โรคร้ายอะไรบ้าง ที่มีพบในสัตว์เลี้ยงทั่วไป (เยอะมาก)
ระวัง 5 โรคที่มากับสัตว์เลี้ยง | ||||
ความนิยมชมชอบ ที่จะนำสัตว์มาเลี้ยงในบ้าน ส่วนมากเกิดจากคำตอบเดียวกัน คือรักสัตว์ แต่ถ้าครอบครัวไหนมีเด็กร่วมอยู่ด้วย ก็ยิ่งต้องเพิ่มความปลอดภัย ในเรื่องความสะอาด เพราะสัตว์เลี้ยงน่ารัก ก็สามารถเป็นพาหะตัวนำเชื้อโรคมาสู่คนได้
การป้องกัน - ให้ลูกล้างมือทุกครั้ง เมื่อเล่นหรือสัมผัสกับสัตว์เลี้ยง และไม่ควรให้สุนัขเลียตามใบหน้าหรือบาดแผล - อาจทดสอบสุนัขในบ้านที่คิดว่าจะเป็นโรค ว่าเป็นโรคหรือไม่โดยกักสุนัขเป็นเวลา 10 วัน และสังเกตว่ามีอาการ ซึม ม่านตาขยายตลอด หรือแสดงอาการดุร้าย หรือไม่ - ควรพาสุนัขไปรับวัคซีนพิษสุนัขบ้าตามโปรแกรม (ปีละ 1ครั้ง) โรคพยาธิ พยาธิที่พบคือ พยาธิตัวกลม ซึ่งสามารถส่งผ่านทางรกของสัตว์ ฉะนั้น ถ้าแม่สุนัขมีพยาธิจะติดมายังลูก เมื่อลูกสุนัขถ่ายอุจจาระ ก็จะมีไข่พยาธิหรือตัวพยาธิออกมา และยังพบว่ามีพยาธิปากขอ ที่ร้ายกว่าพยาธิตัวกลม เนื่องจากเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว สามารถผ่านเข้าสู่ผิวหนังได้ พบมากในเด็กๆ อีกเช่นกัน ช่องทางติดโรค เด็กอาจอุ้มหรืออาจจะสัมผัสอุจจาระของสุนัข แล้วหยิบอาหาร ทำให้สามารถติดได้จากทางปาก และในคนที่ไม่ชอบใส่รองเท้า เพราะตามพื้นอาจมีพยาธิปนเปื้อนอยู่ อาการ มีอาการคันตามมือและเท้าโดยไม่ทราบสาเหตุ สิ่งที่ระวังคือ เด็กซึ่งมีภูมิต้านทานต่ำ จะมีอาการรุนแรงเพราะหากตัวอ่อนไปที่อวัยวะส่วนใดของร่างกาย เช่น ถ้าไปที่ปอด จะแสดงอาการระบบทางเดินหายใจ ถ้าไปที่ตับจะมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่น ภาวะดีซ่านหรือโรคตับ
โรคผิวหนัง กลากที่ติดจากสัตว์ได้คือ กลากของแมวหรือในหนู สาเหตุเกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ถือว่าเป็นโรคที่รุนแรง รักษาได้แต่ถึงอย่างไรก็ต้องระวังไว้ก่อน ช่องทางติดโรค เกิดจากการที่เด็กๆ สัมผัสสัตว์เลี้ยง หากไม่มีการดูแลสุขอนามัยที่ดี เช่น ไม่ล้างมือหลังเล่นกับสัตว์เลี้ยง หรือที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงสกปรก ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้ อาการ ผิวหนังที่เป็นกลากจะมีลักษณะวงๆ และขอบหนาตัวขึ้น มีอาการคันร่วมด้วย การป้องกันและดูแล - ไม่ควรให้สัตว์เลี้ยงเลียใบหน้าหรือมือ - หลังการให้อาหารสัตว์เลี้ยงเสร็จ ควรล้างมือทุกครั้ง - ตัดเล็บลูกให้สั้นอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค ตัวเห็บและหมัด หรือแมลงที่เกาะอาศัยและหากินกับสัตว์เลือดอุ่น อย่างสุนัข แมว หนู ก็เป็นต้นเหตุของอาการผื่นคันในเด็ก ดังนั้น การดูแลป้องกันที่ทำได้ คือการดูแลเรื่องสุขอนามัยที่ดีทั้งคนและสัตว์เลี้ยง โรคจากสัตว์เลื้อยคลาน เดี๋ยวนี้สัตว์เลี้ยงประเภทเลื้อยคลาน อย่างเต่า ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากดูแลได้ง่าย ขนาดเล็ก (น่ารัก) ซึ่งที่จริงเต่าก็เป็นพาหะนำเชื้อโรคมาสู่คนได้ เนื่องจากขนาดที่เล็ก เด็กๆ จึงสามารถจับหรือสัมผัส เช่น วางเต่าบนมือ ดังนั้น มือสัมผัสปนเปื้อนอุจจาระเต่า แล้วใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก ความเป็นไปได้ที่เด็กๆ จะรับเชื้อโรคจึงเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะ เมื่อลูกหยอกล้อ เล่นกับสัตว์เลี้ยง คุณพ่อคุณแม่ ต้องสอนถึงความปลอดภัย ระมัดระวังในเรื่องอารมณ์สัตว์เลี้ยง เช่น ไม่ควรให้ลูกแย่งอาหารจากปาก หรือเล่นรุนแรงกับสัตว์เลี้ยงเกินไป เพราะอาจทำให้สัตว์เลี้ยง หงุดหงิดหรือโกรธ กัดหรือข่วนเด็ก เกิดเป็นบาดแผล |
แหล่งที่มา : happybaby.in.th