แชมพูว่านหางจระเข้ น้ําว่านหางจระเข้ ใช้ว่านหางจระเข้รักษาสิว
สูตรและวิธีการทำ
แชมพูสระผมสมุนไพร ว่านหางจระเข้ มะกรูด
ส่วนผสมแชมพูสระผมสมุนไพร ว่านหางจระเข้ มะกรูด
ว่านหางจระเข้ (ต้นสดอายุมากกว่า 1 ปี) ½ ถ้วยตวง
น้ำมะกรูด (ผลสด) ½ กิโลกรัม
เอ บี ซี (หัวแชมพูดชนิดอ่อน) 1 กิโลกรัม
โซเดียมคลอไรด์ (ผงข้น) 300 กรัม
ลาโนลีน (ละลายน้ำ) 100 กรัม
ผงฟอง 100 กรัม
น้ำ 3 ลิตร
กลิ่น (หัวน้ำหอม) 25 ซีซี
ยากันบูด 10 กรัม
วิธีทำแชมพูสระผมสมุนไพร ว่านหางจระเข้ มะกรูด
นำว่านหางจระเข้มาปอกเหลือกออกเอาแต่วุ้นใสๆ ข้างใน และล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดแล้วใสเครื่องปั่น (เติมน้ำเล็กน้อย) ปั่นให้ละเอียดแล้วนำไปต้มให้เดือด แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเอากากออกให้หมด
นำผลมะกรูดมาผ่าครึ่งซีก แล้วใส่หม้อเติมน้ำพอประมาณ (ท่วมมะกรูด) ต้มจนเปลือกมะกรูดนิ่มแล้วนำมาค้นกรองด้วยผ้าขาวบาง เอากากออก
นำผงฟองละลายน้ำ ( 1.5 ลิตร ) คนให้ผงฟองละลายจนหมด
นำว่านหางจระเข้ที่กรองเอากากออกมาผสมกับ น้ำมะกรูด เอ บี ซี (หัวแชมพูดชนิดอ่อน) โซเดียมคลอไรด์ ลาโนลีน น้ำผงฟอง นำมาผสมกันโดยเทใส่ภาชนะแล้วคนให้ละลายเข้ากันและพักไว้
เติมกลิ่น (หัวน้ำหอม) และยากันบูดและกวนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้จนหมดฟอง
บรรจุใส่ภาชะที่เตรียมไว้ พร้อมใช้หรือจำหน่าย
สรรพคุณของว่านหางจระเข้
ชื่อวิทยาศาสตร์: Aloe vera (L.) Burm.f.
ชื่อพ้อง: Aloe barbadensis Mill
ชื่อสามัญ: Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์: Asphodelaceae
ชื่ออื่น: หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: ไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย
ส่วนที่ใช้: ยางในใบ น้ำวุ้น เนื้อวุ้น และเหง้า
วุ้นจากใบสดชโลมบนเส้นผม ทำให้ผมดก เป็นเงางาม และเส้นผมสลวย เพราะวุ้นของว่านหางจระเข้ทำให้รากผมเย็น เป็นการช่วยบำรุงต่อมที่รากผมให้มีสุขภาพดี ผมจึงดกดำเป็นเงางาม นอกจากนั้นแล้ว ยังช่วยรักษาแผลบนหนังศีรษะด้วย
สตรีชาวฟิลิปปินส์ ใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้รวมกับเนื้อในของเมล็ดสะบ้า (เนื้อในของเมล็ดสะบ้ามีสีขาว ส่วนผิวนอกของเมล็ดสะบ้ามีสีน้ำตาลแดง รูปร่างกลมแบนๆ ใช้เป็นที่ตั้งในการเล่นสะบ้า) ต่อเนื้อในเมล็ดสะบ้าประมาณ ? ของผลให้ละเอียด แล้วคลุกรวมกับวุ้น นำไปชโลมผมไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วล้างออก ใช้กับผมร่วง รักษาศีรษะล้าน
รักษาผิวเป็นจุดด่างดำ ผิวด่างดำนี้อาจเกิดขึ้นเนื่องจากอายุมาก หรือถูกแสงแดด หรือเป็นความไวของผิวหนังแต่ละบุคคล ใช้วุ้นทาวันละ 2 ครั้ง หลังจากได้ทำความสะอาดผิวด้วยน้ำสะอาด ต้องมีความอดทนมาก เพราะต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ จึงจะหายจากจุดด่างดำ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ควรใช้วุ้นจากว่านหางจระเข้ทา จะทำให้ผิวหนังมีน้ำ มีนวลขึ้น
รักษาสิว ยับยั้งการติดเชื้อ ช่วยเรียกเนื้อ ช่วยลดความมันบนใบหน้า เพราะในใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆ
โรงพยาบาลรามาธิบดี กำลังลองใช้กับคนไข้ที่เป็นแผล เกิดขึ้นจากนั่งหรือนอนทับนานๆ ( Bed sore )
ปัจจุบันมีเครื่องสำอางที่เตรียมขายในท้องตลาดหลายารูปแบบ เช่น ครีม โลชัน แชมพูและสบู่ สำหรับสาระสำคัญที่สามารถรักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกและอื่นๆ นั้น ได้ค้นพบว่าเป็นสาร glycoprotein มีชื่อว่า Aloctin A เป็น Anti-inflammatory พบในทุกๆ ส่วนของว่านหางจระเข้
ข้อควรระวังในการใช้
อาจมีคนแพ้แต่น้อยมากไม่ถึง 1% (ผลจากการวิจัย) อาการแพ้ เมื่อทาหรือปิดวุ้นลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังแดงเป็นผื่นบางๆ บางครั้งเจ็บแสบ อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากทายา 2-3 นาที ถ้ามีอาการเช่นนี้ ให้รีบล้างออกด้วยน้ำที่สะอาดและเลิกใช้
สรรพคุณของมะกรูด
มะกรูด เป็นพืชในสกุลส้ม (Citrus) มีถิ่นกำเนิดในประเทศลาว อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นิยมใช้ใบมะกรูดและผิวมะกรูดเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปรุงอาหารหลายชนิด นอกจากในประเทศไทยและลาวแล้ว ยังมีความนิยมในกัมพูชา เวียดนาม มาเลเซียและอินโดนีเซีย (โดยเฉพาะบาหลี)
มะกรูด เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก เป็นไม้เนื้อแข็ง ลำต้นและกิ่งมีหนามยาวเล็กน้อย ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ เรียงสลับ รูปไข่ คือมีลักษณะคล้ายกับใบไม้ 2 ใบ ต่อกันอยู่ คอดกิ่วที่กลางใบเป็นตอนๆ มีก้านแผ่ออกใหญ่เท่ากับแผ่นใบ ทำให้เห็นใบเป็น 2 ตอน กว้าง 2.5-4 เซนติเมตร ยาว 4-7 เซนติเมตร ใบสีเขียวแก่พื้นผิวใบเรียบเกลี้ยง เป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมมากเพราะมีต่อมน้ำมันอยู่ ซึ่งผลแบบนี้เรียกว่า hesperitium (ผลแบบส้ม) ใบด้านบนสีเข้ม ใต้ใบสีอ่อน ดอกออกเป็นกระจุก 3 – 5 ดอก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง ร่วงง่าย มีกลิ่นหอม มีผลสีเขียวเข้มคล้ายมะนาวผิวเปลือกนอกขรุขระ ขั้วหัวท้ายของผลเป็นจุก ผลอ่อนมีเป็นสีเขียวแก่ เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด พันธุ์ที่มีผลเล็ก ผิวจะขรุขระน้อยกว่าและไม่มีจุกที่ขั้ว ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
การใช้มะกรูดสระผมน่าจะรู้จักกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ วิธีการสระ บ้างก็ใช้ผลดิบผ่าแล้วบีบน้ำสระโดยตรง บ้างก็นำไปเผาหรือต้มก่อนสระ มะกรูดยังมีใช้ในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งระบุไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือนไว้ ว่าจะต้องมีผลมะกรูดและใบส้มป่อยประกอบในพิธีด้วย เข้าใจว่าน่าจะใช้เพื่อการสระผมนั่นเองและก็สามารถนำไปล้างพื้นได้ด้วย ซึ่งเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งเช่นกัน
น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ไม่ค่อยจะได้ประโยชน์กันมาก ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะหาได้ยากกว่าและได้น้ำน้อยกว่า เพราะมะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกก็นิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้าย ขณะที่มะนาวหาได้ง่ายกว่า น้ำมากกว่าและรสชาติที่ถูกปากมากกว่า อย่างไรก็ตาม มีอาหารบางชนิดที่นิยมใช้น้ำมะกรูดเช่นกัน
นอกจากนั้น ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก มีกลิ่นฉุน ทั้งในใบและผล สามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้
สรรพคุณสมุนไพร บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ
ปัญหาผมบาง รากผมไม่แข็งแรง ผมหลุดร่วงง่าย เป็นรังแค คันศีรษะ เป็นปัญหาที่คุณผู้หญิงและคุณผู้ชายไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แล้วคุณใช้แชมพูอะไรสระผม คุณรู้ไหมว่าแชมพูสระผมที่คุณใช้อยู่นั้นเขาใช้อะไรเป็นส่วนผสมบ้าง แล้วที่เขาโฆษณาว่าเป็น"แชมพูสมุนไพร" หรือ "มีส่วนผสมที่สกัดจากธรรมชาติ" นั้น เชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน แล้วมันเหมาะกับคุณหรือเปล่า ถ้าตอบคำถามนี้ไม่ได้หรือไม่แน่ใจอยากให้คุณอ่านบทความนี้ดูซิ และลองหาโอกาสมาเรียนรู้วิธีทำแชมพูสมุนไพรสูตรที่เหมาะสมกับตัวเราเองกันดีกว่า เผื่อคุณจะได้คำตอบที่ดีกว่าเดิม
ก่อนอื่นควรทราบถึงคุณสมบัติของสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการดูแลหรือบำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ และเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพของเส้นผมและหนังศีรษะของตัวเราเอง ได้แก่
ผลมะกรูด น้ำจากผลมะกรูดจะมีฤทธิ์เป็นกรด ช่วยสลายไขมันและชะล้างสิ่งสกปรกที่เกาะบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ดี (แต่ไม่ควรใช้น้ำมะกรูดชะโลมบนเส้นผมโดยตรงเป็นประจำ เพราะจะทำให้ผมจะเปราะ ขาดง่าย เพราะน้ำมะกรูดเป็นกรดค่อนข้างมาก มีค่าpHประมาณ 3.5)
ผิวมะกรูด น้ำมันจากเปลือกผลมะกรูดมีกลิ่นหอม และช่วยบำรุงให้เส้นผมเป็นเงางาม
ผลมะเฟือง น้ำจากผลมะเฟืองมีฤทธิ์เป็นกรด(ค่อนข้างมาก pH 2.5-3) ช่วยสลายไขมันและชะล้างสิ่งสกปรกที่เกาะบนเส้นผมและหนังศีรษะได้ดี เมื่อนำมาใช้ผสมน้ำสระผมจะช่วยบรรเทาอาการคันศีรษะได้ (แต่ก็ไม่ควรใช้น้ำมะเฟืองชะโลมบนเส้นผมโดยตรงเป็นประจำ เช่นกัน)
ผลมะคำดีควาย น้ำที่สกัดจากผลมะคำดีควาย จะมีคุณสมบัติช่วยลดรังแค รักษาอาการชันนะตุ หนังศีรษะเป็นเชื้อรา แต่การใช้ต้องระวังไม่ให้เข้าตา เพราะจะแสบมาก
ดอกอัญชัน น้ำที่สกัดจากดอกอัญชัน จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต เมื่อนำมาใช้หมักผม ก่อนสระ หรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำ จะช่วยทำให้รากผมแข็งแรงขึ้น เส้นผมไม่หลุดร่วงง่าย
ต้นตะไคร้ น้ำที่สกัดจากต้นตะไคร้เมื่อนำมาใช้หมักผมก่อนสระ หรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการเส้นผมแตกปลาย ลดรังแค
ใบว่านหางจระเข้ เมื่อนำวุ้นใสๆที่ได้จากใบว่านหางจระเข้ มาใช้หมักผมก่อนสระ หรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำ จะช่วยให้ผมนุ่มสลวย หวีง่าย และช่วยรักษาแผลบนหนังศรีษะ
ต้นฟ้าทลายโจร น้ำที่สกัดจากต้นฟ้าทลายโจร(ใบ ต้น ฝัก) จะมีสารยับยังการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิด เมื่อนำมาใช้หมักผมก่อนสระ หรือใช้ผสมกับแชมพูสระผม เมื่อใช้เป็นประจำจะช่วยลดอาการเส้นผมหลุดร่วงง่าย
นอกจากนี้แล้วในประเทศไทยของเรา ยังมีสมุนไพรที่มีคุณสมบัติยอดเยี่ยมอีกหลายชนิด ที่รอให้คุณได้ศึกษาและเลือกใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง
แหล่งที่มา : yesspathailand.com