การทําอาหารสําหรับคนท้อง เมนูอาหารสําหรับคนท้องใกล้คลอด อาหารสําหรับคนท้องแต่ละสัปดาห์
อาหารก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ | | |
|
|
| ในปัจจุบัน แต่ละครอบครัวจะมีลูกก็เพียง 1 หรือ 2 คนเท่านั้น ลูกที่เกิดมาจึงควรมีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อที่จะเป็นที่พึ่งของพ่อและแม่ในการสืบทอดตระกูล หรือสืบทอดธุรกิจต่อไปในภายภาคหน้า ความรู้ในปัจจุบันทำให้ทราบ ว่า ความสมบูรณ์ทั้งของพ่อและแม่ก่อนตั้งครรภ์ มีส่วนที่ทำให้ลูกในครรภ์มีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ก่อนจะเป็นพ่อ ฝ่ายชายจึงควรดูแลสุขภาพของ ตนเองให้ดี ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในทาง ร่างกาย ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้ง ข้าว นม เนื้อสัตว์ ผัก และอาหารทะเล เป็นประจำ และเมื่อมีการพักผ่อนที่เพียงพอร่วมด้วย ก็จะมั่นใจได้ว่า สเปิร์มของฝ่ายชายจะสมบูรณ์อย่างเต็มที่ สำหรับฝ่ายหญิงเพื่อการเตรียมตัวเป็นแม่ที่สมบูรณ์ ควรมีการพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน อาจจะเลือกการว่ายน้ำ หรือการเดินรอบสวน วันละ 1/2 -1 ชั่วโมง ก็จะทำให้ร่างกายและมดลูกแข็งแรง พร้อมที่จะให้เป็นที่อยู่ของลูกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน โดยมีการรับประทานอาหารที่ครบทุกหมู่เช่นกัน โดยเฉพาะผักใบเขียว เช่น คะน้า ควรรับประทานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ผักคะน้ามีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าผักชนิดอื่นตรงที่มี แคลเซียม วิตามินซี กรดโฟลิก และกากใยอาหารสูง โดยเฉพาะกรดโฟลิกนั้น มีความจำเป็นอย่างมากในกรณีที่ไข่ที่ถูกผสมจะมีการสร้างเซลล์ประสาทและเซลล์สมอง ประมาณวันที่ 10 หลังจากนั้น ซึ่ง จำเป็นต้องมีกรดโฟลิกที่เพียงพอ ที่จะทำให้การสร้างนี้สมบูรณ์ โดยระยะที่สร้างระบบสมองและเซลล์ประสาทนี้จะเป็นช่วงที่ฝ่ายหญิงยังไม่รู้ตัวว่าท้อง จึงมักจะไม่ได้รับยาบำรุงครรภ์ การเตรียมพร้อมโดยมีกรดโฟลิกเต็มที่ก่อนการตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นที่สุด ภาพรวมสุขภาพของฝ่ายหญิงก่อนตั้งครรภ์ก็มีส่วนช่วยให้ลูกในครรภ์มีความสมบูรณ์เช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักตัวไม่ควรจะมากไปหรือน้อยเกินไป เพราะในขณะนี้ หุ่นที่เป็นที่นิยมของหญิงสาวนั้นมักจะมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป ในกลุ่มดาราหรือนางแบบที่เราเรียกว่าหุ่นดีนั้น ทางการแพทย์ประเมินแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ขาดอาหาร ซึ่งมีผลเสีย คือ มดลูกมักจะไม่แข็งแรง มีโอกาสแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ง่าย และมีส่วนทำให้ทารกที่คลอดออกมาไม่ค่อยแข็งแรง ในอีกซีกหนึ่ง ถ้ามีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็อาจจะทำให้รังไข่ไม่สมบูรณ์ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีบุตรยากหรือทำให้แท้งลูกในขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ ได้ง่าย จึงควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์พอดีก่อนจะตั้งครรภ์ นอกเหนือจากการรับประทานอาหารให้ครบหมู่อย่างสม่ำเสมอตามที่กล่าวมาข้างต้น ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หญิงมีครรภ์มักจะแพ้ท้องมากบ้าง น้อยบ้างทำให้รับประทานอาหารได้น้อยและอาจไม่ครบทุกชนิด จึงช่วยตอกย้ำอีกครั้งถึงความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องสมบูรณ์ก่อนจะมีครรภ์ และไม่ต้องกังวลว่าทารกในครรภ์จะขาดอาหาร เพราะในช่วง 3 เดือนแรกนั้น ทารกมีความต้องการของสารอาหารไม่มาก แต่ขอให้มีครบทุกชนิด จึงนำสารอาหารที่มาจากตัวแม่ได้ เพราะใช้เพียงเล็กน้อย ในช่วง 3 เดือนแรกนี้ หญิงมีครรภ์จึงควรประคับประคองการรับประทานให้ครบหมู่ไปจนกว่าจะเลิกการแพ้ท้อง โดยที่น้ำหนักตัวอาจจะเพิ่มขึ้นเพียง 1-3 กิโลกรัม ก็ได้ ใน 3 เดือนที่สองหรือการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12-24 นั้น ทารกในครรภ์มีความจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ หญิงมีครรภ์จึงควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบทุกหมู่ เพื่อเป็นการเข้าใจง่าย จึงอยากจะสรุปว่า ในแต่ละวันควรดื่มนมวัวอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนมที่มีกรดโฟลิกสูงก็ได้ ควรมีผัก เนื้อสัตว์ ผลไม้ และข้าว ครบ 3 มื้อ และเมื่อครบสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาประมาณ 5-8 กิโลกรัม ใน 3 เดือนสุดท้ายหรือช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25-40 นั้น เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์ต้องการสารอาหารต่าง ๆ รวมทั้งพลังงานจากอาหารมากที่สุด ช่วงนี้เป็นช่วงการสร้างขนาดตัว จึงมีความจำเป็นที่ทารกจะต้องได้รับ แป้ง โปรตีน และไขมัน ที่มากกว่าช่วง 6 เดือนแรก หญิงมีครรภ์ในช่วงนี้จึงควรเพิ่มปริมาณข้าว เนื้อสัตว์ และน้ำมันจากอาหารมากกว่าปกติ และควรจะเพิ่มการดื่มนมเป็นวันละ 3 แก้วในช่วงสุดท้ายนี้ด้วย เมื่อเพิ่มการรับประทานตามหลักเกณฑ์นี้ ในเดือนที่ 7 และ 8 ควรมีน้ำหนักตัวขึ้นมาประมาณ 3 กิโลกรัม และเดือนที่ 9 ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 4 กิโลกรัม โดยสรุป 3 เดือนสุดท้าย ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า เพื่อความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ จึงควรเตรียมตัวทางด้านสุขภาพของทั้งฝ่ายสามีและภรรยา มีการออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอ ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่มากขึ้นนั้นควรมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวอย่างพอดี ตามระยะเวลาการตั้งครรภ์และตามความต้องการของทารกในครรภ์ เพื่อที่จะให้ทารกที่คลอดออกมาสมบูรณ์พร้อมในทุก ๆ ด้าน. ที่มา : อาหารก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ | <<กลับ | | | | | ในปัจจุบัน แต่ละครอบครัวจะมีลูกก็เพียง 1 หรือ 2 คนเท่านั้น ลูกที่เกิดมาจึงควรมีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อที่จะเป็นที่พึ่งของพ่อและแม่ในการสืบทอดตระกูล หรือสืบทอดธุรกิจต่อไปในภายภาคหน้า ความรู้ในปัจจุบันทำให้ทราบ ว่า ความสมบูรณ์ทั้งของพ่อและแม่ก่อนตั้งครรภ์ มีส่วนที่ทำให้ลูกในครรภ์มีความสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ก่อนจะเป็นพ่อ ฝ่ายชายจึงควรดูแลสุขภาพของ ตนเองให้ดี ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ในทาง ร่างกาย ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมกับการรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครอบคลุมทั้ง ข้าว นม เนื้อสัตว์ ผัก และอาหารทะเล เป็นประจำ และเมื่อมีการพักผ่อนที่เพียงพอร่วมด้วย ก็จะมั่นใจได้ว่า สเปิร์มของฝ่ายชายจะสมบูรณ์อย่างเต็มที่ สำหรับฝ่ายหญิงเพื่อการเตรียมตัวเป็นแม่ที่สมบูรณ์ ควรมีการพักผ่อนและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน อาจจะเลือกการว่ายน้ำ หรือการเดินรอบสวน วันละ 1/2 -1 ชั่วโมง ก็จะทำให้ร่างกายและมดลูกแข็งแรง พร้อมที่จะให้เป็นที่อยู่ของลูกในครรภ์ตลอดการตั้งครรภ์ 9 เดือน โดยมีการรับประทานอาหารที่ครบทุกหมู่เช่นกัน โดยเฉพาะผักใบเขียว เช่น คะน้า ควรรับประทานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ผักคะน้ามีคุณสมบัติที่โดดเด่นกว่าผักชนิดอื่นตรงที่มี แคลเซียม วิตามินซี กรดโฟลิก และกากใยอาหารสูง โดยเฉพาะกรดโฟลิกนั้น มีความจำเป็นอย่างมากในกรณีที่ไข่ที่ถูกผสมจะมีการสร้างเซลล์ประสาทและเซลล์สมอง ประมาณวันที่ 10 หลังจากนั้น ซึ่ง จำเป็นต้องมีกรดโฟลิกที่เพียงพอ ที่จะทำให้การสร้างนี้สมบูรณ์ โดยระยะที่สร้างระบบสมองและเซลล์ประสาทนี้จะเป็นช่วงที่ฝ่ายหญิงยังไม่รู้ตัวว่าท้อง จึงมักจะไม่ได้รับยาบำรุงครรภ์ การเตรียมพร้อมโดยมีกรดโฟลิกเต็มที่ก่อนการตั้งครรภ์จึงมีความจำเป็นที่สุด ภาพรวมสุขภาพของฝ่ายหญิงก่อนตั้งครรภ์ก็มีส่วนช่วยให้ลูกในครรภ์มีความสมบูรณ์เช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องน้ำหนักตัวไม่ควรจะมากไปหรือน้อยเกินไป เพราะในขณะนี้ หุ่นที่เป็นที่นิยมของหญิงสาวนั้นมักจะมีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป ในกลุ่มดาราหรือนางแบบที่เราเรียกว่าหุ่นดีนั้น ทางการแพทย์ประเมินแล้วพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ขาดอาหาร ซึ่งมีผลเสีย คือ มดลูกมักจะไม่แข็งแรง มีโอกาสแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้ง่าย และมีส่วนทำให้ทารกที่คลอดออกมาไม่ค่อยแข็งแรง ในอีกซีกหนึ่ง ถ้ามีน้ำหนักตัวมากเกินไป ก็อาจจะทำให้รังไข่ไม่สมบูรณ์ได้เช่นกัน ซึ่งอาจจะส่งผลให้มีบุตรยากหรือทำให้แท้งลูกในขณะตั้งครรภ์อ่อน ๆ ได้ง่าย จึงควรดูแลน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์พอดีก่อนจะตั้งครรภ์ นอกเหนือจากการรับประทานอาหารให้ครบหมู่อย่างสม่ำเสมอตามที่กล่าวมาข้างต้น ใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หญิงมีครรภ์มักจะแพ้ท้องมากบ้าง น้อยบ้างทำให้รับประทานอาหารได้น้อยและอาจไม่ครบทุกชนิด จึงช่วยตอกย้ำอีกครั้งถึงความจำเป็นที่ร่างกายจะต้องสมบูรณ์ก่อนจะมีครรภ์ และไม่ต้องกังวลว่าทารกในครรภ์จะขาดอาหาร เพราะในช่วง 3 เดือนแรกนั้น ทารกมีความต้องการของสารอาหารไม่มาก แต่ขอให้มีครบทุกชนิด จึงนำสารอาหารที่มาจากตัวแม่ได้ เพราะใช้เพียงเล็กน้อย ในช่วง 3 เดือนแรกนี้ หญิงมีครรภ์จึงควรประคับประคองการรับประทานให้ครบหมู่ไปจนกว่าจะเลิกการแพ้ท้อง โดยที่น้ำหนักตัวอาจจะเพิ่มขึ้นเพียง 1-3 กิโลกรัม ก็ได้ ใน 3 เดือนที่สองหรือการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 12-24 นั้น ทารกในครรภ์มีความจำเป็นต้องได้รับสารอาหารต่าง ๆ มากขึ้น โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ หญิงมีครรภ์จึงควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย ครบทุกหมู่ เพื่อเป็นการเข้าใจง่าย จึงอยากจะสรุปว่า ในแต่ละวันควรดื่มนมวัวอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว โดยไม่จำเป็นต้องเป็นนมที่มีกรดโฟลิกสูงก็ได้ ควรมีผัก เนื้อสัตว์ ผลไม้ และข้าว ครบ 3 มื้อ และเมื่อครบสัปดาห์ที่ 24 ของการตั้งครรภ์ ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาประมาณ 5-8 กิโลกรัม ใน 3 เดือนสุดท้ายหรือช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25-40 นั้น เป็นช่วงที่ทารกในครรภ์ต้องการสารอาหารต่าง ๆ รวมทั้งพลังงานจากอาหารมากที่สุด ช่วงนี้เป็นช่วงการสร้างขนาดตัว จึงมีความจำเป็นที่ทารกจะต้องได้รับ แป้ง โปรตีน และไขมัน ที่มากกว่าช่วง 6 เดือนแรก หญิงมีครรภ์ในช่วงนี้จึงควรเพิ่มปริมาณข้าว เนื้อสัตว์ และน้ำมันจากอาหารมากกว่าปกติ และควรจะเพิ่มการดื่มนมเป็นวันละ 3 แก้วในช่วงสุดท้ายนี้ด้วย เมื่อเพิ่มการรับประทานตามหลักเกณฑ์นี้ ในเดือนที่ 7 และ 8 ควรมีน้ำหนักตัวขึ้นมาประมาณ 3 กิโลกรัม และเดือนที่ 9 ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 4 กิโลกรัม โดยสรุป 3 เดือนสุดท้าย ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม จะเห็นได้ว่า เพื่อความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ จึงควรเตรียมตัวทางด้านสุขภาพของทั้งฝ่ายสามีและภรรยา มีการออกกำลังกาย การพักผ่อนที่เพียงพอ ร่วมกับการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารต่าง ๆ ครบถ้วน โดยเฉพาะในช่วงการตั้งครรภ์ การรับประทานอาหารที่มากขึ้นนั้นควรมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวอย่างพอดี ตามระยะเวลาการตั้งครรภ์และตามความต้องการของทารกในครรภ์ เพื่อที่จะให้ทารกที่คลอดออกมาสมบูรณ์พร้อมในทุก ๆ ด้าน. | | | |
แหล่งที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินัวส์