ศิลปะการป้องกันตัว ประวัติศิลปะการป้องกันตัว ประวัติมวยไทย ไชยา ศิลปะการป้องกันตัวแห่งเอเซีย


2,494 ผู้ชม


ศิลปะการป้องกันตัว ประวัติศิลปะการป้องกันตัว ประวัติมวยไทย ไชยา ศิลปะการป้องกันตัวแห่งเอเซีย

ศิลปะการป้องกันตัวของเอเชีย

โดย วิรุฬหกกลับ

          การต่อสู้ด้วยมือเปล่าเป็นสิ่งจำเป็นในอดีตไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาปรกติในการดำรงชีพและยิ่งในเวลาศึกสงครามที่ต้องต่อสู้กันแบบประชิดตัวด้วยแล้วทักษะการต่อสู่ด้วยมือเปล่านับเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง การต่อสู้ด้วยมือเปล่ามีอยู่ในทุกประเทศเพราะในอดีตการต่อสู้ชนิดนี้ จำเป็นต้องใช้เพื่อการเอาตัวรอดจากภยันอันตรายที่ใกล้จะถึงตัวซึ่งกลวิธีในการต่อสู้ก็ย่อมแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ขึ้นอยู่กับการทำความเข้าใจ และการประยุกต์ใช้ ในเอเชียเรานั้นมีการต่อสู้หรือศิลปะการป้องกันตัวด้วยมือเปล่าอยู่หลายชนิดเรียกว่าชุกกว่าภูมิภาคอื่นก็ว่าได้ และการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของชาวเอเชียที่มีอยู่หลากหลายนี้เองที่สร้างความสนอกสนใจให้กับชาวตะวันตกเป็นอย่างมาก ศิลปะการต่อสู้แบบเอเชียจึงถือว่าเป็นเสน่ห์อีกอย่างหนึ่งของภูมิภาคแถบนี้ เราลองมาทำความรู้จักกับการต่อสู้ด้วยมือเปล่าในแขนงต่างๆของชาวเอเชียอันเป็นศาสตร์และศิลป์ที่น่าสนใจ ซึ่งสามารถจัดแบ่งการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของเอเชียในแต่ละประเภทพอสังเขปได้ดังนี้

-  มวยไทย  

มวยไทย
ภาพจาก https://student.nu.ac.th

          เป็นศิลปะประจำชาติไทยการต่อสู้แบบมวยไทยมีร่ำเรียนกันอยู่ในแถบจะทุกประเทศในภูมิภาคแถบนี้ไม่ว่าจะเป็นพม่าหรือลาว  มวยไทยใช้ทั้ง หมัด เท้า เข่า ศอก หรือพูดง่ายๆว่าใช้ทุกส่วนของร่างกายในสมัยก่อนการชกมวยจะฝึกฝนกันในหมู่ชายฉกรรจ์เพื่อใช้ป้องกันตัวและใช้ในยามศึกสงคราม มีการผสมผสานทักษะของมวยไทยกับวิชาดาบหรือกระบี่กระบองด้วย ต่อมามวยไทยได้พัฒนาขึ้นเรื่อยๆจากการแข่งขันแบบคาดเชือกโดยการใช้เชือกมาพันมือแทนนวมเพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บของผู้ต่อยที่เกิดจากการต่อย ในอดีตนั้นบางครั้งการใช้เชือกพันมือยังมีการโรยเศษแก้วไว้ที่เชือกด้วยเพื่อใช้ในการชกกับคู่ต่อสู้ เพราะการตัดสินแพ้ชนะนั้นไม่ได้อาศัยการนับคะแนนอย่างเช่นในปัจจุปันแต่จะชกกันจนกว่ามีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดยอมแพ้หรือไม่ก็สลบหรือซ้ำร้ายอาจจะเสียชีวิตไปเลย ต่อมาเมื่อต้องการพัฒนามวยไทยให้เป็นกีฬามากขึ้นก็มีการวางกติกาให้เป็นสากลเพื่อใช้ในการแข่งขันอย่างกีฬาทั่วๆไป ทำให้มวยไทยถูกจำกัดอยู่ในกรอบและกติกา

          การเผยแพร่มวยไทยออกสู่ต่างชาติในยุคแรกนั้นสร้างความประหวั่นให้แก่ต่างชาติอยู่ไม่น้อยเพราะการชกในแต่ละครั้งสร้างความบอบช้ำให้คู่ต่อสู้อย่างมาก เช่นในคราวที่ จอมเตะบางนกแขวก อภิเดช ศิษย์หิรัญนักมวยไทยที่ได้ชื่อว่าเตะหนักมากคนหนึ่งไปชกที่ประเทศี่ปุ่นก็เตะเอานักยูโดญี่ปุ่นถึงขั้นตับแตกมาแล้ว จนต่อมามีการนำมวยไปไปชกในต่างชาติถึงถูกห้ามการใช้ศอกและเข่า เพิ่มเติมเข้าไปอีก 

          พัฒนาการของมวยไทยในปัจจุบันจึงเหลือเป็นแต่เพียงกีฬาที่พยามยามอนุรักษ์การต่อสู้ในรูปแบบเก่าๆเอาไว้เท่านั้น ฝรั่งตาน้ำข้าวหลายประเทศที่สนอกสนใจมวยไทยเป็นพิเศษถึงกับลงทุนบินมาเรียนวิชามวยไทยในเมืองไทยโดยเฉพาะ ใช้เวลากันเป็นแรมเดือนแรมปีเพื่อจะศึกษา บางครั้งก็ดูน่าสลดใจอยู่บ้างเหมือนกันที่ฝรั่งซึ่งมุ่งศึกษาถึงมวยไทยต้นตำรับมีการใช้แม่ไม้-ลูกไม้มวยไทยบนเวทีอยู่อย่างเสมอแต่มวยไทยเองกลับคำนึงถึงผลแพ้ชนะมากกว่าดังนั้นในยุคปัจจุบันนี้หากต้องการเห็นการใช้แม่ไม้มวยไทยบนเวทีให้ไปดูนักมวยฝรั่งชกซึ่งเขาเหล่านั้นมักจะหาโอกาสในการปล่อยอาวุธเด็ดให้ได้ชมกันอยู่เนืองๆ แต่ในขณะที่นักมวยไทยชกเพื่อทำคะแนนให้เข้าตากรรมการเท่านั้น ทำให้นับวันการต่อสู้ของมวยไทยผิดเพี้ยนไปจากเก่าก่อนอยู่มาก พิษสงของมวยไทยนั้นถือว่ามีอนุภาพที่รุนแรงและมีพิษสงอยู่รอบตัว ดังเช่นในตำนานเรื่องนายขนมต้มที่สามารถเอาชนะนักมวยพม่าได้ถึง10คนในคราวเดียวกัน

- เทควันโด

เทควันโด
ภาพจาก https://www.tkdzlatniljiljani.org/

          เป็นการต่อสู่ด้วยมือเปล่าของประเทศเกาหลี  คำว่า เทแปลว่า เท้า ควัน แปลว่า การโจมตีด้วยมือ ดังนั้นเทควันโดจึงเป็นการต่อสู้แบบประชิดตัวที่ใช้มือและเท้าเป็นสำคัญ เทควันโดถือกำเนิดในประเทศเกาหลี,มาราว 2 พันกว่าปีแล้ว การต่อสู้ชนิดนี้เป็นการ่ายรำเพื่อรักษาความสมดุลย์ของร่างกาย มีการปัด ปิดป้อง ทั้งการชกที่ใช้ทั้งสันหมัดและกำปั้นแล้วแต่กรณี  รวมไปถึงการหัก การกระโดดเตะ การโจมตีจุดอ่อนของคู่ต่อสู้ กระบวนท่าของวิชาเทควันโด้จะถูกปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของการต่อสู่ ท่าที่สคัญได้แก่ กระบวนท่า Palgye 1-8 , Taeguk 1-8 , Koryo, Kumgang,Taeback, Pyongwon, Shipjin, Chumkwon, Hansoo and Llyeo

          ในปี 1955 ประเทศเกาหลีได้จัดตั้ง องค์การควบคุมศิลปะแห่งชาติ เพื่อดูแลศิลปะการต่อสู้แขนงนี้เพื่อไม่ให้หายสาบสูญไปโดยมีเป้าหมาย ในการเผยแพร่และฝึกสอนให้แก่ประชาชนอย่างถูกตามหลักวิชา ปัจจุบันเทควันโดได้กลายเป็นกีฬาอย่างเต็มตัว มีการจัดตั้งสมาพันธ์เทควันโดโลก และในปีค.ศ. 1973    มีการแข่งขันชิงแชมป์โลกเป็นครั้งแรก 

เทควันโดจะจัดแบ่งระดับของผู้ฝึกออกเป็นระดับต่างๆ ในประเทศไทยจัดแบ่งระดับของผู้ฝึกเทควันโดออกเป็น 10 ลำดับคือ 

          1. สายแดง2 
          2. สายแดง1 
          3 .สายน้ำตาล2 
          4. สายน้ำตาล1 
          5 .สายฟ้า2 (หรือน้ำเงิน) 
          6. สายฟ้า1 (หรือม่วง) 
          7. สายเขียว2 
          8 .สายเขียว1 (สีเขียวขี้ม้า) 
          9. สายเหลือง2 
          10. สายเหลือง1 (หรือสายส้ม) 
          ระดับเริ่มต้น สายขาว 

-  ยูยิสสู

ยูยิสสุ

          เป็นศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าของญี่ปุ่นมีความหมายในภาษาญี่ปุ่นว่า  ศิลปะแห่งความอ่อน การต่อสู้ชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงคริตศตรวรรษที่  8-16 ซึ่งในขณะนั้นประเทศญี่ปุ่นเต็มไปด้วยศึกสงคราม สำนักยูยิสสูในญี่ปุ่นมีอยู่มาก แต่ละสำนักต่างก็มีแนวทางของตัวเอง การต่อสู้ชนิดนี้เน้นไปที่ การล๊อค การทุ่ม ในสมัยก่อนการสู้แบบยูยิสสูเป็นการต่อสู้ที่ไม่มีกติกามีเป้าหมายหลักคือการล้มคู่ต่อสู้ให้จงได้เท่านั้น  ด้วยจุดประสงค์หลักในข้อนี้และในยุคที่สงครามไม่ได้มีอยู่มากมายเหมือนในสมัยก่อนทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นสั่งห้ามการฝึกศาสตร์ในแขนงนี้เนื่องจากมองว่ามีความรุนแรงเกินไปจึงทำให้ยูยิสสูในประเทศญี่ปุ่นหยุดชะงักไป แต่ศาสตร์แห่งการต่อสู้แขนงนี้กลับไปพัฒนาต่อในประเทศบราซิล โดยคาร์ลอส เกรซี่ที่เคยเรียน วิชาการต่อสู้ในญี่ปุ่นนำกลับไปพัฒนาโดยการนำเอา การต่อสู้แบบ โคโดกัน ยูโด และ ยูยิสสูของญี่ปุ่น

-    ยูโด

ยูโด
ภาพจาก https://www.ibspro.net/

          เป็นศิลปะการต่อสู่ที่พัฒนามาจากยูยิสสู เมื่อยูยิสสูเสื่อมความนิยมลงโดย ยูโดก็ถูกคิดค้นขึ้นจาก จิโกโร คาโน (Jigoro Kano) ที่มองว่าวิชายูยิสสูเป็นสิ่งมีค่าและน่าจะสืบทอดต่อไป จิโกโร คาโน จึงได้ทุ่มเทเวลาเพื่อศึกษายูยิสสูอย่างจริงจัง  จิโกโร คาโน ดั้นด้นไปเรียนวิชายูยิสสูจากอาจารย์หลายท่าน ต่อมาได้เปิดเป็นโรงเรียนสอนยูโดขึ้นโดยได้นำวิชายูยิสยูที่เรียนมาประยุกต์ให้เป็นวิชายูโดเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมของญี่ปุ่นในสมัยนั้นที่ยูยิสสูเริ่มเสื่อมความนิยมลงทั้งรัฐบาลเองก็ไม่ได้ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่โดยยูโดได้ตัดทอนความอันตรายของยูยิสสูลงเช่นการ การชก เตะ การใช้หัวโขก และยังได้ปรับเปลี่ยนการล็อคที่สามารถกระทำได้เพียงแค่ข้อศอกเพื่อเป็นการไม่ให้ได้รับอันตราย 

ผู้ฝึกยูโดจะถูกแบ่งเป็นลำดับตามความเชี่ยวชาญในด้านการฝึกโดยในประเทศไทยได้แบ่งลำดับไว้ดังนี้ 

          รองสายดำ ชั้น 5 สาดคาดเอวสีขาว 
          รองสายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีเขียว 
          รองสายดำ ชั้น 3 สาดคาดเอวสีฟ้า 
          รองสายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีน้ำตาล 
          รองสายดำ ชั้น 1 สาดคาดเอวสีน้ำตาลปลายดำ 
          สายดำ ชั้น 1 สายคาดเอวสีดำ 
          สายดำ ชั้น 2 สายคาดเอวสีดำ 
          สายดำ ชั้น 3 สายคาดเอวสีดำ 
          สายดำ ชั้น 4 สายคาดเอวสีดำ 
          สายดำ ชั้น 5 สายคาดเอวสีดำ 
          สายดำ ชั้น 6 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง 
          สายดำ ชั้น 7 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง 
          สายดำ ชั้น 8 สายคาดเอวสีขาวสลับแดง 
          สายดำ ชั้น 9 สายคาดเอวสีแดง 
         สายดำ ชั้น 10 สายคาดเอวสีแดง

-  คาราเต้

คาราเต้
ภาพจาก https://www.dokidoki.ne.jp

          คาราเต้ เป็นศาสตร์การต่อสู้อีกแขนงหนึ่งที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น  มีความหมายว่าวิถีมือเปล่า การต่อสู้ชนิดนี้เกิดที่โฮกินาวาโดยการนำเอาการต่อสู้ของชาวโอกินาวาผสมกับการต่อสู้แบบจีน การต่อสู้แบบคาราเต้นี้ไม่ใช่การต่อสู้ที่ใช้มือฟันอิฐตามที่เราเห็นกันจนชินตาแต่เป็นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าที่ใช้ทุกส่วนของร่างกายอย่างเช่นการต่อสู้ด้วยมือเปล่าแขนงอื่น ไม่ว่าจะเป็น หมัด เท้า สันมือ ศอก คาราในภาษาจีนหมายถึงประเทศจีน ส่วนเต้นั้นหมายถึงฝ่ามือ ดังนั้นจะว่าไปแล้วศาสตร์การต่อสู้ชนิดนี้เป็นของจีนโดยพื้นฐานมากกว่าแต่มาพัฒนาและเจริญรุ่งเรืองทั้งแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น หรืออาจะกล่าวได้ว่าการต่อสู้ของชาวญี่ปุ่นชนิดนี้ได้รับแรงบันดาลจากจากการต่อสู้ของชาวจีน ต่อมาภายหลังคำว่าคาราที่แปลว่าจีนนั้นถูกเปลี่ยนตัวอักษรที่มีการออกเสียงเหมือนกันแต่ความหมายของคำว่าคาราถูกเปลี่ยนเป็นมือเปล่าแทน โดยการใช้ตัวอักษรที่ผิดไปจากเดิม แต่ยังคงออกเสียงเหมือนเดิม

 

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

อัพเดทล่าสุด