อาหารสมุนไพรรักษาโรค ยาสมุนไพรรักษาโรคหอบหืด ยาสมุนไพรรักษาโรคภูมิแพ้


1,111 ผู้ชม


อาหารสมุนไพรรักษาโรค ยาสมุนไพรรักษาโรคหอบหืด ยาสมุนไพรรักษาโรคภูมิแพ้

 

แกงเลียง

 

เครื่องปรุง ปริมาตร / ขนาด น้ำหนัก (กรัม)
ผัก    
ฟักทอง (ปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้น) 1 ถ้วยตวง (17 ชิ้น) 129
  (ขนาดกว้าง 1.5 ยาว 2.5 หนา 1.5 เซนติเมตร)  
ใบแมงลัก 5 ถ้วยตวง 73
ใบตำลึง 3 ถ้วยตวง 81
บวบ (หั่นเฉียง) 1 1/2 ถ้วยตวง (20 ชิ้น) 109
  (ขนาด Ø 3.5 กว้าง 2.5 หนา 2.5 เซนติเมตร)  
เห็ดฟางตูม 24 ชิ้น (12 ดอก) 150
  (ขนาด Ø 2.5 ยาว 3.5 เซนติเมตร)  
น้ำเต้า (หั่นเป็นชิ้น) 1 ถ้วยตวง (10 ชิ้น) 100
  (ขนาดกว้าง 2.3 ยาว 2.5 หนา 1.5 เซนติเมตร)  
ส่วนผสมพริกแกง    
พริกไทยเม็ด ประมาณ 3/4 ช้อนชา (90 เม็ด) 3.5
หัวหอมแดงซอยหยาบ 1/2 ถ้วยตวง 89
กะปิ 1 1/2 ช้อนโต๊ะ 20
กุ้งแห้งป่นอย่างดี 1 ถ้วยตวง 44
น้ำต้มผัก (น้ำซุป) 3 1/4 ถ้วยตวง 774
น้ำ 5 ถ้วยตวง 1188
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ + 1/4 ช้อนชา 17
     
ตำรับนี้รับประทานได้ประมาณ 6 คน

แกงเลียง ประมาณ 400 กรัม

1 หน่วยบริโภค = 230 กรัม

 
 วิธีทำแกงเลียง
 โขลกพริกไทย กะปิ หัวหอม ให้ละเอียด ใส่กุ้งแห้งป่นอย่างดี โขลกรวมกัน
 บวบเหลี่ยมล้างสะอาด ปอกเปลือกหั่นแฉลบ
 ฟักทองปอกเปลือก ฝานไส้ออก ล้างน้ำให้สะอาดหั่นขนาดพอคำ (กว้าง 1.5 หนา 1.5 ยาว 2.5 เซนติเมตร)
 น้ำเต้าปอกเปลือกถ้าเป็นไส้อ่อนไม่ต้องควักไส้ หั่นชิ้นขนาดพอคำ (กว้าง 2.3 ยาว 2.5 หนา 1.5 เซนติเมตร)
  ใบแมงลัก ใบตำลึง ล้างให้สะอาด เด็ดใบแยกไว้
  เห็ดฟางเกลาดินออกให้หมดล้างน้ำหั่นกลางผ่า 2 ซีก
  นำน้ำเปล่า 5 ถ้วยตวง (1188 กรัม) ใส่ภาชนะตั้งไฟให้เดือด นำบวบเหลี่ยม ฟักทอง น้ำเต้า เห้ดฟาง ลวกพอสุกตักขึ้นพักไว้ เวลาที่ใช้ในการลวกผักประมาณ 4, 3, 6, 2 นาทีตามลำดับ (ลวกผักเพื่อให้สีผักยังคงสดสีสวยไม่เป็นสีตายนึ่ง)
  ละลายส่วนผสมพริกแกงกับน้ำลวกผักที่เหลือประมาณ 3 1/2 ถ้วยตวง พอเดือดปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ใบตำลึง ใบแมงลัก พร้อมทั้งผักที่ลวกไว้ทั้งหมด คนให้ทั่วปิดไฟ ยกลงเสิร์ฟขณะร้อนๆ
 รสชาติ
 เค็ม หวานผัก
 สรรพคุณทางยา
     1. พริกไทย รสเผ็ดร้อน ขับลม ขับเหงื่อ ช่วยเจริญอาหาร
     2. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
     3. ผักต่าง ๆ เช่น ฟักทอง รสมันหวาน บำรุงร่างกาย บำรุงสายตา
     4. บวบ รสเย็นจืดออกหวาน มีแคลเซียม เหล็กและฟอสฟอรัสมาก
     5. น้ำเต้า
          - ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร
          - เมล็ด ประเทศจีนนำมาต้มกับเกลือกินเพื่อเจริญอาหาร เถา, ใบอ่อน, เนื้อหุ้มรอบ ๆ เมล็ด ประเทศอินเดียใช้เป็นยาทำให้อาเจียนและยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิและแก้อาการบวมน้ำ
     6. ตำลึง รสเย็น ใบสดตำคั้นน้ำแก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ปวดแสบปวดร้อน และคั้นรับประทานเป็นยาดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง ตาแฉะ
     7. ข้าวโพด รสมันหวาน
          -เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาด สมานบำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
     8. ใบแมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม
 
 หมายเหตุ
 แกงเลียงที่อร่อยมักจะต้องสด ใหม่ จึงจะทำให้น้ำแกงหวานโดยธรรมชาติ และหอมน้ำพริกแกง
  ควรรับประทานขณะร้อนๆ
  แกงเลียงมักจะรับประทานกับน้ำพริกกะปิ
 ประโยชน์ทางอาหาร
  แกงเลียงมีส่วนประกอบพริกขี้หนู หอม พริกไทย กะปิ เกลือ กุ้งแห้ง ผักต่าง ๆ เช่น บวบ ฟักทอง น้ำเต้า ตำลึง ข้าวโพด ใบแมงลัก โบราณเชื่อว่าเป็นอาหารที่ช่วยประสะน้ำนมสำหรับสตรีหลังคลอด ทำให้นมบริบูรณ์ และแก้ไข้หวัดได้เป็นอย่างดี


แหล่งที่มา : samunpri.com

อัพเดทล่าสุด