อาการโรคไทรอยด์ การรักษาโรคไทรอยด์ โรคไทรอยด์ห้ามกินอะไรบ้าง


196,869 ผู้ชม


อาการโรคไทรอยด์ การรักษาโรคไทรอยด์ โรคไทรอยด์ห้ามกินอะไรบ้าง

 



โรคไทรอยด์

เรี
ยบเรียงโดย นายแพทย์ สุรพงศ์ อำพันวงษ์

      ไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่าง เหมือนเกือกม้า ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีหน้าที่ สร้าง และหลั่ง ไทรอยด์ฮอร์โมน ออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ ต่อมไทรอยด์ สร้างเองโดยอาศัย ไอโอดีน จากอาหาร ที่กินเข้าไป เป็นวัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์  กระตุ้น ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็น ปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจ กับประสาท
      ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด เป็นต่อมไร้ท่อที่เป็นโรคต่างๆบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับ ต่อมไร้ท่ออื่นๆ มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่   สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์  มากกว่าบุรุษ หลายเท่า ตัว โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยคือ โรคที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไปเรียกว่า โรคคอพอก ซึ่งจำแนกออก ได้เป็น คอพอกชนิดเป็นพิษ  และไม่เป็นพิษ นอกจาดนั้น ยังมีมะเร็ง ของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีส ของต่อม ไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น
      สาเหตุสำคัญมากของคอพอกชนิดไม่เป็นพิษ คือขาดไอโอดีน ซึ่งพบมากในหมู่บ้านยากจน แถบภาคเหนือ ภาคอิสาน ที่อยู่ใกล้ภูเขาที่เป็นที่ราบสูง สาเหตุที่ขาดไอโอดีน ซึ่งมีมากในอาการทะเลและผักผลไม้ต่างๆ ชาวบ้านที่อยู่ห่างไกล ไม่มีอาหารทะเลกิน เกลือที่ใช้ ก็เป็นเกลือสินเธาว์ไม่มีไอโอดีน ดินที่เพาะปลูก ก็เป็นดินที่ขาดไอโอดีน พืชผักที่ปลูกไว้กิน จึงขาดไอโอดีนด้วย
      โรคนี้เป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก บริเวณที่เป็นที่ราบสูง หรือบริเวณเทือกเขา เป็นปัญหาสาธารณสุข ที่ต้องแก้ไขด่วน เพราะเด็กที่เกิดมา ในหมู่บ้านเหล่านี้จะกลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน หูหนวกเป็น ใบ้ ตัวเตี้ย แคระ ต่อไปได้ มีการสำรวจหมู่บ้านทางภาคเหนือแห่งหนึ่ง ซึ่งมีชาวบ้าน 800 คน พบว่ามีคอพอก ร้อยละ 84 มีเด็กปัญญาเสื่อม เฉื่อยชา ตัวเตี้ย แคระ หูหนวก เป็นใบ้ร้อยละ12เพราะขาดไอโอดีน ตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ หรือมาขาดเอาตอนเด็กๆ คณะสำรวจลองให้เกลืออนามัยซึ่งมีไอโอดีนอยู่ ปรากฏว่า คอพอก ในเด็ก นักเรียน ลดลงครึ่งหนึ่งภายในเวลา 3 ปี เท่านั้น และอีก 3 ปีต่อมา เด็กนักเรียนในหมู่บ้าน ที่กินเกลืออนามัย ไม่เป็น คอพอกอีกเลย
      ส่วนเด็กที่เป็นแล้ว ช่วยอะไรไม่ได้มาก เพราะสายเกินแก้ วิธีป้องกันก็คือ กินเกลือไอโอดีน หรือเกลืออนามัย กินอาหารทะเล เกลือทะเล ถ้าซื้อมาเก็บนานเกินไป ไอโอดีน จะระเหิดหายไปหมดส่วนเกลือสินเธาว์ ไม่มีไอโอดีน
        ในผู้ใหญ่จะพบโรคคอพอกชนิดไม่เป็นพิษได้ที่ ต่อมไทรอยด์โตขึ้นชัดเจน และชนิดที่ ต่อมไทรอยด์ ไม่โตขึ้นกว่าปกติ ทั้ง 2 ประเภท จะมีอาการแสดงออก ถึงการขาดไทรอยด์ฮอร์โมน ได้แก่การเป็นคนชื่องช้า เซื่องซึม ขี้หนาว พูดช้า เสียงแหบ ผิวแห้ง ผมแห้งหยาบ และร่วงง่าย ท้องผูก อ้วนขึ้น


แพทย์ผู้เชี่ยวชาญไทรอยด์ 
เรียบเรียงโดย นพ. เทพ หิมะทองคำ 
      เมื่อพูดถึง รังสี ในการรักษา โรคำไทรอยด์ คนจะกลัวเรื่องการเป็นหมัน การคลอดลูกผิดปกติ ซึ่งความเชื่อเหล่านี้เป็นสิ่งที่ต้องลบล้างไปจากความทรงจำ เพราะได้พิสูจน์ชัดเจนนานแล้วว่า รังสีไอโอดีนไม่ทำให้คนเป็นหมัน ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย มีข้อแม้ในการใช้รังสีอย่างเดียว คือ ต้องไม่ใช้หากอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ เมื่อให้การรักษาเรียบร้อยแล้ว แพทย์ต้องติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อสามารถวินิจฉัยการเกิดโรคไฮโปไทรอยด์หรือธัยรอยด์ทำงานน้อยได้แต่เนิ่นๆ หากเกิดอาการนี้ขึ้น เมื่อความปลอดภัยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ไอโอดีน 131 (ไอโอดีนซึ่งสามารถปล่อยรังสีออกมา) จึงได้รับการใช้ในคนไข้ที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันนี้ อายุแทบจะเรียกว่า ไม่ใช่อุปสรรคในการที่จะให้การรักษาด้วยรังสีไอโอดีน นอกจากนั้นไอโอดีน 131 ยังได้รับการใช้ในโรคไทรอยด์ ที่กว้างขวางมากขึ้น เช่น ในคนไข้ที่มีไทรอยด์ ตมากแต่ไม่เป็นพิษ และไม่ต้องการที่จะทำการผ่าตัด การให้ไอโอดีนสามารถทำให้คอยุบลงได้ แต่ก็ต้องระวังการที่ต่อมธัยรอยด์จะทำงานน้อยไปในที่สุด 
       ปัจจุบันนี้ รังสีไอโอดีนใช้กับโรคไทรอยด์เป็นพิษมากที่สุดและเป็นการรักษามาตรฐาน หลังจากการให้ยาจนอาการต่างๆ ของคนไข้เป็นปกติหมดแล้ว การให้รังสีไอโอดีน ได้ประโยชน์มากกว่าการกินยาทำให้ขนาดของต่อมธัยรอยด์ยุบลง และทำให้ความถี่ของการมาพบแพทย์ลดลงได้มาก จนท้ายสุดอาจมาพบเพียง 6 เดือน หรือปีละครั้ง เพื่อตรวจเรื่องการทำงานของต่อมไทรอยด์ ว่ายังปกติดีอยู่หรือไม่ การให้รังสีไอโอดีนอาจพิจารณาให้ตั้งแต่ต้นเพราะคอโตมาก ซึ่งโอกาสที่จะยุบลงด้วยการกินยาแทบจะไม่มี หรือหลังจากกินยาแล้วเป็นปีก็ยังหยุดยาไม่ได้

       รังสีไอโอดีนใช้ในการรักษาผู้ที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษเพราะเนื้อเยื่อของต่อมไทรอยด์ทำงานมาก ก็จะนำเอารังสีไปเก็บไว้มาก รังสีที่ปล่อยออกมาจะไปทำลายเนื้อเยื่อของก้อนเนื้องอก และทำให้ก้อนยุบลงได้โดยไม่ต้องผ่าตัด 
รังสีไอโอดีนใช้ในการรักษาโรคมะเร็งของต่อมไทรอยด์  : เพื่อเป็นการกวาดล้างเนื้อไทรอยด์ ที่หลงเหลืออยู่ในร่างกายให้หายไปโดยสิ้นเชิง แต่ในกรณีเช่นนี้ขนาดของรังสีที่ให้ จะมากกว่าในกรณีของต่อมไทรอยด์ เป็นพิษถึง 10 กว่าเท่าตัว แน่นอนที่สุด คนที่ได้รับไอโอดีน 131 ขนาดมากดังกล่าวนี้ ต่อมไทรอยด์ จะถูกทำลายไปหมด และจำเป็นจะต้องทานฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ชดเชยไปตลอดชีวิต ไทรอยด์ฮอร์โมนยังช่วยกดไม่ให้มะเร็งของต่อมไทรอยด์ เติบโตต่อไปได้ด้วย 
       เพื่อความปลอดภัยของการให้รังสีไอโอดีนเป็นที่รู้จักกันแล้ว ก็เริ่มมีการให้ รังสีไอโอดีนแก่คนที่คอโตแบบเป็นตะปุ่มตะป่ำ (multinodular goiter) แต่ไม่เป็นพิษ ในอดีตคอโตแบบนี้จะได้รับการผ่าตัดเป็นประจำและก็ยังอาจโตขึ้นมาได้อีก ปัจจุบันนี้มีการให้ไอโอดีนในกรณีเช่นนี้ทำให้คอยุบลงได้ โดยไม่ต้องผ่าและกินยาไทรอยด์ฮอร์โมนคุมไม่ให้คอโตขึ้นมาอีกได้ตลอด
 
       สรุปแล้วการให้รังสีไอโอดีน 131 ไม่มีอันตรายใดๆ ต่อการสืบพันธุ์ สิ่งเดียวที่ต้องเฝ้าติดตามหลังการให้ไอโอดีน คือ การทำงานของต่อมธัยรอยด์ ต้องติดตามว่ายังมีการทำงานได้อยู่มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อแพทย์สามารถพิจารณา การให้ฮอร์โมนชดเชยก่อนที่จะมีอาการของการขาดฮอร์โมนเกิดขึ้น


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด