรี่ที่มีนิโคตินต่ำ หรือซิการ์ก็จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ไม่ได้สูบบุหรี่หากท่านอยู่ใกล้ชิดกับคนที่สูบบุหรี่ ท่านอาจจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเหมือนคนที่สูบบุหรี่เรื่องว่าเป็นผลจากการสูบบุหรี่มือสอง
• บุหรี่มีสารเคมีมากกว่า 4800 ชนิดซึ่งเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบได้ง่าย
• บุหรี่จะทำให้หัวใจท่านทำงานมากขึ้นเนื่องจากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตีบ หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มขึ้น
• ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ร่วมกับการกินยาคุมกำเนิดจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
ข่าวดีสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ หากท่านหยุดสูบบุหรี่ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจจะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยประมาณว่าจะเหมือนคนปกติใน 1 ปี
- การออกกำลังกาย ทุกท่านทราบว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดี แต่มีเพียงจำนวนไม่มากที่ออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ออกอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้ 1 ใน 4 หากร่วมกับปรับพฤติกรรมอื่นจะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจได้มากขึ้นผลดีของการออกกำลังกาย
• ทำให้หัวใจแข็งแรง
• ควบคุมน้ำหนักไม่ให้ขึ้น
• ลดระดับความดันโลหิต
• ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานและไขมันในเลือด
แนะนำให้ออกกำลังกายปานกลางวันละ 30 - 40 นาที สัปดาห์ละ 3 - 5 วันหากไม่สามารถออกกำลังดังกล่าวได้ ท่านสามารถออกกำลังกายโดยการ ทำงานบ้านเพิ่ม เช่นการทำสวน การล้างรถ การเดินไปตลาด การขึ้นบันไดแทนการขึ้นลิฟท์
- การรับประทานอาหารสุขภาพ หลักการรับประทานอาหารสุขภาพง่ายมีดังนี้
• หลีกเลี่ยงอาหารมันบางชนิดที่มีผลเสียต่อหัวใจ เช่น ไขมันอิ่มตัว (Saturated fat), Tran_fatty acid ได้แก่ น้ำมันปามล์ น้ำมันมะพร้าว ไขมันจากสัตว์ เครื่องใน กุ้ง ปลาหมึก ไก่ทอด พิซซ่า กล้วยแขก เนย มาการีน
• ให้รับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น เพราะผักและผลไม้จะช่วยป้องกันหลอดเลือดของท่าน
• รับประทานปลาเพราะเนื้อปลามี Omega-3-fatty acid
- หมั่นตรวจสุขภาพ ท่านที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ อ้วน หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หรือท่านที่อายุมากกว่า 35 ปี โดยไม่มีความเสี่ยง ให้ท่านได้รับการตรวจ
• ความดันโลหิต
• ระดับไขมันในเลือด
• ระดับน้ำตาล
ซึ่งเป็นการตรวจประจำปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการเดินสายพาน (EST) หรือ เมื่อแพทย์สงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะตรวจร่างกาย ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานหรืออาจใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น 64-slice CT Scan หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI วึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจเพียงบางอบ่าง หรือหลายอย่างเพื่อที่จะวินิจฉัยให้ได้ว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ และควรวางแผนการรักษาอย่างไร
เมื่อแพทย์สงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะตรวจร่างกายตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานหรืออาจใช้เครื่องมือที่มีเทคโนโลยีสูง เช่น 64-slice CT Scan หรือ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI วึ่งผู้ป่วยอาจได้รับการตรวจเพียงบางอย่าง หรือหลายอย่างเพื่อที่จะวินิจฉัยให้ได้ว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบหรือไม่ และควรวางแผนการรักษาอย่างไร การรักษานั้นขึ้นอยู่กับระยะและความรุนแรงของโรค เช่น หากไม่รุนแรงนักสามารถรักษาหายได้ด้วยยา, วิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน หรืออาจใช้การผ่าตัด Bypass
- การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจและ การทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ(CAG & PCI)
ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอกและตรวจพบว่ามีความผิดปกติของคลื่นหัวใจผิดปกติหรือการตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการเดินสายพานทำให้สงสัยว่าอาจมีสภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน
การตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจเป็นวิธีการตรวจที่สำคัญในการวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจตีบ และยังทำการรักษาต่อด้วยการทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจตรงตำแหน่งที่ตีบได้ด้วย โดยจะสามารถจะบอกถึงข้อมูลตำแหน่งของหลอดเลือดหัวใจตีบทีบริเวณใดและตีบกี่เส้น(เส้นเดียวหรือมีหลายเส้น) และตีบกี่เปอร์เซนต์ และยังดูการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจห้องซ้ายได้ด้วย โดยจะใช้เวลาในการตรวจวินิจฉัยเพียง 15 - 20 นาที และเป็นข้อมูลบอกถึงแนวทางการรักษาด้วยยา (ในกรณีที่ตีบไม่มาก), บอลลูน หรือการผ่าตัด และการปฏิบัติตัวผู้ป่วยได้ต่อไป
ผู้ป่วยบางรายที่ทำการตรวจด้วยวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลสามารถมาตรวจตอนเช้าและนอนพักฟื้นประมาณ 6 – 8 ชม. ก็สามารถกลับบ้านได้ และมาพบแพทย์ในวันรุ่งขึ้น เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป
นอกจากการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจปกติ ยังสามารถทำการรักษาต่อด้วยการทำบอลลูนขยายหลอดเลือด และใส่ขดลวด Stainless steel ดามในหลอดเลือดหัวใจ
สัญญาณอันตราย!!..ที่ไม่ควรมองข้าม.. | |
คุณมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่? | |
| เวลาคุณออกกำลังกายหนักๆแล้วแน่นหน้าอก พอพักสักครู่ก็ดีขึ้น หรือไม่? |
| คุณเจ็บหน้าอก ตื้อๆ ตรงกลางหน้าอกหรือไม่? |
| อยู่ๆ คุณก็เจ็บหน้าอกต่อเนื่อง แม้จะนั่งพักแล้วก็ยังไม่หาย หรือไม่? |
| เวลาคุณรีบๆหรือโมโหใครแล้วเจ็บหน้าอก หรือไม่? |
| เวลาคุณมีเซ็กซ์ตอนถึงจุดไคลแม็กซ์มีอาการเจ็บหน้าอกจนต้องนอนนิ่งไปครู่ใหญ่ หรือไม่? |
หากคุณพบว่ามีอาการใดอาการหนึ่ง อาจเป็นสัญญาณเริ่มต้นของโรคสำคัญ ดังนั้น คุณควรพบและปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยโดยละเอียด |
แหล่งที่มา : phyathai.com