อาการหลังการผ่าตัดหัวใจ การออกกำลังกายหลังผ่าตัดหัวใจ การรักษาตัวผ่าตัดหัวใจ


1,601 ผู้ชม


อาการหลังการผ่าตัดหัวใจ การออกกำลังกายหลังผ่าตัดหัวใจ การรักษาตัวผ่าตัดหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ จะนำมาใช้กับผู้ป่วยก็ต่อเมื่อผู้ป่วยไม่มีโอกาสดีขึ้นด้วยการรักษาด้วยยา หรือการผ่าตัดอื่นใดแล้ว 

 ถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากหัวใจของผู้ป่วยเหล่านี้มีความเสียหาย ที่เกิดกับกล้ามเนื้อหัวใจค่อนข้างมาก...

 ความสามารถในการบีบตัวน้อยลงมาก มีอาการหัวใจวายบ่อยมาก และเรื้อรัง หัวใจเต้นผิดปกติ ห้องหัวใจขยายใหญ่ ผู้ป่วยเหล่านี้จะทำงานไม่ได้ ออกแรงมากไม่ได้ มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะถึงแก่กรรมอย่างกระทันหัน

ความเป็นมา

  1. การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ คือการผ่าตัดใส่หัวใจใหม่ เข้าไปในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจระยะสุดท้าย เพื่อใช้ทำงานแทนหัวใจเดิม ที่นิยมทำ ในปัจจุบัน คือใช้หัวใจของผู้ที่เสียชีวิตใหม่ๆ นำมาผ่าตัดใส่เข้าไปแทนที่หัวใจเดิมของผู้ป่วย
  2. ทำสำเร็จเป็นครั้งแรก โดย นายแพทย์คริสเตียน เบอร์นาร์ด (Christian Bernard) ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เมื่อปี ค.ศ. 1967 ต่อมาในปี ค.ศ. 1968 มีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป และเอเชีย
  3. การผ่าตัดในระยะแรกๆ ได้ผลไม่ดี เพราะขณะนั้นยังไม่มียากดภูมิคุ้มกันที่ดี จำเป็นต้องใช้ยาพวกสเตียรอยด์ ซึ่งมีผลข้างเคียงมาก ผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนภายใน 1-2 ปี หลังการผ่าตัดการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจจึงซบเซาไประยะหนึ่ง
  4. ต่อมาในปี ค.ศ. 1980 มีผู้ค้นพบยาไซโคลสปอริน ซึ่งเป็นยากดภูมิคุ้มกันที่ดี มีผลข้างเคียงน้อย ทำให้การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจได้ผลดีขึ้น จึงมีการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมากขึ้น
  5. ปัจจุบันถือว่าการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐาน ปีหนึ่งๆ มีผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจประมาณ 3,000 ราย จากศูนย์การแพทย์ทั่วโลกประมาณ 200 แห่ง

ผลการรักษา

  1. การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจในปัจจุบันประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์ดีขึ้น ยากดภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้านน้อยลง การดูแลรักษาหลังผ่าตัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น และจากสถิติของสมาคมผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจนานาชาติ พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมากกว่า 70% จะมีชีวิตอยู่ได้ถึง 10 ปี และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะดำรงชีวิตเหมือนหรือใกล้เคียงคนปกติเลยทีเดียว
  2. เทคโนโลยีขณะนี้ก้าวหน้าไปมาก โดยสามารถช่วยให้คนมีชีวิตอยู่รอดได้มากขึ้น ต่อไปในอนาคตอาจจะนำเอาหัวใจคนละประเภท คือ หัวใจจากสัตว์ เช่น หมู มาใส่ให้มนุษย์ก็ได้ ถ้าสามารถคิดค้นยาเพื่อไปกดสารในร่างกายที่ไปทำลายหัวใจจากคนละประเภทได้ ขณะนี้กำลังศึกษาว่าทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้จะทำให้ลดปัญหาเรื่องหัวใจขาดแคลนได้มาก



แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด