อาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน เมนูอาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน การรับประทานอาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน


3,176 ผู้ชม


อาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน เมนูอาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน การรับประทานอาหารสําหรับผู้ป่วยเบาหวาน

 

 

 

 กินอย่างไรให้มีสุขเมื่อเป็นเบาหวาน

 

             อาหารมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานทุกคนควรเรียนรู้การเลือกชนิดอาหารและปริมาณอาหารที่รับประทานให้เหมาะสม ซึ่งจะมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันหรือชะลอภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยเบาหวาน เช่น โรคปลายประสาทเสื่อมภาวะหลอดเลือดแดงตีบแข้ง นำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวานขึ้นตา และเบาหวานลงไต ก่อให้เกิดทุพพลภาพได้

อาหารอะไรบ้างที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
             อาหารที่รับประทานกันอยู่เป็นประจำ อันได้แก่ ข้าว แป้ง น้ำตาล เนื้อสัตว์ ไข่ นม ไขมัน ผัก และผลไม้ มีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นทั้งสิ้นในปริมาณมากน้อยแตกต่างกัน แต่การรับประทานอาหารที่มีทั้งข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ไขมัน ผัก ผลไม้ในสัดส่วนที่เหมาะสม จะไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากทั้งยังได้อาหารที่หลากหลาย และมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย ในบรรดาอาหารเหล่านี้ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมากจะมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากที่สุด

    

อาหารอะไรบ้างที่มีคาร์โบไฮเดรต
             1. น้ำตาล เป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตมาก โดยเฉพาะน้ำตาลทรายขาว มีคาร์โบไฮเดรตเกือบ 100% จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นมาก อาหารที่มีน้ำตาลมาก ได้แก่ น้ำหวาน น้ำอัดลม เยลลี่ ฯ อาหารเหล่านี้มีน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ มีสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างน้อยมาก จึงไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ยกเว้นในกรณีที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ มีอาการมือสั่น เหงื่อออก ตัวเย็น ตาพร่า ซึ่งมักจะเกิดจากการรับประทานอาหารผิดเวลา หรืออกกำลังกายนานเกินไป ให้ดื่มน้ำหวาน น้ำอัดลม - 1 กระป๋อง เพื่อแก้ไขอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

             2. อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือก มัน ฯลฯ อาหารเหล่านี้มีคาร์โบไฮเดรตน้อยกว่าน้ำตาล และยังมีโปรตีน วิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหารที่จำเป็นแก่ร่างกาย โดยเฉพาะข้าวและแป้งที่ไม่ได้ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ อาหารจำพวกแป้งจะถูกย่อยเปลี่ยนให้เป็นน้ำตาล และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของร่างกาย ผู้เป็นโรคเบาหวานไม่ควรงดหรือจำกัดจนเกินไป ควรได้รับให้เหมาะสมกับแรงงานและกิจกรรมที่ทำ การจำกัดข้าวหรือแป้งมากเกินไป กลับเป็นผลเสีย เพราะระดับน้ำตาลในเลือดอาจต่ำ หรือมีอาการหิว อาจหาอาหารอื่นรับประทานแทน เช่น ผลไม้ ขนมหวาน เป็นเหตุให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

             3. ผลไม้ ผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตแตกต่างกัน คาร์โบไฮเดรตในผลไม้อยู่ในรูปน้ำตาล ผลไม้บางชนิดมีน้ำตาลมาก 30 – 35% เช่น ทุเรียน ส้มมีน้ำตาลประมาณ 10%ผลไม้แห้ง เช่น มะขามหวาน มีน้ำตาลมาก 75 - 80% ผลไม้ยิ่งหวานมาก จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมาก แม้แต่ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย รับประทานปริมาณมาก เช่น มังคุด กิโลกรัม ก็ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้เช่นเดียวกัน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจึงต้องจำกัดปริมาณผลไม้ที่รับประทานแต่ละมื้อ และควรเลือกรับประทาน 1 ชนิดต่อมื้อหลังอาหาร ตามปริมาณที่กำหนดดังนี้ เช่น ส้มเขียวหวาน 1 ผล มะละกอสุก 8 ชิ้นคำ เงาะ 5 ผล สับปะรด 6 ชิ้นคำ ส้มโอ 3 กลีบ แตงโม 10 – 12 ชิ้นคำ มังคุด 4 ผล มะม่วงน้ำดอกไม้ 1/2 ผล กล้วยน้ำว้า 1 ผล มะม่วงเขียวเสวย 1/2 ผล ผลไม้นอกจากมีน้ำตาลแล้ว ยังมีวิตามิน แร่ธาตุ และ ใยอาหาร จึงไม่ควรงด แต่ควรรับประทานตามปริมาณที่กำหนด

             4 . ผัก เป็นอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตน้อย มีวิตามิน แร่ธาตุและใยอาหารมาก ทำให้อิ่มทน และใยอาหารยังช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลในลำไส้เล็ก และลดการดูดซึมกลับของนำดีเป็นการช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือด ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานผักให้มากขึ้นทุกมื้อ จะเป็นผักสด หรือผักต้มก็ได้

             5. น้ำนม มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ คาร์โบไฮเดรตในน้ำนมอยู่ในรูปน้ำตาลแลคโตส มีรสหวานน้อย ตาทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ถ้าเป็นน้ำนมที่มีการเติมน้ำตาลน้ำผึ้ง ผลไม่เชื่อม จะเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรต ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้น จึงควรเลือกดื่มน้ำนมตามธรรมชาติ

ผู้ที่เป็นเบาหวานควรรับประทานอาหารอย่างไร
             ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรเรียนรู้ชนิดและปริมาณของอาหารที่รับประทาน และรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ประกอบด้วยข้าวหรืออาหารแป้งอื่น ๆ เนื้อสัตว์ไม่ติดทัน ไข่ น้ำนมพร่องมันเนย ผักทั้งสีเขียวและสีเหลือง ผลไม้ที่หวานน้อยในปริมาณที่แนะนำ สำหรับไขมันควรเลือกน้ำมันพืช จำพวกน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำ น้ำมันถั่วลิสง ในการผัดแทนการทอดเลี่ยงการใช้ไขมันอิ่มตัวเป็นประจำ เช่น น้ำมันหมู กะทิ เนย ฯลฯ

             อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด

             ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานมิได้แตกต่างไปจากอาหารที่รับประทานกันในครอบครัว เพียงแต่ผู้เป็นโรคเบาหวานต้องคำนึงถึงปริมาณอาหารแต่ละชนิดที่ได้รับโดยเฉพาะอาหารที่มีน้ำตาล แป้งและไขมัน ซึ่งจะมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและไขมันในเลือด

             ปริมาณข้าวหรือแป้งชนิดอื่นที่ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานได้รับ เช่น ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง ควรเหมาะกับน้ำหนักตัว และแรงงานที่ใช้ เช่น หญิงที่น้ำหนักตัวปกติและทำงานเบารับประทานข้าวได้มื้อละ 2 – 3 ทัพพีเล็ก ชายที่ไม่อ้วนทำงานเบาถึงปานกลาง รับประทานข้าวได้มื้อละ 3 – 4 ทัพพีเล็ก

             ข้าว 1 ทัพพีเล็ก  = ขนมปังปอน 1 แผ่น
             หรือ              = ก๋วยเตี๋ยว 1 ทัพพี
                                = ขนมจีน 1 ทัพพี

             *ทัพพีเล็ก หมายถึง ทัพพีในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตักพูนพอควร ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรใช้แนวทางการเลือกอาหารที่แนะนำไว้ และก่อนรับประทาน

             อาหาร ควรสำรวจรายการอาหารก่อน ถ้าเป็นอาหารบุพเฟ่ซึ่งมีอาหารหลากหลายควรดูให้ทั่ว และวางแผนการรับประทานอาหารในมื้อนั้นควรตักข้าวในปริมาณที่เคยรับประทาน ถ้าต้องการรับประทานทั้งข้าวและขนมปัง หรือแป้งชนิดอื่นด้วย ควรลดปริมาณแต่ละอย่างลง เลือกกับข้าวที่มีไขมันน้อยและมีผักมาก เช่น ต้ม ย่าง ยำ และผัด เนื้อสัตว์ตัดส่วนที่ติดมันและหนังออก เลี่ยงน้ำจิ้มที่มีรสหวาน หรือจิ้มแต่น้อย

             ผู้เป็นโรคเบาหวานอาจรับประทานขนมได้บ้างเป็นครั้งคราว แต่ควรเลือกขนมที่หวานน้อย และต้องวางแผนลดข้าว อาหารที่มีไขมัน รวมทั้งงดผลไม้ในมื้อนั้นด้วย ทั้งนี้เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ เช่น ถ้ารับประทานเค้ก 1 ชิ้นเล็ก (ขนาด 1 x 1 นิ้ว) หรือถ้าขนมที่มีน้ำเชื่อม เช่น ซาหริ่ม ทับทิมกรอบ ให้ตักเพียงครึ่งถ้วย และลดข้าวลงประมาณ 1 ทัพพีจากที่เคยรับประทานไม่ควรงดข้าวและรับประทานแต่ขนมเพราะจะทำให้ไม่ สามารถควบคุมรับน้ำตาลในเลือดได้และไม่ควรรับประทานขนมที่หวานจัดมาก เช่น ขนมเชื่อม ทองหยิบ ทองหยอด สังขยา การรับประทานขนมหวานนี้ ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานแต่น้อย พอคลายความ อยากเท่านั้น และไม่ควรทำบ่อย อาจทำในขณะที่ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเท่านั้น สำหรับเครื่องดื่ม ควรเลือกน้ำเปล่าหรือโซดาแทนน้ำหวาน น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หากจะดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารไปแล้ว และดื่มแต่เพียงเล็กน้อย เช่น เบียร์หรือไวน์ ไม่เกิน 2 แก้ว ถาเป็นวิสกี้เจือจาง (45 มิลลิลิตร) ไม่เกิน 2 แก้ว สำหรับผู้ที่ยังติดรสหวาน อาจใช้น้ำตาลเทียม ซึ่งให้รสหวาน แต่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลใน เลือดเพิ่ม

ผู้ที่อ้วนและมีระดับไขมันในเลือดสูงควรรับประทานอย่างไร

             ผู้ที่อ้วนและมีระดับไขมันในเลือดสูงควรเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอล เช่น เครื่องในสัตว์

             เนื้อติดมัน หนังเป็ดไก่ ไข่แดง รวมทั้งอาหารใส่กะทิ และเลี่ยงอาหารทอดและผัดที่มีน้ำมันมากควรเลือกรับประทานเนื้อไม่ติดมัน ปลา เต้าหู้ และทำโดยวิธีนึ่ง ต้ม ปิ้ง หรือย่าง ยำที่มีผักมาก และผัดที่ใช้น้ำมันน้อย รับประทานผักสีเขียวให้มากขึ้น เลือกผลไม้ที่มีรสหวานน้อย แทนขนมหวาน และเลี่ยงผลไม้ที่มีแต่รสหวานจัด เช่น ทุเรียน มะม่วงสุก ลำไย ขนุน น้อยหน่า ฯลฯ ผู้ที่อ้วนควรลดปริมาณอาหารจำพวกข้าว ก๋วยเตี๋ยว และอาหารที่มีไขมันลง แต่ไม่ควรงดมื้ออาหาร

             ถึงแม้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะรับประทานอาหารได้ทุกอย่างในปัจจุบัน แต่การที่จะควบคุม

             ระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผู้เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องเรียนรู้ปริมาณและชนิดอาหารที่ได้รับรู้จักแลกเปลี่ยนอาหาร อ่านข้อมูลในฉลกาโภชนาการ ซึ่งจะบอกปริมาณพลังงานคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน จะช่วยให้ควบคุมปริมาณคาร์โบไฮเดรต และไขมันในอาหารได้ส่งผลให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด และน้ำหนักตัวได้ดีขึ้น

             สิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เป็นโรคเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ คือ การปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้ถูกต้องไม่งดมื้ออาหาร แลรับประทานอาหารมื้อหลักและมื้อว่างให้ตรงเวลาหรือเวลาใกล้เคียงกันทุกวัน การออกกำลังกายสม่ำเสมอ รวมทั้งการรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดหรือฉีดยาตามที่แพทย์สั่งจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน และมีคุณภาพชีวอตที่ดีได้เช่นเดียวกับคนทั่วไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
รศ.วลัย อินทรัมพรรย์
ที่ปรึกษาด้านโภชนบำบัด
หน่วยต่อมไร้ท่อและหน่วยโรคไต
โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด