โรคไข้เลือดออก วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออก สาเหตุของโรคไข้เลือดออก


1,016 ผู้ชม


โรคไข้เลือดออก วิธีป้องกันโรคไข้เลือดออก การป้องกันโรคไข้เลือดออก สาเหตุของโรคไข้เลือดออก

ที่มาของเชื้ออีโบล่า

           เชื้ออีโบล่าเป็นเชื้อไข้เลือดออกที่พบในทวีปแอฟริก
า รู้จักเมื่อมีการระบาดครั้งแรกที่ประเทศซาอีร์ และเชื้อที่มีลักษณะคุณสมบัติคล้ายเชื้ออีโบล่าจัดอยู่ในสกุลไฟโลไวรัสนี้ เคยรู้จักมาก่อนตั้งแต่ปีพ.ศ.2510 โดยพบว่าผู้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเลี้ยงลิง ฆ่าลิงเพื่อนำไตลิงมาใช้เป็นเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการไวรัส  ที่เมืองมาร์บวร์ก, แฟรงก์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี และเมืองเบลเกรด ประเทศยูโกสลาเวีย (ปัจจุบันคือประเทศเซอเบีย) ล้มป่วยมีอาการไข้เลือดออกในเวลาใกล้เคียงกัน รวมผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากลิง 25 คน และมีผู้ใกล้ชิดติดเชื้อจากผู้ป่วยอีก 6 คน การติดเชื้อเข้าใจว่าเกิดจากสัมผัสกับเลือดและเนื้อเยื่อของลิพันธุ์แอฟริกาเขียว (African green monkeys) ที่สั่งซื้อมาจากประเทศยูกันตา ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากลิงอัตราตายร้อยละ 28 เชื้อที่แยกได้นี้จึงเรียกว่า เชื้อมาร์บวร์ก (Marburg virus)

          ในปี พ.ศ.2518 พบในนักท่องเที่ยว 1 รายที่ได้รับเชื้อมาร์บวร์กจากประเทศซิมบับเว ผู้ป่วยเสียชีวิต และแพร่เชื้อให้กับเพื่อนและพยาบาลที่ดูแล
          ในปี พ.ศ.2519 มีรายงานโรคระบาดไข้เลือดออกจากเชื้ออีโบล่าในโรงพยาบาล ประเทศซาอีร์ มีผู้ป่วย 277 คน อัตราตายเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ การติดเชื้อเกิดในโรงพยาบาลโดยใช้เข็มฉีดยาและเครื่องมือที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อในปีเดียวกันพบการระบาดในประเทศซูดาน ผู้ป่วยรายแรกพบทำงานในโรงงานทำฝ้าย พบผู้ป่วย 280 คน อัตราตายร้อยละ 53 การติดต่อพบในโรงพยาบาลและการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว
          ในปี พ.ศ.2520 มีรายงานผู้ป่วยเด็ก 1 รายในซาอีร์ ตายด้วยโรคไข้เลือดออกอีโบล่า สายพันธุ์ซาอีร์
          ในปี พ.ศ.2522 มีรายงานระบาดในประเทศซูดาน เริ่มจากโรงงานทอฝ้ายเดิม พบผู้ป่วย 34 คน อัตราตายร้อยละ 65
          ในปี พ.ศ.2523 วิศวกรชาวฝรั่งเศสตายด้วยโรคไข้เลือดออกจากเชื้อมาร์บวร์กที่ประเทศ เคนยา และหมอที่ดูแลติดเชื้อ แต่ไม่ตาย
          ในปี พ.ศ.2530 พบผู้ป่วย 1 ราย เป็นชาวเดนมาร์ก ติดเชื้อมาร์บวร์กหลังไปเยี่ยมบิดามารดาที่ประเทศเคนยา ผู้ป่วยเสียชีวิต
          ในปี พ.ศ.2532 พบเชื้ออีโบล่าสายพันธุ์ใหม่ในลิงที่ส่งไปเลี้ยงเพื่อทดลองที่เมืองเวสตัน รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ลิงที่ป่วยเป็นโรคนี้เป็นลิงพันธุ์ไซโนมอลกัส มาเคกส์ (cynomolgus macaques) ที่สั่งซื้อจากประเทศฟิลิปปินส์ พบเชื้อไวรัสอีโบล่าในเซลล์เพาะเลี้ยงที่แยกเชื้อจากลิง แต่มีลักษณะแอนติเจนต่างจากที่พบในประเทศซาอีร์และซูดาน
          การระบาดครั้งนี้แพร่ไปยังห้องต่าง ๆ ที่เลี้ยงลิง ลิงตายจำนวนมาก ทางติดต่อในลิง ไม่ทราบแน่ชัด อาจติดมาก่อน หรือติดโดยการใช้หลอดฉีดยา ทดสอบทูเบอร์คูลินที่เปลี่ยนเข็ม เมื่อฉีดลิงแต่ละตัว แต่ไม่ได้เปลี่ยนหลอดฉีดยาหรือติดทางอื่น
          อย่างไรก็ตาม ในการสั่งลิงอีกหลายครั้งต่อมาจากฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ.2533 พบลิงตายโดยเชื้ออีโบล่าอีก และตรวจพบแอนติบอดีในซีรั่มลิงที่ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และพบในซีรั่มคนที่ดูแลจับและเลี้ยงลิงเหล่านี้ด้วย

          ลิงที่ป่วยมีอาการน้ำมูกไหลและพบเชื้อได้ในสารคัดหลั่ง จากทางเดินหายใจ จึงคาดว่าการติดต่อจากลิงไปยังลิง หรือลิงมายังคนสามารถติดต่อได้ทางละอองฝอย ต่างจากที่พบในการติดต่อของเชื้อมาร์บวร์กหรืออีโบล่า ที่ติดต่อโดยการสัมผัส กับเลือดหรือสารคัดหลั่งเนื่องจากการระบาดของอีโบล่าสายพันธุ์เรสตันในลิง ตึกที่ทำการเลี้ยงลิงจึงถูกสั่งปิดทำลายเชื้อ และปล่อยเป็นตึกร้าง ในเวลานี้การระบาดครั้งนี้ไม่พบการติดต่อทำให้เกิดโรคในคน แต่จากการตรวจเลือดในผู้ดูแลใกล้ชิดกับลิงพบว่ามีแอนติบอดี แสดงว่ามีการติดเชื้อมาสู่คนได้


แหล่งที่มา : vcharkarn.com , มูลนิธิหมอชาวบ้าน

อัพเดทล่าสุด