การดูแลหัวใจ การดูแลหัวใจให้แข็งแรง วิธีการดูแลหัวใจ


1,289 ผู้ชม


การดูแลหัวใจ การดูแลหัวใจให้แข็งแรง วิธีการดูแลหัวใจ

 

 

การสูบบุหรี่กับโรคหัวใจ

เมื่อสูดควันบุหรี่เข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ลดปริมาณของเลือดที่มีออกซิเจนที่ไปสู่หัวใจและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย การที่ปริมาณเลือดที่มีออกซิเจนไปสู่หัวใจลดลง จะทำให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก (Angina) การสูบบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง และเพิ่มการก่อตัวของสารไขมันไปเกาะที่ผนังเส้นเลือดด้านในมากขึ้น ทำให้เกิด "หลอดเลือดแข็งตัว" (Atherosclerosis) ซึ่งจะลดปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย นำไปสู่ภาวะหัวใจ และสมองขาดเลือดได้

ผลของนิโคติน

โดยส่วนใหญ่ผู้ที่สูบบุหรี่จะติดนิโคตินที่ให้ผลทางด้านจิตใจในระยะยาว บางคนสูบบุหรี่เพราะคิดว่าช่วยให้มีสมาธิดีขึ้น ลดความเหนื่อยล้า และช่วยเพิ่มความรู้สึกในการควบคุมตนเอง การสูบบุหรี่เป็นเวลานานจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว

จะเลิกบุหรี่ได้อย่างไร

มีหลายวิธีในการเลิกบุหรี่ วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลดีคือ ความตั้งใจจริง ในการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเอง เช่น การลดความเครียด ออกกำลังกาย และได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง โดยวิธีการต่างๆ ดังนี้

  • จัดการกับความเครียด หลายๆ คนสูบบุหรี่เพื่อลดความเครียด หรือช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ควรเรียนรู้ที่จะผ่อนคลายความเครียด ด้วยวิธีอื่นที่ดีกว่าการสูบบุหรี่
  • การออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะเกิดผลทางจิตใจเหมือนกับการสูบบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกในการควบคุมตนเอง ความรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับได้ดีขึ้น และเพิ่มความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ที่มีความเครียด ควรหากิจกรรมการออกกำลังกายที่ชอบ เช่น การเดิน ขี่จักรยาน หรือกิจกรรมอื่นที่สามารถทำได้ในชีวิตประจำวัน
  • กำลังใจ กำลังใจจากคนรอบข้างในสังคม เป็นส่วนสำคัญในแผนการงดสูบบุหรี่ทุกขั้นตอน เลือกคนที่สามารถให้กำลังใจ และช่วยคุณสนการเลิกบุหรี่ การดูแลตนเองเป็นวิธีช่วยให้เลิก บุหรี่ได้ดีที่สุด แต่พึงระลึกไว้ว่าวิธีหนึ่งที่ได้ผลกับคนหนึ่ง อาจใช้ไม่ได้กับคนอีกคนหนึ่ง ดังนั้น คุณควรเลือกวิธีที่รู้สึกว่าดีที่สุดสำหรับคุณ

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิต คืออะไร

ความดันโลหิต คือ แรงดันในการส่งเลือดในหลอดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในการวัดความดันจะมี 2 ค่า คือ ตัวเลข ตัวบน (Systolic Blood Pressure) คือ ค่าแรงดันเลือด ขณะหัวใจบีบตัว และตัวเลขตัวล่าง (Diastolic Pressure) คือ แรงดัน ขณะหัวใจคลายตัว ค่าความดันปกติ คือ 120/80

ความดันโลหิตสูงหมายถึงอะไร

ความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่มีการเพิ่มแรงดันในหลอดเลือด ค่าความดันโลหิตที่สูง คือ มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 ค่าความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลงไม่เท่ากันตลอดเวลา แต่ถ้าตรวจพบว่าค่าความดันมากกว่า 140/80 อยู่เสมอ ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ความดันโลหิตสูงกับโรคหัวใจ

ความดันโลหิตสูงก่อให้เกิดความเสียหายต่อหัวใจ และหลอดเลือด ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษา จะทำให้เกิดโรคทางหลอดเลือดสมองหัวใจล้มเหลวหรือหัวใจวายเฉียบพลันได้ บางคนมีความดันโลหิตสูง แต่ไม่มีอาการ หรือที่เรียกว่า "Silent Killer" การตรวจสุขภาพเป็นประจำจะสามารถพบภาวะความดันโลหิตสูงที่ซ่อนเร้นอยู่ได้

ยา

เมื่อพบแพทย์สั่งยาควบคุมความดันโลหิตให้ ควรทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง และหากเกิดอาการจากผลข้างเคียงของ ยา ควรแจ้งแพทย์ทันที เนื่องจากยาที่ใช้ควบคุมความดันโลหิตมีหลายชนิดหากเกิดอาการจากผลข้างเคียงของยา สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นได้ ไม่ควรหยุดยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์

การควบคุมดูแลภาวะความดันโลหิตสูง

  • ควบคุมน้ำหนัก การลดน้ำหนักจะช่วยลดความดันโลหิต การลดน้ำหนักทำได้โดยการลดปริมาณแคลอรี่ ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดปริมาณเกลือในอาหาร เกลือจะทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นในคนไข้บางคน
  • เพิ่มการออกกำลังกาย การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดความดันโลหิต ควรเริ่มอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มขึ้นต้องมีการ warm up และcool down ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อเลือกกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม หรือเมื่อต้องการเริ่มกิจกรรมออกกำลังกายอย่างใหม่
  • จำกัดปริมาณแอลกอฮอล์และคาเฟอีน การดื่มสุรา หรือที่มีคาเฟอีนมากเกินไป อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ ควรจำกัดปริมาณเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนลงเหลือ 2-3 แก้ว/วัน และจำกัดปริมาณแอลกอฮอล์เหลือ 1-2 แก้ว/วัน
  • ลดความเครียด การปล่อยให้มีความเครียดอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ควรรู้จักวิธีผ่อนคลายความเครียด

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด