อาการ เจ็บหัวนม ไดแอน เจ็บหัวนม เจ็บหัวนมตั้งครรภ์


1,275 ผู้ชม


อาการ เจ็บหัวนม ไดแอน เจ็บหัวนม เจ็บหัวนมตั้งครรภ์


ให้นมแม่แต่เจ็บหัวนม  (Mother & Care)
          มีหลายคนที่ให้นมแม่ไม่สำเร็จ ก็เพราะมีอุปสรรคกลางทาง อาการหัวนมแตก สาเหตุที่ทำให้คุณแม่เจ็บจนท้อ และไม่สามารถให้นมลูกได้อีก วิธีการป้องกัน และการรักษา โดยขณะที่รักษาก็ยังให้ลูกดูดนมแม่ได้ แต่ก็ต้องอาศัยความใจเย็น และความอดทนของแม่นั่นเองค่ะ
           ถ้าเกิดอาการหัวนมเจ็บ แตกขึ้นมา ก่อนอื่นคุณแม่ต้องหาสาเหตุก่อนว่า แตกเพราะสาเหตุใด จะได้แก้ไขให้ถูกวิธี
            หัวนมแตกเพราะ...  
          1. ลูกอ้าปากไม่กว้างพอ ทำให้ปากลูกอมเฉพาะหัวนม ไม่ได้อมเข้าไปถึงลานหัวนม
          2. ลูกมีพังผืดใต้ลิ้น ทำให้ความสามารถในการดูดนมแม่ไม่ดีพอ เพราะลิ้นเป็นส่วนที่ช่วยไล่น้ำนมจากท่อเก็บให้ไหลออกมาตามท่อน้ำนม มาถึงหัวนม และกลืนลงคอไปในที่สุด แต่ถ้าลูกไม่สามารถใช้ลิ้นได้อย่างดี กลไกนี้จะไม่เกิด นอกจากแม่จะหัวนมแตกแล้ว ลูกก็จะได้รับน้ำนมไม่เพียงพอด้วย
          3. อุ้มลูกกินนมไม่ถูกวิธี เช่น ตัวลูกไม่ได้ระดับกับการดูดนมแม่ ทำให้ลูกดูดนมแม่ผิด
          4. เต้านมคัด ลานนมแข็งมากเกินไป ลูกดูดนมไม่ออก
          5. ลูกถอนปากออกจากหัวนมแรงหรือไม่ถูกวิธี
          6. หัวนมแห้งแตกเพราะการทำความสะอาดที่มากเกินไป
          7. ใช้เครื่องปั๊มนมที่มีความแรงมากเกินไป
            ป้องกันหัวนมแตก...  
          1. เขี่ยริมฝีปากของลูก ให้อ้าออกให้กว้างขึ้น เพื่อให้ลูกอมไปถึงลานหัวนม
          2. การตัดพังผืดใต้ลิ้นตั้งแต่เล็กๆ นั้น เป็นเรื่องง่ายมากเด็กไม่ต้องดมยาสลบ ไม่ต้องงดนม และหลังผ่าตัดก็กลับบ้านได้ทันที นอกจากจะทำให้ลูกดูดนมแม่ได้แล้ว ยังเป็นการป้องกันปัญหาการพูดไม่ชัดเมื่อโตขึ้นด้วย ดังนั้น ถ้าลูกไม่ดูดนม น้ำหนักไม่ขึ้น ควรให้คุณหมอตรวจดูว่าลูกมีพังผืดใต้ลิ้นหรือไม่ด้วย
          3. อุ้มลูกกินนมให้ถูกวิธี ซึ่งสังเกตจาก ลูกดูดได้สบาย แม่ก็นั่งหรือนอนให้ลูกดูดได้สบาย อาจจะหาหมอนรองตัวลูกให้ได้ระดับ และศึกษาวิธีการอุ้มลูกที่ถูกต้อง
          4. บีบน้ำนมออกเล็กน้อย หรือนวดเต้านมเบาๆ ก่อนให้ลูกดูดนม เพื่อให้หัวนมนิ่มลง
          5. ให้คุณแม่สอดนิ้วก้อยเข้าไปด้านล่าง ระหว่างริมฝีปากลูกกับหัวนมแม่ แล้วค่อยถอนหัวนมออก
          6. การทำความสะอาดหัวนม ใช้สำลีชุบน้ำธรรมดาเช็ด ก่อนให้ลูกดูด และอาบน้ำชำระร่างกายตามปกติ ไม่จำเป็นต้องฟอกสบู่บ่อย จะทำให้หัวนมแห้งแตกได้
          7. การใช้ที่ปั๊มที่มีแรงดูดมาก ทำให้หัวนมแตก และเต้านมอักเสบได้ ใช้วิธีการปั๊มด้วยมือก็ได้
            วิธีแก้หัวนมแตก  
          1. ให้ลูกดูดข้างที่ไม่เป็นแผลก่อน ถ้าลูกไม่อิ่มค่อยให้ดูดอีกข้างที่เป็นแผล
          2. ไม่จำเป็นต้องให้ลูกงดดูดนม นอกจากเจ็บจนทนไม่ไหวจริงๆ ให้บีบน้ำนมออกทุก 2-3 ชั่วโมง แล้วป้อนลูกด้วยถ้วยเล็กหรือช้อน
          3. บีบน้ำนมทาบริเวณหัวนม ผึ่งลมไว้ให้แห้ง ในกรณีที่ปวดแผลมาก สามารถรับประทานยาพาราเซตามอลได้
          4. นวดลานหัวนมให้นิ่มก่อนให้ลูกดูดนม หรือใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ แล้วนวดเต้าเบาๆ ให้น้ำนมเริ่มไหลออกมา แล้วค่อยให้ลูกดูดต่อ จะคลายความเจ็บตึงได้
          5. ถ้าเป็นมากควรปรึกษาแพทย์
            วิธีบีบน้ำนมด้วยมือ  
          • ดื่มน้ำอุ่นก่อนทำการบีบนม เพื่อให้เลือดไหลเวียนดี
          • ล้างมือให้สะอาด เตรียมภาชนะหรือถุงเก็บนมให้พร้อม
          • นั่งท่าที่สบายที่สุด
          • ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่น ประคบเต้านมสักพัก แล้วนวดเบาๆ โดยใช้ฝ่ามือข้างหนึ่งประคองเต้าด้านล่าง ปลายนิ้วอีกข้างนวดเต้าเบาๆ เป็นวงกลม จากฐานเต้าไปยังหัวนมและกระตุ้นหัวนมด้วยการใช้นิ้วดึงและคลึงหัวนม
          • วางปลายนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ที่ขอบลานหัวนมหรือห่างจากหัวนมประมาณ 3 เซนติเมตร แล้วกดนิ้วเข้าด้านใน บีบ 2 นิ้วเข้าหากัน น้ำนมจะถูกคันพุ่งออกมา บีบทิ้งไปก่อนสัก 2 ครั้งก่อนทำการเก็บน้ำนม
          • คลายนิ้วแล้วเริ่มทำใหม่ โดยบีบปล่อยให้เป็นจังหวะ จนน้ำนมหมด แล้วเลื่อนตำแหน่งนิ้วที่บีบไปตามขอบลานหัวนม เพื่อบีบน้ำนมออกจากกระเปราะน้ำนมด้านอื่นอย่างทั่วถึง
          • อย่าบีบแรง หรือเค้นจนเกินไป จะทำให้เต้านมอักเสบได้
          • เมื่อบีบเสร็จแล้วปล่อยหัวนมให้แห้ง ใส่ยกทรงให้พอดีทรง
          • แต่ละครั้งควรบีบน้ำนมให้เกลี้ยงเต้า และบีบไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง ถ้าลูกไม่ได้ดูดทั้งวัน ควรบีบทุก 3 ชั่วโมงเป็นการกระตุ้นการผลิตน้ำนมให้สม่ำเสมอ

แหล่งที่มา : women.kapook.com , 

อัพเดทล่าสุด