โรคไอพีดี วัคซีนไอพีดีคืออะไร การฉีดวัคซีนไอพีดี วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี


1,531 ผู้ชม


โรคไอพีดี วัคซีนไอพีดีคืออะไร การฉีดวัคซีนไอพีดี วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี

 
โรค ไอพีดี (IPD - Invasive Pneumococcal Disease - อินเวซิฟ นิวโมคอคคัล ดีซีส)

"ภาวะโรคไอพีดี" คือ การติดเชื้อแบคทีเรีย "นิวโมคอคคัส" อย่างรุนแรง 
กลุ่มเสี่ยง : 
- โดยเฉพาะ ทารก / เด็กเล็กทั่วไป ที่อาศัยอยู่ในต่างประเทศ (ระมัดระวังเป็นพิเศษ)
- โดยเฉพาะ ทารก / เด็กเล็กทั่วไป ที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็ก / อยู่ร่วมกับผู้ใหญ่ที่สูบบุหรี่ / ไม่ได้ดื่ม "น้ำนมแม่" อย่างเพียงพอกับช่วงวัย
- โดยเฉพาะ ทารก / เด็กเล็ก ที่มีความบกพร่องของ "ม้าม" / เป็นธาลัสซีเมีย / มีเชื้อ HIV / โรคหัวใจ / โรคปอด / โรคไต / โรคเบาหวาน / โรคภูมิแพ้ และโรคเรื้อรังต่างๆ
- พบบ้างในผู้ใหญ่ทุกเพศ ทุกวัย (ไม่แสดงอาการ แต่เป็น "พาหนะ" ที่สามารถแพร่เชื้อได้) โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ จะรับเชื้อได้ง่าย เช่น ถุงลมโป่งพอง 
ชื่อแบคทีเรีย : Streptococcus Pneumoniae Spneumoniae ("สเตรปโตคอคคัสนิวโมเนียอี" หรือที่รู้จักกันในชื่อ"นิวโมคอคคัส" Pneumococcus) จำนวน 90 สายพันธุ์ 


ช่องทางติดเชื้อ : การสัมผัสโดยตรงกับ น้ำมูก, น้ำลาย และลมหายใจ และการไอ จาม ของผู้ป่วย 
สถานที่เสี่ยง ที่อาจพบ : การคลุกคลีในสถานรับเลี้ยงเด็ก / โรงเรียนอนุบาลและประถม 
อาการ : (ลักษณะอาการจะคล้ายคลึงกับ "โรคไข้สมองอักเสบ" ซึ่งเกิดจากไวรัส) 
          - (อาการจะสังเกตค่อนข้างยาก คล้ายไข้หวัดธรรมดา)
          - (ในเด็กทารก) ให้สังเกตอาการมีไข้สูง งอแง เซื่องซึม ไม่ยอมกินนม
          - หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก ปวดรูหู
          - ปวดศีรษะรุนแรง / คลื่นไส้อาเจียน 
อาการแทรกซ้อน : 
          - มีภาวะการติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบนถึงส่วนล่าง (โพรงจมูกอักเสบ ไซนัสอักเสบ หายใจหอบ และปอดอักเสบ)
          - มีภาวะการติดเชื้อในระบบประสาท (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เกร็งและชัก)
          - มีภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือด และที่กระดูก
          - พิการทางระบบประสาท สมอง จนปัญญาอ่อน
          - พิการทางระบบการได้ยิน
          - เชื้อจะลุกลามอย่างรวดเร็ว และเสียชีวิตภายใน 3 วัน 
การปฐมพยาบาลในขั้นต้น (สามารถรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้) : 
          - ปกป้องตัวเอง โดยใช้ผ้าเช็ดหน้าปิด หรือใช้ "สายคาด" ปิดปาก
          - งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพย์ติด
          - ดื่มน้ำให้มาก / เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น เพื่อให้ไข้ลดลง
          - ระมัดระวังการไอ จาม หรือการสำลัก (เพราะเชื้อจะแทรกซึมเข้าสู่ "ปอด")
          - พบหน่วยแพทย์ระดับ "โรงพยาบาลใหญ่ประจำจังหวัด" ขึ้นไป 

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด