ไอเรื้อรังมีเสมหะ หวัด ไอเรื้อรัง อยากรู้เรื่องไอเรื้อรัง


2,310 ผู้ชม


ไอเรื้อรังมีเสมหะ หวัด ไอเรื้อรัง อยากรู้เรื่องไอเรื้อรัง

 

ไอมานาน และมีเสมหะ วินิจฉัย เป็นโรคอะไรบ้าง เราจะต้องไปตอบอาจารย์หมอนะคะ ช่วยด้วยนะคะ
ต้องถามอาการอื่นๆ ประกอบด้วยครับก่อนจะวินิจฉัยได้น่ะครับ
เช่น อาการไอของคนเป็นวันละโรค เอ๊ย วัณโรค
   1. ไอเรื้อรังเกิน 2 สัปดาห์ บางรายไอแห้งๆ บางรายอาจมีเสมหะสี เหลือง เขียว 
        หรือไอปนเลือด
   2. เจ็บแน่นหน้าอก
   3. มีไข้ต่ำๆ ตอนบ่ายหรือเย็น
   4. เหนื่อยหอบ อ่อนเพลีย
   5. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
อาการไอเรื้อรัง เป็นอาการไอที่เป็นต่อเนื่องกันนานกว่า 3-4 อาทิตย์ขึ้นไป อาจจะ
มีเสมหะร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ อาการอื่น ๆ ก็มีได้ เช่น มีน้ำมูก ระคายคอแต่มักจะไม่
เจ็บมากนัก รวมทั้ง อาการอื่น ๆ ที่พบร่วมด้วยก็จะมีส่วนช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคได้
ลักษณะการไอของแต่ละโรคเป็นอย่างไร ? แพทย์มีแนวทาง วินิจฉัยและรักษาอย่างไร ?
ขอแจงรายละเอียดเป็นโรคๆ (ที่พบบ่อยๆ) ดังนี้ครับ
         1. โพรงจมูกและไซนัสอักเสบ:  
             คนไข้กลุ่มนี้ มักไอจากมีเสมหะไหลลงคอหรือมีคอ อักเสบร่วมด้วย 
เมื่อมีคออักเสบคอจะยิ่ง ระคายเคือง ถูกกระตุ้นให้ไอได้ง่าย การ เอ็กซเรย์ไซนัส 
จะเป็นการตรวจที่จะช่วย ยืนยันว่ามีหรือไม่มีไซนัสอักเสบ การรักษา เน้นที่ให้
ยาลดอาการคัดจมูก และให้ยา ปฏิชีวนะถ้ามีการติดเชื้อแบคทีเรีย หาก มีโรคภูมิแพ้
ก็ควรรักษาแบบภูมิแพ้ไปด้วย ร่วมกับยาสเตอรอยด์พ่นจมูกตามข้อบ่งชี้ เมื่อการ
อักเสบดีขึ้นอาการไอก็จะดีขึ้น ตามลำดับ
          2. โรคหืด:  
              ถ้าหายใจมีเสียงดังวี๊ดๆ หรือหอบ จากหลอดลมตีบร่วมกับอาการไอ
ในคนไข้ที่มีประวัติหอบหืดหรือภูมิแพ้ การ วินิจฉัยคงไม่ยาก เมื่อให้การรักษาแบบ 
โรคหืดโดยใช้ยาสูดสเตอรอยด์ร่วมกับ ยาขยายหลอดลมอาการไอก็จะดีขึ้นอย่าง 
รวดเร็ว แต่บ่อยครั้งอาการเนื่องจากหลอด ลมตีบอาจไม่ชัดเจนหรือไม่มีเลย มีแต่ 
อาการไอเพียงอย่างเดียว นอกจาก ประวัติและตรวจร่างกายแล้วอาจต้อง อาศัยการ
ตรวจสมรรถภาพปอดหรือ การทดสอบความไวของหลอดลมจึงจะ ให้การวินิจฉัยได้
         3. ไอตามหลังหวัด:  
             อย่างที่บอกข้างต้นแล้ว ครับว่าไอจากหวัดโดยส่วนใหญ่จะหาย ภายใน 
2-3 สัปดาห์ แต่มีประมาณร้อยละ 20 ที่ไออยู่เป็นเดือนๆ เนื่องจากเกิดภาวะ หลอดลม
ไวขึ้นชั่วคราว หรือไม่ก็การ ทำงานของเยื่อบุหลอดลมยังไม่กลับสู่ ปกติ คนไข้มักจะ
ไอมากขึ้นเมื่อกระทบเย็น ควันธูปควันบุหรี่ที่ระคายเคืองหรือกลิ่นฉุน การรักษาที่
สำคัญคือ ให้คนไข้เข้าใจ ธรรมชาติของโรค ยาที่ให้จะเป็นยา บรรเทาอาการ เช่น
ยาละลายเสมหะ ส่วน ยาระงับไอจะให้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ถ้า ไอมากๆ อาจลองให้
ยาสเตอรอยด์สูดร่วม กับยาขยายหลอดลมในขนาดต่ำๆ แต่มัก ได้ผลไม่ชัดเจน
         4. โรคกรดย้อน:  
             โรคนี้ทำให้เกิดอาการไอ หรือบางครั้งเสียงแหบได้ มีผู้ป่วยโรคนี้ถึง 1 ใน 
3 ที่ไม่มีอาการของหลอดอาหาร เลยทำให้วินิจฉัยยาก การวินิจฉัยให้ แน่นอน
ทางห้องปฏิบัติการอาจยุ่งยากเล็ก น้อยโดยการตรวจวัดความเป็นกรดพร้อมๆ ไปกับ
การวัดความดันในหลอดอาหารตลอด 24 ชม. ในทางปฏิบัติหากแพทย์ผู้ตรวจ 
สงสัยว่า อาจเป็นโรคนี้ก็อาจลองให้ยา รักษาแบบโรคกรดย้อนไปเลยแล้วดูผล 
การรักษาหลังจากนั้น
         5. ไอจากยาลดความดันกลุ่ม angiotensin converting enzyme inhibitor (ACEI): 
             มีไม่น้อย อาจถึงร้อยละ 10-40 ที่ผู้ป่วย ความดันโลหิตสูงแพ้ยากลุ่มนี้ 
โดยเมื่อ ได้ยากลุ่มนี้ไปสักระยะจะค่อยๆ เกิด อาการไอขึ้นมา ผู้ป่วยมักบอกว่ามีอาการ 
ไอแห้งร่วมกับอาการคันคอยิบๆ วิธีรักษา ที่ดีที่สุดคือเลิกใช้ยากลุ่มนี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้
ยากลุ่มนี้ต่อไปแพทย์อาจต้องใช้ยา ตัวอื่นมาช่วยคุมอาการไอ แต่ก็มักได้ผล ไม่ดีนัก
         6. ไอจากการสูบบุหรี่:  
             จริงๆแล้วคนที่สูบ บุหรี่เป็นประจำจะมีถึง 3 ใน 4 ที่มีอาการไอ ถ้าไอมีเสมหะ 
ทุกวันเป็นปีๆ ก็น่าจะเป็น จากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การหยุดบุหรี่ และสูดยารักษา
เฉพาะจะช่วยบรรเทาอาการ ได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่เคยไอเรื้อรังอยู่เดิม หาก อาการไอที่
เคยเป็นอยู่มีลักษณะเปลี่ยนไป จากเดิมเช่น ปริมาณเสมหะมากขึ้น สีเสมหะเปลี่ยนไป 
หรือไอถี่ขึ้น มักเป็น สัญญาณเตือนว่ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น หลอดลมอักเสบ
เฉียบพลัน มีการติด เชื้อของหลอดลม หรือมะเร็งปอดเป็นต้น
         7. วัณโรคปอด:  
             เป็นโรคที่พบบ่อยมากครับ สำหรับบ้านเรา บ่อยครั้งที่คนมักเข้าใจว่าเป็น
วัณโรคต้องผอมแห้งแรงน้อย ต้องมี คนใกล้ตัวเป็นวัณโรค แต่จริงๆแล้ว ไม่จำเป็นเลย
ครับสำหรับบ้านเรา เพราะ คนไทยเป็นวัณโรคกันมาก เราอาจสูด เอาเชื้อจากผู้ป่วยที่
เราไม่รู้จักโดยบังเอิญ เมื่อไรเราก็ไม่รู้ แล้วต่อมาร่วมปีหรือ หลายๆปีค่อยปรากฏอาการ
ขึ้นมา การ วินิจฉัยส่วนใหญ่ไม่ยากครับ เพราะ เอ็กซเรย์ปอดสามารถเห็นรอยโรค

แหล่งที่มา : guru.google.co.th

อัพเดทล่าสุด