ครีมมังคุด การปลูกมังคุด กินมังคุดอ้วน


1,387 ผู้ชม


ครีมมังคุด การปลูกมังคุด กินมังคุดอ้วน

 

การปลูก มังคุด 

ลักษณะทั่วไป

          มังคุด เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ ชอบอากาศร้อนชื้น อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25-30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์สูงประมาณ 75-85% ดินควรมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ประมาณ 5.5-6.5 และที่สำคัญควรเลือกพื้นที่ปลูกที่มีน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง มังคุดจะให้ผลผลิตประมาณปีที่ 7 หลังปลูก แต่ผลผลิตต่อต้นในระยะแรกจะต่ำ ช่วงที่ให้ผลผลิตดีประมาณ 13 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 60กิโลกรัม/ต้น (น้ำหนักผลเฉลี่ย 80 กรัม/ผล) มังคุดเป็นไม้ผลที่มีระบบรากหาอาหารค่อนข้างลึก ประมาณ 90-120 เซนติเมตร จากผิวดิน ดังนั้นจึงต้องการสภาพแล้งก่อนออกดอกค่อนข้างนาน โดยต้นมังคุดที่สมบูรณ์ใบยอดมีอายุระหว่าง 9-12สัปดาห์เมื่อผ่านช่วงแล้งติดต่อกัน 21-30 วัน และมีการกระตุ้นน้ำถูกวิธีมังคุดจะออกดอก ช่วงพัฒนาการของดอก (ผลิตาดอก – ดอกบาน) ประมาณ 30 วันช่วงพัฒนาของผล (ดอกบาน – เก็บเกี่ยว) ประมาณ 11-12 สัปดาห์ ระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมคือ เริ่มมีสายเลือดได้ 1-2 วัน ผลมังคุดที่มีสีม่วงแดงเก็บรักษาที่อุณหภูมิ10-13 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 90-95% เก็บรักษาได้นานประมาณ 2-4สัปดาห์ ฤดูกาลผลผลิตของภาคตะวันออกอยู่ในช่วงเดือน พฤษภาคม – มิถุนายนภาคใต้อยู่ในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน

พันธุ์ส่งเสริม

          พันธุ์พื้นเมือง (เกสรตัวผู้ของดอกมังคุดเป็นหมัน เมล็ดเจริญจากเนื้อเยื่อของต้นแม่โดยไม่ได้รับการผสมเกสร ดังนั้นจึงเชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียว)

การปลูก
วิธีการปลูก

ทำได้ทั้งการขุดหลุมปลูกซึ่งเหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งและยังไม่มีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก วิธีนี้ดินในหลุมจะช่วยเก็บความชื้นได้ดีขึ้น แต่ถ้ามีฝนตกชุกน้ำขังรากเน่าและต้นตายได้ง่าย ส่วนการปลูกโดยไม่ต้องขุดหลุม (ปลูกแบบนั่งแท่นหรือยกโคก) เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก วิธีนี้การระบายน้ำดี น้ำไม่ขังโคนต้น แต่ต้องมีการวางระบบน้ำไว้ก่อนปลูก ซึ่งต้นมังคุดจะเจริญเติบโตเร็วกว่าการขุดหลุม ทั้งนี้จุดเน้นที่สำคัญในการปลูกมังคุด คือ ควรใช้ต้นกล้าที่มีระบบรากดี ไม่ขดงอในถุง แต่ถ้าจะใช้ต้นกล้าขนาดใหญ่ก็ให้ตัดดินและรากที่ขดหรือพันตรงก้นถุงออก

ระยะปลูก

เนื่องจากมังคุดเป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มขนาดใหญ่ เจริญเติบโตช้า ระยะปลูกที่แนะนำคือ 8-9 x 8-9 เมตร สำหรับสวนที่จะใช้เครื่องจักรกลแทนแรงงาน ควรเว้นระยะระหว่างแถวให้ห่างพอที่เครื่องจักรกลจะเข้าไปทำงานแต่ให้ระยะระหว่างต้นชิดขึ้น

จำนวนต้นต่อไร่

20-25 ต้นต่อไร่

การดูแลรักษา
การให้น้ำ

          ให้น้ำสม่ำเสมอช่วงเจริญทางใบ และงดให้น้ำช่วงปลายฝน ต้นมังคุดที่มีอายุตายอด 9-12 สัปดาห์และผ่านสภาพแล้ง 20-30 วัน เมื่อแสดงอาการใบตก ปลายใบบิด ก้านใบและกิ่งที่ปลายยอดเริ่มเป็นร่อง ให้กระตุ้นการออกดอกโดยการให้น้ำอย่างเต็มที่ให้มากถึง 1,100 – 1,600 ลิตร/ต้น* จากนั้นให้หยุดดูอาการ 7-10 วัน เมื่อพบว่าก้านใบและกิ่งที่ปลายยอดเริ่มเต่งขึ้นก็ให้น้ำ เป็นครั้งที่ 2 ในปริมาณ 1/2 ของครั้งแรก หลังจากนั้น 10-14 วัน ตาดอกจะผลิออกมาให้เห็น และควรมีการจัดการน้ำเพื่อควบคุมให้มีปริมาณดอกเพียงร้อยละ 35-50 ของยอดทั้งหมด เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ โดยหลังจากมังคุดออกดอกแล้ว 10-15% ของตายอดทั้งหมด ควรให้น้ำปริมาณมาก 220-280 ลิตร/ต้น* ทุกวัน จนพบว่าในยอดที่ยังไม่ออกดอกเริ่มมียอดอ่อนแทนตาดอกจึงค่อยให้น้ำตามปกติ คือ 80-110 ลิตร/ต้น* และจะต้องให้น้ำในปริมาณนี้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องทุกวัน เพื่อให้ผลมังคุดมีพัฒนาการที่ดี

* เป็นปริมาณน้ำสำหรับต้นมังคุดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่มประมาณ 6 เมตร

การใส่ปุ๋ย

          1. เพื่อบำรุงต้นหลังการเก็บเกี่ยว
                    ● ปุ๋ยอินทรีย์ 20 - 50 กิโลกรัม/ต้น
                    ● ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 1 - 3 กิโลกรัม/ต้น
          2. เพื่อส่งเสริมการออกดอก (ช่วงปลายฝน)
                    ● ปุ๋ยเคมีสูตร 8-24-24 หรือ 9-24-24 2 - 3 กิโลกรัม/ต้น
          3. เพื่อบำรุงผล (หลังติดผล 3-4 สัปดาห์)
                    ● ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 2 - 3 กิโลกรัม/ต้น

การปฏิบัติอื่นๆ

          1. การเตรียมสภาพต้นให้พร้อม คือ การจัดการให้ต้นมังคุดแตกใบอ่อนในเวลาที่เหมาะสม และพัฒนาเป็นใบแก่ได้พอดีกับช่วงที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมปกติต้นมังคุดที่ตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำจะแตกใบอ่อนตามเวลาที่เหมาะสม แต่ต้นที่ไว้ผลมากและขาดการบำรุงที่ดีในฤดูที่ผ่านมา แม้จะจัดการต่างๆ แล้วก็มักจะไม่ค่อยแตกใบอ่อนหรือแตกใบอ่อนช้า จึงควรกระตุ้นการแตกใบอ่อนโดยฉีดพ่นปุ๋ยยูเรีย อัตรา 100-200 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แต่ถ้าพ่นยูเรียไปแล้วมังคุดยังไม่ยอมแตกใบอ่อนก็ให้ใช้ ไทโอยูเรีย 20-40 กรัม ผสมน้ำตาลเด็กซ์โตรส600 กรัม ในน้ำ 20 ลิตร (ไทโอยูเรียมีความเป็นพิษต่อพืชสูงจะทำให้ใบแก่ร่วงได้จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง) เมื่อมังคุดแตกใบอ่อนแล้วให้ดูแลรักษาใบอ่อนที่แตกออกมาให้สมบูรณ์ โดยการหมั่นตรวจสอบและป้องกันการระบาดของหนอนกัดกินใบและโรคใบจุดอย่างใกล้ชิด

          2. การจัดการเพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตที่มีคุณภาพ (มังคุดคุณภาพ หมายถึงผลมังคุดที่มีผิวลายไม่เกิน 5% ของผิวผลและมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 80 กรัมปราศจากอาการเนื้อแก้วยางไหลภายในผล และจะต้องเป็นผลที่เก็บเกี่ยวถูกวิธี): ควบคุมปริมาณดอก มังคุดทุกดอกจะเจริญเป็นผลได้โดยไม่ต้องผสมเกสรถ้าปล่อยให้ออกดอกมากเกินไปผลที่ได้มีขนาดเล็กราคาไม่ดีและยังมีผลต่อความสมบูรณ์ของต้นในปีถัดไป นอกจากจะจัดการน้ำตามที่กล่าวแล้ว ในกรณีที่พบว่ามังคุดออกดอกมากเกินไปแล้วให้หว่านปุ๋ยทางดินสูตร 16-16-16 หรือ 15-15-15 ปริมาณ 2 เท่าของปกติควบคู่กับการให้น้ำจะทำให้ผลที่มีอายุ 2-3 สัปดาห์ร่วงได้บางส่วน : ตรวจสอบและป้องกันกำจัดศัตรูเพลี้ยไฟ ไรแดง ไรขาว อย่างใกล้ชิดในช่วงดอกใกล้บาน และติดผลขนาดเล็ก
          3. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวผลที่แก่พอเหมาะ เมื่อผลเริ่มเป็นระยะสายเลือด คือ ผลที่มีสีเหลืองอ่อนปนเขียว มีจุดประสีชมพูกระจายทั่วผล แนะนำให้เก็บเกี่ยวด้วยตะกร้อผ้าเพื่อป้องกันผลตกกระแทกและรอยขีดข่วนที่ผิว

การป้องกันกำจัด
ศัตรูพืช

ช่วงแตกใบอ่อน (เน้นการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน)

          1. หนอนกินใบ สุมหญ้าใต้โคนต้นมังคุดเพื่อให้ตัวหนอนมาหลบซ่อนตอนกลางวันและเผาทำลาย ถ้าพบการทำลายมากให้ฉีดพ่นด้วยคาร์บาริล
          2. หนอนชอนใบ เก็บใบอ่อนที่มีหนอนเผาทำลาย ถ้าพบการทำลายมากให้ฉีดพ่นด้วย คาร์บาริล
          3. โรคใบจุด ในระยะที่แตกใบอ่อนให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมี แมนโคเซบคาเบนดาซิม หรือเบนโนมิล ช่วงดอกใกล้บานและติดผลอ่อน
          4. เพลี้ยไฟ ฉีดพ่นสารคาร์โบซัลแฟน หรือฟิโปรนิล หรืออิมิลาโคลพริดให้ทั่วทั้งภายในและภายนอกทรงพุ่ม จากนั้น 5-7 วัน ถ้ายิ่งพบว่ามีเพลี้ยไฟให้ฉีดพ่นซ้ำแต่ควรสลับชนิดสารเคมี
          5. ไรแดง พ่นด้วยกำมะถันผลหรือสารเคมีโอไมท์ผง


แหล่งที่มา : guru.thaibizcenter.com

อัพเดทล่าสุด