วัคซีน มะเร็งปากมดลูก ฉีดวัคซีน มะเร็งปากมดลูก การฉีดวัคซีน มะเร็งปากมดลูก


1,354 ผู้ชม


วัคซีน มะเร็งปากมดลูก ฉีดวัคซีน มะเร็งปากมดลูก การฉีดวัคซีน มะเร็งปากมดลูก

 

วัคซีน มะเร็งปากมดลูก
โดย : ouichon

         มะเร็งปากมดลูก พบมากที่สุดในผู้หญิงไทยช่วงอายุ 30-50 ปี เพื่อสุขภาพที่ดี ควรที่ตรวจเวลาตรวจเช็คสุขภาพช่องคลอดกันด้วยนะคะ เรียกว่า กันไว้ดีกว่าแก้ค่ะ 
วัคซีนมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิงไทย พบได้ในสตรีตั้งแต่วัยสาวจนถึงวัยชรา พบมากในช่วงอายุ 30-50 ปี โดยมีสถิติของผู้เสียชีวิตเฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน มะเร็งปากมดลูกเป็นต้นเหตุทำให้ผู้หญิงทั่วโลกเสียชีวิตมากกว่าปีละ 270,000 คน หรือเฉลี่ยวันละ 650 คน เมื่อเป็นในระยะเริ่มแรกส่วนมากมักไม่มีอาการ แต่สามารถตรวจพบเซลล์ผิดปกติได้ การตรวจหามะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้สามารถตรวจพบเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มต้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา และป้องกันไม่ให้กลายเป็นมะเร็งชนิดลุกลามได้ทันท่วงที และสามารถรักษาให้หายขาดได้ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีแล้วว่ามะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV, Human Papilloma Virus) ชนิดความเสี่ยงสูงที่บริเวณปากมดลูก และหากว่ายังคงมีการติดเชื้อในกลุ่มที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งอยู่ต่อไป จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เซลล์บริเวณชั้นผิวของปากมดลูกเกิดความผิดปกติชนิดรุนแรง และเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย การมีคู่นอนหลายคนหรือมีเพศสัมพันธ์กับชายที่มีคู่นอนหลายคน การรับประทานยาคุมกำเนิดติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 5 ปี จำนวนการตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส หนองใน เริม เป็นต้น การสูบบุหรี่ และขาดการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
 
การรักษามะเร็งปากมดลูก สามารถแบ่งวิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกตามระยะการกระจายของโรคมะเร็งดังนี้ ระยะก่อนมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม สามารถให้การรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การตรวจติดตามอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจภายใน การตรวจทางเซลล์วิทยา และการตรวจด้วยกล้องขยายทุก 4-6 เดือน ซึ่งรอยโรคขั้นต่ำบางชนิดสามารถหายได้เองภายใน 1-2 ปี ภายหลังการตัดเนื้อออกตรวจด้วยวิธีต่างๆ เช่น การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น การจี้ด้วยเลเซอร์ การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด ซึ่งรอยโรคในระยะนี้สามารถรักษาให้หายได้โดยไม่จำเป็นต้องตัดมดลูกออก เพราะมีผลการรักษาไม่แตกต่างกัน ส่วนมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลาม การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง และความพร้อมของโรงพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 บางราย สามารถรักษาได้โดยการตัดมดลูกออกแบบกว้างร่วมกับการเลาะน้ำเหลืองบริเวณเชิงกรานออก ระยะที่ 2 ถึงระยะที่ 4 พิจารณารักษาโดยการฉายรังสีร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
 

ประสิทธิภาพของวัคซีน

  1. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันภาวะเนื้อเยื่อที่เจริญเติบโตผิดปกติที่นำไปสู่มะเร็งปากมดลูกได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงที่ไม่เคยมีประวัติได้ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมาก่อน เนื่องจากการพัฒนาของเนื่อเยื่อที่ผิดปกติไปเป็นมะเร็งนั้นจะต้องใช้เวลาหลายปี ดังนั้นอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่ากว่าจะพบว่าจำนวนการเกิดผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ลดลง
  2. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกจะมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการป้องกันการติดเชื้อฮิวแมนแพบปิลารีไวรัส ถ้าใช้ในกลุ่มคนที่ไม่เคยติดเชื้อฮิวแมนแพบปิลารีไวรัสมาก่อน ที่สำคัญคือวัคซีนไม่สามารถกำจัดเชื้อฮิวแมนแพบปิลารีไวรัส ในกรณีที่มีการติดเชื้อเรื้อรังมาก่อนฉีดได้ ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าระยะเวลาการออกฤทธิ์ของเชื้อฮิวแมนแพบปิลารีไวรัสจะอยู่ได้นานเท่าไรหรือจำเป็นต้องฉีดซ้ำเมื่อไร และบ่อยเท่าไร แต่เท่าที่มีข้อมูลล่าสุดในปัจจุบันรายงานถึงระยะเวลาที่วัคซีนจะออกฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสได้นานอย่างน้อย 3-5 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น ในอนาคตการติดตามผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนอาจจะให้ข้อมูลมากขึ้นว่าภูมิคุ้มกันของการให้วัคซีนจะลดลงเมื่อไรและจำเป็นต้องฉีดซ้ำเมื่อไร
  3. สิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับวัคซีนมะเร็งปากมดลูก ข้อมูลในปัจจุบันคือวัคซีนมะเร็งปากมดลูกนั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ป่วยควรตระหนักว่าวัคซีนช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีเรื้อรัง แต่ไม่สามารถใช้ในการรักษาการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีในคนที่มีการติดเชื้อมาก่อนแล้วได้
  4. ปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าระดับแอนติบอดีย์ควรจะสูงเท่าไร จึงจะป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีบางสาบพันธุ์ได้ แต่สังเกตพบว่าระดับแอนติบอดีย์ในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละครั้งที่ได้รับวัคซีน เนื่องจากระดับแอนติบอดีย์ไม่ลดลงหลังจากหยุดให้วัคซีน ก็น่าจะเป็นได้ว่าการเริ่มต้นด้วยแอนติบอดีย์ระดับสูง จะช่วยป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ยาวนานขึ้นอาจจะเป็นปีหรือหลายสิบปี
  5. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกทั้งสองชนิดคือ Gardasil และ Cervarix มีประสิทธิภาพในกลุ่มผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วอายุ 26 ปีหรือต่ำกว่าและในกลุ่มนี้บางคนอาจเคยติดเชื้อไวรัสเอชพีวีหนึ่งสายพันธุ์หรือมากกว่ามาก่อนแล้ว Gardasil และ Cervarix จะป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีจำเพาะบางสายพันธุ์แต่ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่เคยสัมผัสกับสายพันธุ์เหล่านี้มาก่อน ถ้าหากยิ่งมีจำนวนคู่นอนมากเท่าไหร่โอกาสในการติดเชื้อเชื้อไวรัสเอชพีวีหลายสายพันธุ์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนได้แนะนำให้ผู้หญิงอายุ 18-26 ปีบอกถึงประวัติเพศสัมพันธ์กับแพทย์ เพื่อดูว่าประเมินถึงประโยชน์ที่จะได้จากวัคซีน
  6. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกทั้งสองชนิดคือ Gardasil และ Cervarix ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีความปลอดภัยสูง อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นพบได้น้อยมาก
 

ลักษณะของการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี

  1. ส่วนใหญ่คนที่ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีมักไม่มีอาการผิดปกติ วิธีดั้งเดิมที่จะทราบได้ว่ามีเชื้อไวรัสเอชพีวีหรือไม่ คือทดสอบหาไวรัสโดยตรงจากการตรวจ Pap smear หรือการนำเนื้อเยื่อไปตรวจเพิ่มเติมพร้อมกับการทำ Pap smear วิธีบอกว่าการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งปากมดลูกคือการทำ Pap smear การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีอาจจะปรากฏในช่วงเวลาเป็นสัปดาห์ เดือน หรือปีหลังจากได้รับเชื้อครั้งแรก
  2. การทดสอบเชื้อไวรัสเอชพีวีรุ่นใหม่ๆสามารถค้นหาเชื้อไวรัสเอชพีวีสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงที่สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์มะเร็งปากมดลูก ผู้หญิงอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ควรตรวจทั้ง Pap smear และ HPV test ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การทดสอบเชื้อไวรัสเอชพีวีสามารถช่วยให้เข้าใจผลการตรวจที่ก้ำกึ่งเกี่ยวกับเซลล์ที่ผิดปกติได้ อย่างไรก็ดีถ้าหากการทำ Pap smear ไม่แสดงภาวะความผิดปกติก่อนมะเร็งที่แน่ชัด การทดสอบ HPV ก็อาจจะไม่จำเป็น
  3. การศึกษาปัจจุบันพบว่าการใช้ถุงยางอนามัยเป็นประจำจะช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี แต่เนื่องจากถุงยางอนามัยไม่สามารถปกปิดบริเวณที่เป็นจุดแพร่กระจายของเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ทั้งหมด จึงไม่อาจให้การป้องกันได้เต็มที่ การใช้ถุงยางอนามัย ในบางครั้งอาจจะไม่สามารถป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีได้ ควรตระหนักว่าในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีนั้น ควรจะใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์จนกว่าจะมั่นใจในความสัมพันธ์ ถุงยางอนามัยจะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ เมื่อใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์และใช้อย่างถูกวิธี
  4. ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี โดยปกติร่างกายสามารถกำจัดได้เองก่อนที่เชื้อไวรัสเอชพีวีจะสร้างปัญหาใดๆ มีผู้หญิงเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ติดเชื้อไวรัสเอชพีวีชนิดที่ก่อให้เกิดมะเร็ง แล้วร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้ ทำให้เซลล์บริเวณปากมดลูกเปลี่ยนแปลงและมีโอกาสเปลี่ยนเป็นมะเร็งได้ อย่างไรก็ดีขบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวใช้เวลาประมาณ 10 ปี
  5. ผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงน้อยที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี มีข้อแนะนำให้ตรวจติดตามเฉพาะกรณีที่การตรวจให้ผลการตรวจคลุมเครือเป็นที่น่าสงสัยว่าอาจมีเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ ผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก มีข้อแนะนำให้ตรวจไวรัสเอชพีวีด้วยวิธีที่เรียกว่า "ThinPrep plus HPVhc2" เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มแรกให้ความไวสูงถึงร้อยละ 99-100 จึงจะมั่นใจผลการตรวจได้
  6. ผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป เมื่อมาพบแพทย์เพื่อตรวจมะเร็งปากมดลูกกรุณาแจ้งแพทย์เพื่อขอตรวจ "ThinPrep plus HPVhc2" แพทย์จะเก็บตัวอย่างเซลล์บริเวณปากมดลูก นำใส่ขวดส่งต่อห้องแล็ปเพื่อตรวจหาเซลล์ผิดปกติ และตัวอย่างเซลล์ที่เหลือในขวดน้ำยาสามารถตรวจ HPVhc2 ต่อได้ หากผลการตรวจเป็นลบทั้งคู่ นั่นหมายถึงความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูกน้อยมาก สามารถเว้นระยะการตรวจมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 3 ปี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แพทย์แนะนำให้คุณตรวจสุขภาพอื่นๆ ของสตรีเหมือนเคย ทุกๆ ปี เช่น การตรวจภายใน และการตรวจมะเร็งเต้านม หากผลการตรวจเป็นบวกทั้งคู่หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเป็นบวก ยังไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นมะเร็ง แพทย์จะอธิบายเพิ่มเติม และทำการตรวจหารอยโรคด้วยกล้องส่องขยาย หรือการตัดชิ้นเนื้อบริเวณปากมดลูก เพื่อยืนยันและระบุระดับความรุนแรงของความผิดปกติอย่างละเอียดต่อไป
 
วิธีป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก
 
  1. ผู้หญิงทุกคนต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก และเห็นถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุ 21 ปี ในการค้นหามะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นควรตรวจภายในประจำปี และตรวจเซลล์ปากมดลูก
  2. การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสเอชพีวีโดยการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ควรจ� 


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด