อาการของคนเป็นโรคหัวใจ อาหารต้านโรคหัวใจ อาการเป็นโรคหัวใจ
5 สุดยอดอาหารป้องกันโรคหัวใจ
การกินอาหารที่อุดมไปด้วยแป้งและไขมันนั้น เป็นเหตุบ่อนทำลายสุขภาพ ทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคหัวใจ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในพื้นที่แถบอเมริกาเหนือ
เนื่องด้วยบรรดาร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ผุดขึ้นมามากมายทั่วทุกหัวมุมถนน ทำให้สะดวก หากินได้ง่าย และเป็นอะไรที่ใกล้ปากกว่าทุก ๆ สิ่งในยามที่รู้สึกหิวขึ้นมา ในไทยเองแม้จะยังไม่ร้ายแรงถึงขั้นนั้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าไลฟ์สไตล์ของหลาย ๆ คนใกล้ชิดกับอาหารที่อุดมด้วยแป้งและไขมันเหล่านี้มากขึ้น |
อันหมายถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจก็คืบคลานใกล้เข้ามามากกว่าเดิมด้วย เพื่อป้องกันภัยแต่เนิ่น ๆ และเสริมสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง วันนี้เราจึงชวนคุณมากินอาหารที่ดีต่อหัวใจกันค่ะ
โฮลเกรน หรือธัญพืชเต็มเมล็ดที่ไม่ได้ผ่านการขัดสีนั้น ยังคงอุดมไปด้วยวิตามินบี วิตามินอี และไฟเบอร์ที่มีประโยชน์ เจ้าไฟเบอร์ตัวที่ว่านั้นก็คือ เบต้า-กลูแคน อันจะช่วยลดไขมันชนิดไม่ดี หรือ LDL ในเลือดลงได้ แถมยังให้น้ำตาลในปริมาณต่ำ ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเส้นเลือดพุ่งขึ้นสูง ลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานได้อีกด้วย คราวหน้าหากต้องการหาอะไรมาเติมท้องในยามเช้า หรือระหว่างมื้อ ลองนึกถึงซีเรียลโฮลเกรน หรือข้าวโอ๊ตชงกับนมอุ่น ๆ สักถ้วยดูนะค่ะ |
การดื่มไวน์แดงทุก ๆ วันในปริมาณที่พอเหมาะ (4-8 ออนซ์) ช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้นได้ เหตุเพราะในไวน์แดงมีสาร resveratrol ซึ่งเป็นโพลีฟีนอลที่สกัดได้จากเปลือกองุ่น ทำหน้าที่เป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ช่วยลดไขมันเลว หรือ LDL ในเลือด และยังลดปริมาณคลอเรสเตอรอลโดยรวมในเส้นเลือดได้ด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า มันช่วยให้เกล็ดเลือดไม่ก่อตัวเป็นลิ่ม ทำให้เลือดไหลเวียนได้ จึงช่วยลดความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงได้ด้วย |
ผักโขม รวมทั้งผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักกาดหอม ตำลึง ฯลฯ เป็นอาหารที่มีโฟเลท หรือ วิตามินบี 9 สูง ซึ่งเป็นสารสำคัญที่รู้จักกันดีว่า ช่วยป้องกันภาวะผิดปกติที่ประสาทแกนกลางของทารกในครรภ์ นอกจากนี้มันยังช่วยป้องกันภาวะที่ร่างกายมีสาร โฮโมซีสเตอีน (homocysteine) สูงเกินไป ซึ่งปกติแล้วสารโฮโมซีสเตอีนนี้ ทำหน้าที่ในการสร้างเนื้อเยื่อต่าง ๆ แต่หากมีมากเกินไปก็ส่งผลเสียต่อผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้ แต่หากบริโภคอาหารที่มีโฟเลทอย่างเพียงพอ ก็ช่วยเสริมกระบวนการเผาผลาญโฮโมซีสเตอีนของร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดความเสี่ยงของผนังหลอดเลือดตีบ ความดันเลือดสูง และโรคหัวใจได้ |
อัลมอนด์ และถั่วต่าง ๆ มีไขมันไม่อิ่มตัว (polyunsaturated fat) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fat) อยู่สูง ซึ่งไขมันที่ไม่อิ่มตัวเหล่านี้ ไม่เพียงช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือดเท่านั้น แต่ยังเพิ่มระดับไขมันดี หรือ HDL อันทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ไขมันไม่ดี หรือ LDL ไปเกาะตัวในเส้นเลือดด้วย ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดตีบได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามอัลมอนด์และถั่วต่าง ๆ นั้นให้พลังงานสูง ในหนึ่งวันกินสักหนึ่งกำมือเล็ก ๆ ก็เพียงพอแล้วค่ะ |
แซลมอน และปลาทะเลต่าง ๆ อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์มาแล้วว่า สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ โดยช่วยกระตุ้นกลไกการทำงานของเส้นเลือด ให้ความดันในเลือดลดลง ป้องกันการก่อตัวเป็นลิ่มของเกล็ดเลือด รวมทั้งป้องกันการเกิดพังผืดในหลอดเลือดแดง ซึ่งทุกประการนี้ล้วนแต่ทำให้เราห่างไกลโรคหัวใจออกไปทั้งสิ้น นอกจากนี้กรดโอเมก้า 3 ยังช่วยให้ใยประสาทไฟฟ้าในหัวใจทำงานได้อย่างเป็นปกติ ป้องกันการเกิดภาวะหัวใจอ่อนกำลัง หรือหัวใจวายได้ด้วย |
แหล่งที่มา : 108health.com