ไข้หวัดใหญ่ ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาการไข้หวัดใหญ่ 2009


761 ผู้ชม


ไข้หวัดใหญ่ ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ อาการไข้หวัดใหญ่ 2009

 

โรคปอดบวมชนิดไม่รุนแรง

ผู้ป่วยจะมีอาการไอ และหอบ หรือหายใจเร็ว โดยใช้หลักเกณฑ์อัตราการหายใจ เด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือน หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 60 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เด็กอายุ 2-11 เดือน หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 50 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เด็กอายุ 1-5 ปี หายใจหอบ คือ หายใจตั้งแต่ 40 ครั้งต่อนาทีขึ้นไป เวลานับอัตราการหายใจต้องนับให้ครบ 1 นาทีในขณะที่เด็กสงบ ไม่ร้องหรือดิ้น ในเด็กเล็กให้ดูการกระเพื่อมขึ้นลงของหน้าท้อง อาจเปิดเสื้อขึ้นดูให้ชัด ถ้าเป็นในเด็กโตกว่า 7 ขวบ ให้ดูการเคลื่อนไหวของทรวงอก เคลื่อนโป่งออก และแฟบลงเป็น 1 ครั้ง

โรคปอดบวมชนิดรุนแรง

ผู้ป่วยจะมีอาการไอ และหายใจแรงมากจนทรวงอกส่วนล่างบริเวณลิ้นปี่ตลอดชายโครง บุ๋มเข้า ขณะหายใจเข้า จะมีหอบร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

โรคปอดบวมชนิดรุนแรงมาก

เด็กจะมีเสียงหายใจผิดปกติ อาจมีเสียงฮืดเวลาหายใจเข้าหรือเด็กอายุต่ำกว่า 2 เดือนมีเสียงหวีดเวลาหายใจออก หรือเด็กไม่กินนมและน้ำ ซึม ปลุกตื่นยาก หอบเหนื่อยมาก จนริมฝีปากเขียว ชัก ฯลฯ แพทย์จะต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน ถ้าเป็นปอดบวมถือว่ารุนแรงทุกราย เด็กอาจมาด้วยอาการไข้สูง ไม่กินนมหรือน้ำ โดยอาจไม่ไอ แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพราะมีอันตรายได้มาก อาการจะเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุก็แตกต่างกับเด็กโต จะต้องใช้ยาปฏิชีวนะแตกต่างกัน

การวินิจฉัย

  1. ประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ
  2. เจาะเลือดเพื่อตรวจนับเม็ดเลือด พบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
  3. ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุ
  4. นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล
  5. ถ่ายภาพรังสีทรวงอก

การรักษา

  1. ในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละสองถึงสามครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์
  2. หากสาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ออกซิเจน และสารน้ำทางหลอดเลือด
  3. ถ้าเป็นปอดบวมไม่รุนแรง จะได้รับการรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะไปกินที่บ้าน จะต้องให้เด็กกินยาสม่ำเสมอ ขนาดยาตามแพทย์สั่ง ควรอ่านฉลากยาก่อนให้กินยาเสมอ และกินจนครบชุด รวม 5-7 วัน
  4. อาการอื่นๆ เช่น ไข้ พิจารณาใช้ยาลดไข้เฉพาะเวลาตัวร้อนห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ส่วนอาการไอนั้น ในโรคปอดบวมจะไอได้มากกว่าโรคหวัด ยาที่กินอาจเป็นยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะ บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาให้ยาขยายหลอดลมด้วย ห้ามกินยากดไม่ให้ไอหรือยาแก้แพ้ หรือยาแก้ไอสำเร็จรูปที่มีตัวยาตั้งแต่สามชนิดขึ้นไป เพราะแทนที่จะมีประโยชน์อาจเป็นโทษ เช่น ทำให้เด็กไอไม่ออก เสมหะที่มีมากอาจตกเข้าไปค้างในหลอดลมทำให้ปอดแฟบได้
  5. ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำบ่อยๆ และไม่ลดอาหาร พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงเด็กต้องคอยดูอาการ ถ้าอาการมากขึ้นจะต้องพาไปพบแพทย์ใหม่ หรือ 2 วันแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้นก็ต้องพาไปตรวจอีก โดยมากควรพาไปตรวจอีกครั้งเมื่อครบ 2 วัน ส่วนมากอาการจะดีขึ้น และค่อยๆ หายในหนึ่งสัปดาห์ อาการที่ไม่ดีขึ้นหรือเลวลงได้แก่ หอบมากขึ้น หายใจต้องออกแรงมากขึ้นหรือมีอาการของภาวะป่วยหนักอื่นๆ เช่น เด็กซึม ไม่กินนมน้ำ ชัก ซึ่งจะต้องรักษาในโรงพยาบาล
  6. ในรายเป็นปอดบวมรุนแรงและรุนแรงมาก จะได้รับการรักษาในโรงพยาบาลโดยการฉีดยาปฏิชีวนะ อาจต้องให้น้ำเกลือเข้าเส้นเลือดในบางราย อาจต้องให้ออกซิเจนในรายที่หายใจเหนื่อยมาก หรือริมฝีปากเขียว หรืออ่อนเพลีย ซึมไม่กินนมน้ำ และถ้าอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ

โรคปอดบวมมีอันตรายมากในผู้ป่วยเหล่านี้

  1. อายุน้อย โดยเฉพาะในขวบปีแรก
  2. เด็กน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อย หรือเด็กขาดอาหาร
  3. เด็กที่มีความพิการ โดยเฉพาะหัวใจพิการแต่กำเนิด
  4. เชื้อที่เป็นสาเหตุเป็นชนิดรุนแรง โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
  5. กรณีที่มารับการรักษาช้าไป



แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด