การหมักมังคุด น้ำหมักมังคุด ประโยชน์มังคุด


5,361 ผู้ชม


การหมักมังคุด น้ำหมักมังคุด ประโยชน์มังคุด

 

น้ำหมักมังคุด..พร้อมใช้.

หมักใช้ครั้งแรก...หมักมังคุดปี 53 ระยะเวลาหมัก ประมาณเดือนสิงหาปีที่แล้วเติมมังคุดที่เหลือจากการขายแต่ละวัน กับกากน้ำตาล น้ำหมักปีที่แล้วก็นำไปใช้...




ส่วนที่เหลือ เป็นกาก เอาไปใส่โคนต้นไม้........



ตั้งให้ตกตะกอน ใช้ผ้า ขาวบางกรองเอาแต่น้ำ......


หมักด้วยถัง 200 ลิตร กรองเอาแต่น้ำ.. ... ตอนหมัก เต็มถัง ระยะเวลาการหมัก ประมาณหนึ่


งปี... ได้น้ำหมัก ประมาณ 70 ลิตร



ส่วนที่ได้ .. น้ำหมักกลิ่นจะไม่เหม็น กลิ่นออกแอลกอฮอร์นิด ๆ ..


ประโยชน์ของน้ำหมักมังคุด  จากการหาหาข้อมูลจากหลายๆที่  สรุป สั้น ๆ .Laughing


...ใช้กำจัดเชื้อรา และไล่แมลง ฉีด พ่น รด ราด... เป็นการเพิ่มจุลลินทร์ที่มีประโยชน์ลงในดิน อีกทาง.... 



น้ำหมัก ครบปี อีกถัง.... เป็นการรวม ๆ หลายอย่างไว้ ในที่เดียวกัน.....


น้ำหมักรวม...Smile รับรองค่ะ กลิ่นหอม น่าใช้...



สีและกลิ่น ผ่าน.......


......................................  ใช้อัตรา 5 ลิตร ต่อน้ำ 200 ลิตร กะเอา.มีคำแนะนำยินดีรับฟังนะคะ..... Smile



รวมอีกถัง... ถังนี้เน้น ผลไม้สุก...


.............................................. แต่ ก็ สมรม เหมือนกัน. ใช้ การกะประมาณเหมือนกัน...Laughing



สีและ กลิ่น ผ่านค่ะ.... หมักเอง รับรองเอง จะไม่ผ่านได้งัย อิอิ...Wink


.........................................



น้ำหมักลองกอง .... ตุลา ปีที่แล้ว..


...............


อันนี้ก็น่าผ่าน... Smile



ถังใหญ่ หมักสี่ถัง...ถังสุดท้าย.... เน้น ผลไม้สุก เช่นกัน... เปิดดูเห็นราขึ้น.. คงเป็นราดี..เพราะสีและกลิ่นยังเหมือนกับสามถัง....


แค่มอง ไม่กล้าไปแตะ กลัวราเสีย...ให้เป็นอย่างนี้ไป..



น้ำหมักชีวภาพ ทำง่ายใช้ประโยชน์ได้จริง

จุลินทรีย์เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก อาจพบเกือบทุกหนทุกแห่งในธรรมชาติ ส่วนใหญ่มีคุณประโยชน์ต่อสรรพสิ่งมีชีวิตทั้งมวลในโลก ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จุลินทรีย์เป็นตัวการทำให้เกิดกระบวนการหมัก ผลผลิตที่ได้จากการหมักนั้น ในที่นี้เราขอเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพ


น้ำหมักชีวภาพ คือ การนำเอาพืช ผัก ผลไม้ สัตว์ชนิดต่าง ๆ มาหมักกับน้ำตาลทำให้เกิดจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์จำนวนมากซึ่งจุลินทรีย์เหล่านี้จะไปช่วยสลายธาตุอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในพืช มีคุณค่าในแง่ของธาตุอาหารพืชเมื่อถูกย่อยสลายโดยกระบวนการย่อยสลายของแบคทีเรียหรือจุลินทรีย์สารต่างๆจะถูกปลดปล่อยออกมา เช่นโปรตีน กรดอะมิโน กรดอินทรีย์ ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง จุลธาตุ ฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต เอนไซม์ วิตามิน ซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ น้ำหมักชีวภาพ มี 3 ประเภท คือ
             1. น้ำหมักชีวภาพจากพืชสดสีเขียว (น้ำแม่)
             2. น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้สุก (น้ำพ่อ)
             3. สารขับไล่แมลง (น้ำหมักจากพืชสมุนไพร)


        น้ำหมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ อีกทางเลือกของเกษตรกร สำหรับใช้ในการป้องกัน กำจัดศัตรูพืชโดยไม่ต้องใช้สารเคมีวิธีทำน้ำหมักชีวภาพ อย่างง่ายๆ ท่านสามารถทำเองได้ สบายมาก


น้ำหมักชีวภาพ มี ประเภท คือ 
1. น้ำหมักชีวภาพจากพืช ทำได้โดยการนำเศษพืชสด ผสมกันน้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล อัตราส่วน กากน้ำตาล 1 ส่วน พืชผัก 3 ส่วน หมักรวมกันในถังปิดฝา หมักทิ้งไว้ประมาณ 3-7 วัน เราจะได้ของเหลวข้น ๆ สีน้ำตาล ซึ่งเราเรียกว่า น้ำหมักชีวภาพจากพืช
2. น้ำหมักชีวภาพจากสัตว์ มีขั้นตอนทำคล้ายกับน้ำหมักจากพืช แตกต่างกันตรงวัตถุดิบจากสัตว์ เช่น หัวปลา ก้างปลา หอยเชอรี่ เป็นต้น

 

เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี 
1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติก หรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้ จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิท รอการใช้งานต่อไป
2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่าง ๆ ขึ้น เช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น 
3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลาย
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ
 
ด้านการเกษตร
1. ช่วยปรับสภาพความเป็นกรด - ด่าง ในดินและน้ำ
2. ช่วยปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ร่วนซุย อุ้มน้ำและอากาศได้ดียิ่งขึ้น
3. ช่วยย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นธาตุอาหารแก่พืช พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้เลย โดยไม่ต้องใช้พลังงานมากเหมือนการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์
4. ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของพืชให้สมบูรณ์ แข็งแรงตามธรรมชาติ ต้านทานโรคและแมลง
5. ช่วยสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้ผลผลิตสูง และคุณภาพของผลผลิตดีขึ้น
6. ช่วยให้ผลผลิตคงทน เก็บรักษาไว้ได้นาน


        การทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น.


แหล่งที่มา : bansuanporpeang.com

อัพเดทล่าสุด