อาหารสําหรับคนท้อง1-3เดือน อาหารสําหรับคนท้อง 1-3 เดือน เมนูอาหารสําหรับคนท้อง 4


11,136 ผู้ชม


อาหารสําหรับคนท้อง1-3เดือน อาหารสําหรับคนท้อง 1-3 เดือน เมนูอาหารสําหรับคนท้อง 4

อาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

หนึ่งในคำถามยอดฮิตที่คุณแม่มือใหม่มกจะมีคำถามคือ จะรับประทานอาหารอะไรบ้างและปริมาณเท่าไหร่ ถึงจะเรียกได้ว่าเพียงพอต่อคุณและลูกในครรภ์ 
แคลอรี่ ขณะตั้งครรภ์ต้องการแคลอรี่เพิ่มขึ้น 300 กิโลแคลอรี่ต่อวัน คือควรได้รับประทานแคลอรี่ประมาณ 2,500 กิโลแคลอรี่ต่อวัน ถ้าหากได้รับไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงโปรตีนมาใฝช้เป็นพลังงานแทน หากมีการขาดแคลอรี่จะทำให้ทารกมีน้ำหนักน้อยและเติบโตช้า
โปรตีน ขณะตั้งครรภ์ร่างกายต้องการโปรตีนเพิ่มขึ้นเพื่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของอวัยวะทารก รก มดลูก เต้านม และการเพิ่มขึ้นของปริมาณเลือด ในขณะตั้งครรภ์ต้องการโปรตีนเพิ่มเป็น 60 กรัมต่อวัน ส่วนใหญ่โปรตีนที่ได้รับจากนื้อสัตว์ นม ไข่ และปลา อาหารเหล่านี้มีกรดอะมิโนที่เพียงพออยู่แล้ว
แร่ธาตุ โดยทั่วไปถ้ารับประทานอาหารครบ 5 หมู่ และมีปริมาณแคลอรี่พอเพียงสำหรับการเพิ่มน้ำหนักที่เหมาะสมจะไม่เกิดการขาดแร่ธาตุเลยยกเว้นธาตุเหล็กเท่านั้นที่จะเป็นต้องให้เสริมในรูปแบบของยาเม็ดรับประทาน
ธาตุเหล็ก ธาตุเหล็กมีความจำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งจะนำออกซิเจนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมทั้งทารกในครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการธาตุเหล็กประมาณวันละ 30 มิลลิกรัม ซึ่งจะอยู่ในรูปยาเม็ดรับประทาน การดูดซึมเหล็กในทางเดินอาหารจะถูกขัดขวางโดยแคลเซียมและแมกนีเซียม ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานธาตุเหล็กร่วมกับนม ยาลดกรด อย่างไรก็ตามในระยะ 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ถ้ายังมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไม่มีความจำเป็นต้องให้ธาตุเหล็กเสริมเพราะจะทำให้อาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นมากขึ้น
แคลเซียม สตรีมีครรภ์ต้องการแคลเซียมประมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อนำไปใช้สร้างกระดูกทารกในครรภ์ ถ้าดื่มนมได้อย่างเพียงพอแล้ว (วันละ 1 ลิตร) การให้แคลเซียมเสริมก็ไม่มีความจำเป็น
ฟอสฟอรัส มีอยู่ในอาหารที่รับประทานอย่างเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องให้เสริม


สังกะสี แม้ในสตรีมีครรภ์จะมีความต้องการสังกะสีมากกว่าปกติ แต่อาหารที่รับประทานก็น่าจะเพียงพอ การให้สังกะสีเพิ่มสำหรับสตรีมีครรภ์ที่ขาดอาหารจะช่วยเพิ่มน้ำหนักของทารกและขนาดศีรษะของทารก
ไอโอดีน โดยทั่วไปแล้วการรับประทานเกลือที่มีส่วนผสมของไอโอดีนก็เพียงพอสำหรับความต้องการไอโอดีนที่เพิ่มขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ ในรายที่ขาดไอโอดีนอย่างรุนแรง ทารกในครรภ์อาจเสี่ยงต่อภาวะแคระแกรนและมีความผิดปกติของระบบประสาทหลายอย่าง สำหรับการได้ไอโอไดด์หรือรับประทานสาหร่ายทะเลปริมาณมากๆ อาจไปกดการทำงานของต่อมไทรอยด์ของทารกในครรภ์ ทำให้เกิดโรคคอพอกได้
แมกนีเซียม โดยทั่วไปจะไม่ขาดขณะตั้งครรภ์
โปแตสเซียม โดยทั่วไปจะไม่ขาดขณะตั้งครรภ์ ยกเว้นในรายที่สตรีได้รับยาขับปัสสาวะ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นอย่างมาก หรือเป็นนานๆโดยไม่ได้รับเกลือแร่ทดแทน เหตุการณ์เหล่านี้ก็จะขาดโปแตสเซียมได้
โซเดียม การไม่จำกัดอาหารรสเค็มถือว่าได้รับโซเดียมอย่างเพียงพอแล้วสำหรับการตั้งครรภ์
- ฟลูออไรด์ การให้เสริมขณะตั้งครรภ์ยังไม่ทราบคุณค่าที่ชัดเจนและไม่แนะนำ ไม่ช่วยลดอัตราฟันผุในทารกหลังคลอด
แร่ธาตุอื่น ทองแดง เซเลเนียม แมงกานีส โครเมียม ไม่ขาดในสตรีมีครรภ์ ไม่จำเป็นต้องได้รับเสริม
วิตามิน แม้ว่าความต้องการวิตามินจะเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ แต่การรับประทานอาหารอย่างถูกต้องตามปกติจะได้รับวิตามินที่เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องให้วิตามินเสริมยกเว้นกรดโฟลิก
กรดโฟลิก การให้กรดโฟลิกเสริมในระยะแรกของการตั้งครรภ์จะช่วยลดภาวะไขสันหลังเปิด โดยทั่วไปแนะนำให้สตรีมีครรภ์รับประทานกรดโฟลิกประมาณวันละ 400 ไมโครกรัม ในระยะ 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ ส่วนในรายที่มีประวัติบุตรคนก่อนมีภาวะไขสันหลังเปิด เช่นไม่มีกะโหลกศีรษะ แนะนำให้รับประทานกรดโฟลิกวันละ 4 มิลลิกรัม ตั้งแต่ 3 เดือนก่อนการตั้งครรภ์
- วิตามินเอ ไม่ต้องการเพิ่มขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากมีปริมาณเพียงพอในการรับประทานอาหาร ในทางตรงกันข้ามการได้รับวิตามินเอในปริมาณสูง (10,000-50,000 ยูนิตต่อวัน) จะทำให้ทารกมีโอกาสพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 5 เท่า
วิตามิน บี12 โดยทั่วไปจะไม่ขาด ถ้าคนรับประทานเนื้อสัตว์ แต่อาจพิจารณาให้เสริมในรายที่รับประทานมังสาวิรัติ
วิตามิน บี6 โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องให้เสริม แต่อาจมีประโยชน์ในการให้เสริมเพื่อบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ในระยะแรกของการตั้งครรภ์
วิตามินซี แม้ว่าขณะตั้งครรภ์ต้องการวิตามินซีเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ของสตรีไม่ตั้งครรภ์ แต่การรับประทานอาหารปกติก็เพียงพออยู่แล้ว
สรุปข้อแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ ไม่จำกัดอาหารรสเค็ม
  • อาหารที่ควรงด ได้แก่ อาหารรสจัด ของหมักดอง สารเสพติด เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  • รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ
  • ควรดื่มนมวันละ 2-3 แก้ว และรับประทานไข่วันละ 1-2 ฟอง
  • การรับประทานยาหรือวิตามินเสริมไม่มีความจำเป็น ยกเว้นธาตุเหล็กและกรดโฟลิก
  • ในสตรีที่มีรูปร่างปกติ น้ำหนักควรเพิ่มขึ้นตลอดการตั้งครรภ์ประมาณ 11-16 กิโลกรัม โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนที่ 5 ขึ้นไป น้ำหนักควรเพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์


แหล่งที่มา : readybabyguide.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด