เจ็บหัวนมเพราะอะไร เจ็บหัวนมตอน 34 สัปดาห์ เจ็บหัวนมไข่ตก


1,361 ผู้ชม


เจ็บหัวนมเพราะอะไร เจ็บหัวนมตอน 34 สัปดาห์ เจ็บหัวนมไข่ตก

 

 

 

คำถาม และคำตอบที่พบบ่อยในคลินิกเฉพาะโรคโรคเต้านม
ห้องตรวจศัลยกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2552 - 2553
คำถามที่ 1 : โรคมะเร็งเต้านมมีสาเหตุจากอะไร
คำตอบ : สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบ แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้แก่ ผู้หญิงอายุ 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่งมาก่อน เคยผ่าตัดก้อนเนื้องอกที่หน้าอกมาก่อน เคยเป็นมะเร็งมดลูก ไม่เคยมีบุตร ตั้งครรภ์แรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี เคยรักษาด้วยฮอร์โมนมากกว่า 10-15 ปี รับประทานอาหารไขมันสูง หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาก มีความเครียดสูง คนอ้วน ไม่ออกกำลังกาย อยู่ท่ามกลางเชื้อโรค รังสี หรือสารเคมีต่างๆ
คำถามที่ 2 : อาการของโรคมะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง
คำตอบ : คลำพบก้อนที่เต้านมหรือรักแร้ หัวนมมีเลือดหรือน้ำเหลือง หัวนมบุ๋ม ผิวเต้านมมีรอยย่นบุ๋ม ผิวเต้านมมีลักษณะคล้ายผิวส้มหนาผิดปกติ เต้านมมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง มีขนาดใหญ่ขึ้น มีแผลเรื้อรัง คันบริเวณหัวนมหรือหัวนมแดงผิดปกติ

คำถามที่ 3 : คนที่เป็น Cyst ที่เต้านมมาก่อนจะกลายเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
คำตอบ : Cyst ที่เต้านมเป็นอาการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงภายในเต้านมผู้หญิงที่มีอายุมากขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ใช่มะเร็ง และไม่ค่อยจะกลายเป็นมะเร็ง ซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนเอสโตรเจน ก่อนมีประจำเดือนจะมีอาการเต้านมคัดตึง เจ็บ คลำได้ก้อนไม่เรียบ ขอบเขตไม่ชัดเจน หลังมีประจำเดือนอาการจะหายไปหรือก้อนเล็กลงคนที่เป็น cyst ควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน เพื่อสังเกตและประเมินว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติมากขึ้นจากเดิมหรือไม่ แล้วก็ควรจะมาตรวจตามแพทย์นัดแต่ถ้าตรวจพบสิ่งผิดปกติควรจะรีบมาพบแพทย์ก่อนถึงวันนัด
คำถามที่ 4 : อาการเจ็บจี๊ดๆ ที่เต้านมจะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
คำตอบ : อาการของโรคมะเร็งเต้านมระยะแรกๆ จะไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้าเจ็บปวดส่วนใหญ่ก้อนจะโตมาก และมักจะเป็นระยะท้ายๆ ของโรคมะเร็งเต้านม อาการเจ็บจี๊ดๆอย่างเดียวโดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วย มักจะไม่ใช่อาการของมะเร็งเต้านมเพื่อความมั่นใจมากขึ้นควรได้รับการตรวจเต้านมโดยแพทย์เฉพาะโรคเต้านม และอาจจะต้องเอกซเรย์เต้านม เพื่อค้นหาว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน ถ้าตรวจพบสิ่งผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์
คำถามที่ 5 : โรคมะเร็งเต้านมถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้หรือไม่
คำตอบ : มีโรคมะเร็งเต้านมอยู่กลุ่มหนึ่งที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ ซึ่งจะมีลักษณะดังนี้คือเป็นมะเร็งตั้งแต่อายุน้อย มักเป็นสองข้าง และมักจะมีมะเร็งอย่างอื่นร่วมด้วย เช่นมะเร็งรังไข่ และลำไส้ใหญ่ ส่วนใหญ่มะเร็งเต้านมที่เป็นกรรมพันธุ์มักเป็นก่อนอายุ 65 ปี
คำถามที่ 6 : เราจะป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างไร
คำตอบ : เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดมะเร็งเต้านม การป้องกันที่ดีที่สุดคือการค้นพบโรคให้เร็วที่สุด ซึ่งจะทำให้การรักษาได้ผลดีและหายขาดได้ การค้นพบโรคให้เร็วที่สุดก็คือ การตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี ถ้าพบสิ่งผิดปกติให้รีบมาพบแพทย์ และเอกซเรย์เต้านมตามแพทย์แนะนำ ตามช่วงอายุ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้ เช่น ลดอาหารไขมันสูง งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ~4 ชั่วโมง/สัปดาห์ ขจัดความเครียดอย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี ตรวจเต้านมด้วยตัวเองทุกเดือน เป็นต้น
คำถามที่ 7 : ผู้หญิงอายุเท่าใดที่เป็นโรคมะเร็งเต้านมกันมาก
คำตอบ : ช่วงอายุ 45-55 ปี
คำถามที่ 8 : อาการน้ำหนักลด เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เป็นอาการของมะเร็งเต้านมระยะแรกหรือไม่
คำตอบ : ใช่ ส่วนใหญ่อาการมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยคือ ตรวจพบก้อนที่เต้านม
คำถามที่ 9 : อาหารการกินทำให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่
คำตอบ : อาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน มีไขมันสูง อาหารแบบตะวันตก เช่น สเต็ก แฮมเบอร์เกอร์ฮอทด็อก แอลกอฮอล์ ทำให้ผู้ที่บริโภคเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมมากขึ้น
คำถามที่ 10 : อาหารอะไรบ้างที่ต้านโรคมะเร็งเต้านม
คำตอบ : อาหารที่อาจจะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม เช่น ถั่วเหลือง ผักที่มีแคโรทีนสูง เช่น แครอท มะเขือเทศ ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง เป็นต้น
คำถามที่ 11 : ขณะให้ยาเคมีบำบัดมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่
คำตอบ : มีเพศสัมพันธ์ได้ แต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ควรคุมกำเนิดตลอดระยะให้ยาเคมีบำบัดเพราะอาจตั้งครรภ์ซึ่งระยะให้ยาเคมีบำบัดจะทำให้เด็กในครรภ์พิการ และโรคจะรุนแรงขึ้นได้
คำถามที่ 12 : การให้เคมีบำบัดผมจะร่วงทุกคนหรือไม่
คำตอบ : ส่วนใหญ่เกือบทุกคนผมจะร่วง แต่หลังให้ยาครบและหยุดยาเคมีบำบัดประมาณ2-3 เดือน ผมจะงอกใหม่ บางคนสวยกว่าเดิม
คำถามที่ 13 : การฉายแสงจะทำให้อายุสั้นลงใช่หรือไม่
คำตอบ : วัตถุประสงค์ของการฉายแสงคือเพื่อลดความทรมานจากโรคช่วยยืดชีวิตและ ป้องกันการเกิดโรคซ้ำแต่คนที่เสียชีวิตอาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนอย่างอื่น และภาวะโรคอาจจะเป็นมากแล้ว
คำถามที่ 14 : การให้ยาเคมีบำบัดจะมีอาการแพ้ทุกรายใช่หรือไม่
คำตอบ : การให้ยาเคมีบำบัดยาจะมีผลทั่วร่างกาย แต่ละคนจะมีอาการมากน้อยต่างกันได้ขึ้นอยู่กับความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจของแต่ละบุคคล ยาเคมีบำบัดจะมีผลที่เซลล์มะเร็ง ขณะเดียวกันก็มีผลที่เซลล์ปกติด้วยจึงทำให้ผู้ป่วยทุกคนมีอาการไม่สุขสบายจากผลข้างเคียงของยาด้วย ก่อนตัดสินใจรับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด แพทย์และพยาบาลจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวการรักษา การปฏิบัติตัว และการดูแลตนเองทุกขั้นตอน เพื่อลดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
คำถามที่ 15 : การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านม แพทย์จะผ่าตัดเต้านมออกหมดใช่หรือไม่
คำตอบ : การผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีทั้งแบบผ่าตัดเฉพาะก้อนมะเร็ง และเนื้อดีบางส่วนออก หรือผ่าตัดเต้านมออกหมด และเลาะต่อมน้ำเหลืองรักแร้ออก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายๆ ไป โดยแพทย์จะอธิบายให้ข้อมูลก่อนผู้ป่วยตัดสินใจเลือกวิธีการรักษา แพทย์เสนอวิธีการรักษาที่ดีที่สุดให้ผู้ป่วยเลือกตัดสินใจ และแพทย์จะทำการรักษาได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยยินยอมเท่านั้น
คำถามที่ 16 : การวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านมทำอย่างไรบ้าง
คำตอบ : แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้นั้น มีวิธีการช่วยในการวินิจฉัยหลายวิธี ซึ่งแพทย์มักจะใช้หลายวิธีประกอบกัน เช่น
การซักประวัติท่านว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมหรือไม่
การตรวจร่างกายโดยการคลำขนาดก้อน และลักษณะก้อนเต้านม
การเอกซเรย์เต้านมโดยการอัลตราซาวด์ และแมมโมแกรม
การใช้เข็มเจาะเซลล์ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา
การผ่าตัดเอาตัวอย่างชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา หลังตรวจแพทย์จะนัดมาฟังผล
คำถามที่ 17 : ถ้ายังไม่ถึงวันนัด แต่รู้สึกไม่สบายใจ ไม่มั่นใจว่ามีอาการผิดปกติหรือไม่ จะมาพบแพทย์ก่อนวันนัดได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ การตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนเป็นประจำจะทำให้คุ้นเคยกับเต้านมตนเองและสามารถค้นพบความผิดปกติได้ง่าย และถ้าพบสิ่งผิดปกติควรรีบมาพบแพทย์ก่อนถึงวันนัด
*** ที่ปรึกษา ผศ.นพ. ดำเนิน วชิโรดม อาจารย์ภาควิชาศัลยศาสตร์

รวบรวมโดย นางคณิตา ชาดี พยาบาลชำนาญการห้องตรวจศัลยกรรม ***

ที่ปรึกษาทางการพยาบาล...

คุณมาสินี ไพบูลย์ หัวหน้าหน่วยผู้ป่วยนอก 2

คุณยมุนา สุ่มมาตย์ ผู้ตรวจการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก

แหล่งที่มา : gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด