ปวดหัวไมเกรน อาการปวดหัวไมเกรน วิธีแก้ปวดหัวไมเกรน


1,678 ผู้ชม


ปวดหัวไมเกรน อาการปวดหัวไมเกรน วิธีแก้ปวดหัวไมเกรน

 


 
โอ๊ย!! ปวดหัว ไมเกรน
โดย : ผศ.นพ รังสรรค์ ชัยเสวิกุล

          ไมเกรนเป็นโรคที่ก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีความแตกต่างจากโรคปวดศีรษะทั่วไป อย่างคาดไม่ถึง ปัจจุบันสาเหตุของไมเกรนยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด มีอยู่หลาย ทฤษฎีที่เชื่อว่า อาจจะเกิดความผิดปกติชั่วคราว ของระดับสารเคมีในสมองการสื่อกระแสประสาทในสมอง 

ไมเกรน

ภภภ�การทำงานที่ผิดปกติไปของหลอดเลือดสมองชั่วคราว และจากข้อมูลทางระบาดวิทยา ปัจจุบันเชื่อว่าไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ แต่จะเกิดอาการหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายที่มากระทบ
 อาการอย่างไรถึงเรียกว่าไมเกรน
ภภภภภภ อาการปวดศีรษะไมเกรน ต่างจากอาการปวดศีรษะธรรมดาตรงที่ว่า อาการปวดศีรษะธรรมดามักจะปวดตื้อ ๆภ ที่ไม่รุนแรงนัก และมักจะไม่มีอาการอื่น เช่น คลื่นไส้ร่วมด้วย ส่วนใหญ่จะหายได้เองเมื่อได้นอนหลับสนิทไปพักใหญ่ แต่ไมเกรน มักจะปวดตุ๊บ ๆ เป็นระยะ ๆ แต่ก็มีบางคราวที่ปวดแบบตื้อ ๆ ส่วนมากจะปวดรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก โดยจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นทีละน้อยจนกระทั่งปวดรุนแรงเต็มที่แล้วภ จึงค่อย ๆ บรรเทาอาการปวดลงจนหาย มักจะปวดข้างเดียว หรือเริ่มปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้งสองข้าง แต่ละครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่งได้ แต่บางครั้งก็ อาจจะปวดทั้งสองข้างพร้อม ๆ กันตั้งแต่แรก

 ใครติดอันดับเป็นไมเกรน
ภภภภภภ โรคปวดศีรษะไมเกรน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย มักเป็นในผู้ที่มีความเครียดทางอารมณ์และจิตใจสูง แต่ก็อาจจเกิดในผู้ที่สุขภาพจิตดีก็ได้
 รู้ได้อย่างไรว่าเป็นไมเกรน
ภภภภภภ อาการปวดศีรษะที่เกิดจากโรคไมเกรน แพทย์ต้องการทำวินิจฉัยจากลักษณะจำเพาะของอาการปวดศีรษะ อาการที่เกิดร่วมด้วย ตรวจร่างกายพบว่าสมองทำงานปกติดี และไม่พบความผิดปรกติของร่างกายส่วนอื่น ๆ ที่จะทำให้ปวดศีรษะได้ด้วย
ภภภภภภ  ลักษณะต่าง ๆ ของอาการปวดได้แก่ ตำแหน่ง ความรุนแรง ลักษณะการปวด การดำเนินการของการปวด
ภภภภภภ  อาการที่เกิดร่วมด้วย คลื่นไส้ เวียนหัว
ภภภภภภ  ไม่พบความผิดปกติของการทำงานของสมองหรืออวัยวะต่าง ๆภ ที่อาจก่อให้เกิดอาการปวด เช่น ความคิดอ่านเชื่องช้า มองเห็นภาพซ้อน แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ไข้ ตาแดง ตาโปน มีน้ำมูก กลิ่นเหม็น เป็นต้น
ภภภภภภ  ปัจจัยกระตุ้นอาการปวด เช่น ความเครียด แสงจ้า ๆ อาหารบางชนิด อดนอน
ภภภภภภ  ปัจจัยทุเลาอาการปวด เช่น การนอนหลับ การนวดหนังศีรษะ ยา การกดจุด
ภภภภภภ  นอกจากนี้ แพทย์อาจต้องสอบถามอาการ และตรวจร่างกายผู้ป่วยเพิ่มเติมในกรณีที่จำเป็น เพื่อการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด