โรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน อาหารเสริมสำหรับโรคสมองขาดเลือด อาหารสำหรับโรคสมองขาดเลือด


1,058 ผู้ชม


โรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน อาหารเสริมสำหรับโรคสมองขาดเลือด อาหารสำหรับโรคสมองขาดเลือด


โรคเกี่ยวกับระบบประสาท


สมองคนเรานั้นต้องมีเลือดไปเลี้ยง 50 ซีซี / กรัม / นาที เมื่อไรที่เลือดไปเลี้ยงสมองลดต่ำกว่าปกติ เราจะเกิดอาการที่เรียกว่า “โรคสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว” (Transient Ischemic Attack) เป็นอาการเตือนทางสมองที่บอกว่าเส้นเลือดที่เลี้ยงสมองของเรามีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ ต้องรีบมารับการตรวจรักษา เพราะอาจเกิดความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต...


สมองคนเรานั้นต้องมีเลือดไปเลี้ยง 50 ซีซี / กรัม / นาที เมื่อไรที่เลือดไปเลี้ยงสมองลดต่ำกว่าปกติ เราจะเกิดอาการที่เรียกว่า “โรคสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว” (Transient Ischemic Attack) เป็นอาการเตือนทางสมองที่บอกว่าเส้นเลือดที่เลี้ยงสมองของเรามีเลือดไปเลี้ยงไม่พอ เป็นหน้าที่ที่เราต้องรีบมารับการตรวจรักษา เพราะจะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต

จะทราบได้อย่างไรว่ามีอาการของโรคสมองขาดเลือดไปเลี้ยงชั่วคราว

มีอาการแขนขาอ่อนแรง หรือชาบริเวณหน้า แขน ขา ข้างเดียวกันอย่างทันทีทันใด และเป็นๆ หายๆ
พูดไม่ชัด ลิ้นแข็ง ตะกุกตะกัก หรือฟังคนอื่นพูดไม่รู้เรื่อง
มีอาการตามัวข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างอย่างกะทันหัน
ตาพร่าหรือเห็นภาพซ้อน
มึนงง เวียนศีรษะ บ้านหมุน หรือเดินเซ
ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุดังนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองขาดเลือด

ความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง
สูบบุหรี่
โรคหัวใจ
สูงอายุ
การวินิจฉัยและการรักษา

เมื่อท่านมีอาการเตือนแล้วรีบมาพบแพทย์ เพื่อเอกซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์ ถ้าวินิจฉัยในช่วงนี้จะปกติ ซึ่งแสดงว่ายังไม่มีการทำลายของเนื้อสมอง การให้ยาบางอย่างหรือสารซึ่งจะทำให้เกร็ดเลือดไม่จับตัวกันจะทำให้การอุดตันที่มีอยู่ชั่วขณะนั้นสลายไปได้

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง

สมองของคนเราเมื่อไม่ได้รับเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานๆ เซลล์สมองบริเวณนั้นจะตายไป ถ้าเป็นบริเวณที่มาเลี้ยงแขนขา ก็จะทำให้เรายกแขนขาไม่ได้ ถ้าเป็นบริเวณที่ควบคุมเกี่ยวกับการพูด ก็จะทำให้สื่อสารกับผู้อื่นไม่เข้าใจภ

การป้องกันไม่ให้เกิดโรคสมองขาดเลือดไปเลี้ยง

งดบุหรี่
ควบคุมอาหารที่มีไขมัน
รักษาความดันโลหิตสูง หรือโรคเบาหวานอย่างสม่ำเสมอ
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
มารับการตรวจรักษาเมื่อพบปัจจัยเสี่ยง


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด