นักเรียนคนหนึ่งกล่าวว่าแคลเซียมฟอสเฟตทำให้กระดูกแข็งแรง - ประโยชน์ของแคลเซียมคาร์บอเนต
"ทุกวัยต้องการแคลเซียม"
เด็ก (1 – 10 ปี ) ควรได้รับ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าปริมาณแคลเซียมในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูกและความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนหรือโรคกระดูกค่อมงอได้ โดยเด็กจะมีอาการเหงื่อออกบริเวณมากเกินไป การนั่ง คลาน เดิน ทำให้ช้า นอนไม่หลับ กระดูกของเด็กที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอเมื่อรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุ เป็นผลให้ขาโก่ง กระดูกซี่โครงโค้งงอ กระดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติ และเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้
วัยรุ่น (11 – 25 ปี ) ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าเราได้รับแคลเซียมตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันที่บริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว
ผู้ใหญ่ ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ถ้าไม่ได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน และประสิทธิภาพในการสร้างวิตามิน D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้นจึงมีแนวโน้มจะเป็นโรคกระดูกพรุน อาจทำให้กระดุกหักได้เนื่องจากแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว และในกรณีที่ร้ายแรงจะก่อผลเสียต่อกระดูกสันหลังกระดูกต้นขาและกระดูกแขนท่อนนอกได้อีกด้วย โดยโรคดังกล่าวจะไม่แสดงอาการใดๆ ให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก ดังนั้นคนในวัยสูงอายุที่มีการเสริมแคลเซียมให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้
หญิงมีครรภ์ ควรได้รับ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลเซียม ถ้าไม่สามารถบริโภคที่ให้ปริมาณแคลเซียมได้เพียงพอต่อทั้งแม่และลูกได้บ่อยครั้งจึงพบว่าหญิงมีครรภ์จะมีอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ที่พบบ่อย คือบริเวณน่อง โดยจะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก อันเป็นผลมาจากการขาดแคลเซียมนั่นเอง นอกจากนี้แคลเซียมยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกของแม่ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุนภายหลังได้
หญิงให้นมบุตร ควรได้รับ 1,500 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน
ผู้ป่วยกระดูกหัก ควรได้รับ 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน
แหล่งที่มาของแคลเซียม
ผลิตภัณฑ์ประเภทนมเป็นหนึ่งในจำนวนแหล่งอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมมากที่สุด เช่น โยเกิร์ต เนยแข็ง นมข้นแข็งหรือนมเปรี้ยว เป็นแหล่งที่อุดมด้วยแคลเซียมที่สำคัญ อีกทั้ง ยังถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ดี การบริโภคอาหารประเภทนม 2 หรือ 3 มื้อ (นมหนึ่งแก้วขนาด 200 มิลลิลิตร เทียบเท่าหนึ่งหน่วยบริโภค), เป็นหลักประกันที่ดีว่าเด็กและผู้ใหญ่ทุกคน จะได้รับปริมาณของแคลเซียมต่อวันที่เพียงพอ
ผักใบเขียว เช่น บอคคอลี ผักโขม กะหล่ำปลี เป็นแหล่งของแคลเซียมที่พบได้ทั่วไปที่สามารถถูกดูดซึมได้ดีในร่างกาย การบริโภคปลา เช่น ปลาซาร์ดีนหรือแซลมอนบรรจุกระป๋อง เป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีเยี่ยม นอกจากนี้ พืชจำพวกถั่ว เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแบน สามารถที่จะให้ประโยชน์แม้ว่าจะมีปริมาณการดูดซึมของแคลเซียมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแหล่งอาหารชนิดอื่น
ส่วนผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม เช่น น้ำส้มคั้น และขนมขบเคี้ยวที่ทำจากธัญพืชต่างๆ ก็นับเป็นแหล่งที่หาง่ายและมีรสชาติ ที่จะช่วยให้คุณได้รับปริมาณแคลเซียมที่มีอยู่ในอาหารมากยิ่งขึ้น
แหล่งที่มา : vcharkarn.com