ปวดท้องกระเพาะ ยาแก้ปวดท้อง อาการปวดท้องไส้ติ่ง


4,232 ผู้ชม


ปวดท้องกระเพาะ ยาแก้ปวดท้อง อาการปวดท้องไส้ติ่ง


อาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร

  1. มักเกิดขึ้นขณะที่กำลังรับประทานอาหาร หรือรับประทานอาหารอิ่มแล้วไม่นานนัก โดยทั่วไปมักเกิดเมื่อรับประทานอาหารมากกว่าปกติ หรือรับประทานอาหารห่างจากมื้อก่อนนานกว่าปกติ เรียกว่าหิวอยู่นาน
  2. ตำแหน่งที่ปวดอยู่บริเวณสูงกว่าสะดือ
  3. บางคนจำได้ว่า เคยมีอาการเช่นเดียวกันนี้เป็นครั้งคราว ภายใต้สภานการณ์เดียวกัน และหายได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง วันต่อมาก็สบายดี รับประทานอาหารได้ตามปกติ
  4. บางคนอาการไม่รุนแรงพอที่จะเรียกว่าปวดท้อง ก็เรียกว่า ท้องอืด หรือท้องเฟ้อ อาการเหล่านี้หากเกิดเป็นครั้งคราว ถือว่าเป็นความผิดปกติชั่วคราว เกิดจากกระเพาะอาหารบีบตัวรุนแรงกว่าธรรมดา ต่างจากโรคกระเพาะอาหารจริงๆ ซึ่งคนไข้จะปวดติดต่อกันทุกวันเป็นเวลานานหลายวัน เป็นสัปดาห์ หรือนานกว่านั้นหากไม่ได้รับการรักษา
  5. กรณีหลังนี้น่าจะสงสัยในเบื้องต้นว่าเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไป เช่น พิจารณาส่องกล้องตรวจเยื่อบุกระเพาะ และทางเดินอาหารส่วนต้น หรือพิจารณาส่งตรวจด้วยการกลืนแป้งแล้วฉายภาพรังสีเพื่อดูว่ามีความผิดปกติอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่
  6. การรักษาเบื้องต้นในกรณีปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหาร หากเป็นขณะกำลังรับประทานอาหาร ต้องหยุดรับประทานอาหาร ไม่ดื่มน้ำ ให้ลุกจากโต๊ะอาหารไปเดินเล่น อาการจะค่อยๆ หายไป หากเกิดภายหลังอิ่มอาหาร และดื่มน้ำแล้ว การลุกไปเดินก็จะทำให้ทุเลาลงได้เช่นกัน ยาที่จะช่วยให้อาการทุเลาเร็วขึ้น ได้แก่ยาลดกรดที่ออกฤทธิ์เร็วเช่น โซดามินต์ เพื่อให้หายเร็วควรรับประทานครั้งแรก 4 เม็ด หากไม่หายภายใน 5 นาทีให้รับประทานอีก 2 เม็ด ถ้าหาย ต่อไปอาจป้องกันการเกิดอาการนี้ได้ ด้วยการหลีกเลี่ยงสาเหตุ ถ้าทำไม่ได้ ขณะหิวมากก่อนรับประทานอาหาร ควรรับประทานยาลดกรด เช่น โซดามินต์ 2 เม็ดเสียก่อนที่จะเกิดอาการ หรือถ้าต้องการใช้ยาที่ออกฤทธิ์นานอาจใช้รานิติดีน ranitidine ในกรณีที่อาการไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยต่อไปเพราะสาเหตุอาจจะเป็นจากโรคแผลในกระเพาะอาหารชนิดรุนแรง หรืออาจเป็นโรคนิ่วถุงน้ำดีหรือโรคหัวใจก็ได้
  7. เชื้อแบคทีเรีย "เฮลิโคแบคเตอร์ ไพลอไร" (Helicobacter pyroli) เข้าสู่กระเพาะได้โดยการกลืนเข้าไป หรือขย้อนเชื้อจากลำไส้มาอยู่ในกระเพาะอาหาร โดยปกติในกระเพาะอาหาร จะไม่มีเชื้อแบคทีเรีย หลังจากเชื้อเข้าสู่กระเพาะอาหาร จะใช้หนวดของมันว่ายเข้าไปฝังตัวในเยื่อเมือกบุผนังกระเพาะ และปล่อยน้ำย่อย เอ็นซัยม์ และสารพิษมาทำลาย และกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุผนังกระเพาะอาหาร ด้วยกลไกนี้ร่วมกับกรดที่หลั่งออกมาจากเซลล์เยื่อบุกระเพาะ จะช่วยกันทำลายผนังกระเพาะให้มีการอักเสบ และเกิดเป็นแผลได้ในที่สุด




แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด