โรคหัวใจขาดเลือด การป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด วิธีป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
อาการโรคหัวใจขาดเลือด
โรคหัวใจขาดเลือดเกิดขึ้นเนื่องจาก ความไม่สมดุลย์ของจำนวนเลือดที่ขึ้นไปเลี้ยงหัวใจกับความต้องการเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เกิดภาวะขาดเลือด หรือ ขาดออกซิเจน มักเกิดจากผนังเส้นเลือดหัวใจหนา และขนาดหลอดเลือดตีบเล็กลงจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุข โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ของโรคทั้งหมด
อาการเจ็บหน้าอก เป็นความรู้สึก บีบรัด และแน่นอึดอัด ที่บริเวณหน้าอกไม่ต่ำกว่าสะดือ บางรายรู้สึกเหมือนกดทับ แสบร้อน จุกขึ้นคอ บางครั้งมีอาการปวดร้าวไปหัวไหล่ซ้าย หรือกราม 2 ครั้ง เหงือแตก มักพบในวัยกลางคน หรือ สูงอายุ ส่วนใหญ่มักจะมีอาการเมื่อออกกำลังกาย หรือทำงานหนัก เครียด อาการทุเลา เมื่อได้พัก บางรายมีอาการในขณะพัก
เมื่อมีอาการเจ็บหน้าอก ต้องไปพบแพทย์ทันที แพทย์สามารถวินิจฉัยได้จากอาการบอกเล่าของผู้ป่วยการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (E K G) และการตรวจเลือด ในกรณีที่ไม่ชัดเจน หรือแพทย์ต้องการทราบถึง ความรุนแรงของโรค แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจเพิ่ม คือ การเดินสายพาน เพื่อทดสอบสมรรถภาพของหัวใจ การตรวจอัลตร้าซาวน์หัวใจ และการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ
มี 2 วิธี ต้องรักษาควบคู่กันไป คือ
1. การรับประทานยา
2. การเปลี่ยนแปลงกิจวัตร บางอย่าง
การรักษาทั้ง 2 วิธี นี้มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
1. เพื่อควบคุม และรักษาอาการเจ็บแน่นหน้าอก
2. เพื่อรักษาและควบคุมโรคอื่น ๆ ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง
3. เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อน
ดังนั้นผู้ป่วยต้องรับประทานยา ตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ถ้าสงสัย หรือ รับประทานยาแล้ว มีอาการอื่น ๆ ที่ไม่พึงประสงค์ ต้องรีบปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร และพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง
แหล่งที่มา : โรงพยาบาลธนบุรี
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต