อาการมะเร็งตับระยะแรก มะเร็งตับระยะสุดท้ายอยู่ได้นานแค่ไหน อาหารสําหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ
มะเร็งตับ (liver cancer)
เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน คนที่มีไวรัสตับอักเสบมาก่อน...
มะเร็งตับ (liver cancer) เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง และเป็นมะเร็งที่มีการดำเนินโรคเร็วมาก มักจะเสียชีวิตใน 3 -6 เดือน คนที่มีไวรัสตับอักเสบมาก่อน เช่น ไวรัสตับอักเสบชนิดบี ไวรัสตับอักเสบชนิดซี เป็นมาระยะหนึ่งจะเป็นตับแข็ง และพัฒนาเป็นมะเร็งได้ คนที่ดื่มสุรา การกินอาหารที่มีอัลฟาท๊อกซินบ่อยๆ วิธีการที่จะติด อาจจะเกิดจากการคลอด การได้รับเลือด การร่วมเพศ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
ตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ในการจัดการกับสารอาหารที่ดูดซึมเข้าจากลำไส้ สร้างสารต่างๆ เช่น สารประกอบที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน การแข็งตัวของเลือด และทำลายสารพิษที่รับประทานเข้าไป
ประเภทของมะเร็งตับ
- ชนิดที่เกิดกับตับโดยตรง (มะเร็งปฐมภูมิ) ในประเทศไทยพบมากมี 2 ชนิดคือ
- มะเร็งชนิดเซลล์ตับ เป็นมะเร็งที่พบได้ทั่วทุกภาค
- มะเร็งชนิดเซลล์ท่อน้ำดี เป็นมะเร็งที่พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ชนิดที่ลุกลามมาจากมะเร็งของอวัยวะอื่น (มะเร็งทุติยภูมิ) เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ และทวารหนักที่กระจายไปยังตับ
ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งตับ
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี จะพบในอัตรา 0.4–0.6 % ของผู้ป่วยดังกล่าว
- ผู้ป่วยที่เป็นโรคไวรัสตับอักเสบซี
- ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง ที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส จากการใช้ยา จากการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จากธาตุเหล็กและแคลเซี่ยม
- ผู้ป่วยที่ได้รับสารอะฟลาทอกซิน
- ผู้ป่วยที่มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งตับ หรือโรคไวรัสตับอักเสบบี
- อัตราเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งตับ เฉลี่ยระหว่างผู้ชายและผู้หญิงคือ 4.6 : 1 คือพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง
- ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบี พยาธิใบไม้ในตับ สารเคมีต่างๆ ยารักษาโรคบางชนิด ยาฆ่าแมลง สารพิษที่เกิดจากเชื้อรา สารเคมีที่เกิด จากอาหารหมักดอง สุรา ฯลฯ ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะทางระบบอิมมูน คุณสมบัติ ทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุช่วยในการเกิดโรค
อาการ
- เบื่ออาหาร แน่นท้อง ท้องผูก
- อ่อนเพลีย น้ำหนักลด และมีไข้ต่ำๆ
- ปวด หรือเสียดชายโครงด้านขวา อาจคลำก้อนได้
- ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโตและบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง
- มะเร็งที่มีขนาดเล็ก หรือมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ผู้ป่วยในระยะนี้มักจะไม่มีอาการทางกายที่ชัดเจนมากนัก อาจเรียกว่าไม่มีอาการเลยก็ว่าได้ แต่เมื่อก้อนมะเร็งโตขึ้นแล้ว อาจส่งผลแสดงอาการต่างๆ ได้เช่น ปวด แน่นท้องบริเวณด้านขวาบน หรือหากเป็นก้อนตรงตับกลีบซ้าย อาจมีอาการบริเวณลิ้นปี่ อาจมีอาการเหม็นเบื่ออาหาร ทานไม่ค่อยได้ ซึ่งส่งผลให้น้ำหนักลดลงโดยไม่รู้ตัว บางคนอาจมีอาการเกี่ยวการย่อยอาหาร ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เพราะเคมีน้ำดีในตับบกพร่อง คนที่ก้อนโตมากขึ้น อาจคลำก้อนได้บริเวณใต้ชายโครงขวา รู้สึกท้องโต แน่นตึง บางคนอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรือมีน้ำไปที่ช่องท้องที่เรียกว่า ท้องมาน เกิดขึ้นได้หากก้อนลุกลามมาก แต่อาการเหล่านี้บางครั้ง อาจเกิดจากภาวะตับแข็งเฉยๆ โดยที่ยังไม่ได้เป็นมะเร็งก็ได้
แหล่งที่มา : 108health.com