ลมพิษเรื้อรัง แก้ลมพิษ สมุนไพรแก้ลมพิษ
การวินิจฉัยโรคลมพิษ
ลมพิษจะมีลักษณะอาการจำเพาะ เป็นที่รู้จักของชาวบ้านทั่วไป จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาในการวินิจฉัยโรคนี้ ควรไปหาแพทย์ทันทีถ้ามีอาการหายใจหอบร่วมด้วย ซึ่งอาจพบในคนที่เป็นลมพิษชนิดรุนแรง มีอาการบวมของกล่องเสียง ทำให้หายใจเข้าออกลำบาก โดยทั่วไปการวินิจฉัยผื่นลมพิษมักทำได้ไม่ยาก ผื่นลมพิษเป็นผื่นชนิดเดียวที่ขึ้น และยุบสนิทภายในเวลาอันสั้นมาก ซึ่งช่วยในการวินิจฉัยได้ โรคสำคัญที่สุดที่ต้องวินิจฉัยแยกออกจากผื่นลมพิษธรรมดา คือ ลมพิษชนิดที่มีหลอดเลือดอักเสบร่วมด้วย (urticarial vasculitis) ซึ่งมักจะตรวจพบลักษณะอื่นๆ ร่วมด้วย และควรพิจารณาตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ เพื่อวินิจฉัยด้วยลักษณะทางกล้องจุลทรรศน์ยืนยัน
การวินิจฉัยแยกโรค
- ผื่นแพ้จากการสัมผัส (contact dermatitis) จะขึ้นเป็นผื่นแดง หรือตุ่มน้ำใสเล็กๆ คัน ซึ่งจะขึ้นเฉพาะบริเวณที่สัมผัสถูกสิ่งที่แพ้ เช่น สายนาฬิกา สร้อยคอ ขอบกางเกง สายรองเท้า เป็นต้น
- ผื่นแพ้จากกรรมพันธุ์ (eczema) จะขึ้นเป็นผื่นแดงเล็กๆ คันตามบริเวณแก้มหรือข้อพับ เช่น แขนพับ ข้อมือ ขาพับ ข้อเท้า รอบคอ ซึ่งจะขึ้นพร้อมกันทั้ง ๒ ข้าง คนไข้มักจะเกาหรือถูจนหนังหนา และอาจมีน้ำเหลืองเยิ้ม ชาวบ้านมักจะเรียกว่า “น้ำเหลืองไม่ดี”
- กลากหรือโรคเชื้อรา (ringworm) จะขึ้นเป็นวงๆ มีลักษณะเป็นขุยๆ ขอบแดง คัน ขึ้นเฉพาะแห่ง เช่น หนังศีรษะ ขาหนีบ ง่ามเท้า วงจะลามใหญ่ออกไปเรื่อยๆ
แหล่งที่มา : 108health.com