ประวัติโรคสมองพิการ การป้องกันโรคสมองพิการ การดูแลและป้องกันของโรคสมองพิการ


828 ผู้ชม


ประวัติโรคสมองพิการ การป้องกันโรคสมองพิการ การดูแลและป้องกันของโรคสมองพิการ
โรคสมองพิการ 

ลักษณะของเด็กสมองพิการ

  1. เด็กสมองพิการ มีหลายชนิด แต่ส่วนใหญ่จะอ่อนปวกเปียก และจะค่อยๆ เกร็งมากขึ้นทีละน้อย ลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนของเด็กสมองพิการ ได้แก่ กล้ามเนื้อหดตัวและเกร็ง พบความผิดปกติของการควบคุมการเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวช้า เก้งก้าง และมีอาการเกร็ง กลุ่มนี้พบมากที่สุด
  2. บางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้อควบคุมการเคลื่อนไหวได้ยาก แขน ขาไม่สัมพันธ์กัน หันออกไปตามทิศต่างๆ ส่วนชนิดที่มีอาการสั่น เดินเซ ควบคุมการทรงตัวได้ไม่ดี เป็นชนิดที่พบน้อยที่สุด
  3. ในกรณีที่เป็นแบบผสม จะพบลักษณะร่วมกันตั้งแต่ 2 ชนิด เช่น มีอาการเกร็ง ร่วมกับมีอาการเคลื่อนไหวของแขนและขาไม่สัมพันธ์กัน หันไปคนละทิศ หรือมีอาการเกร็งและควบคุมการทรงตัวไม่ได้ มีอาการสั่น เดินเซ เป็นต้น

อาการผิดปกติของเด็กโรคสมองพิการ

  1. ไม่สามารถตั้งคลานได้
  2. มีอาการเกร็งของแขนและขาทั้งสองข้าง
  3. มีอาการเกร็งของแขน ขา ซีกใดซีกหนึ่ง
  4. เมื่อฉุดเด็กนั่ง คอเด็กจะตกไปข้างหลัง
  5. มีการกำมือตลอดเวลา แม้อายุมากขึ้น
  6. ขณะนั่งและยืน เด็กไม่สามารถวางเท้าราบกับพื้นได้
  7. เด็กอ่อนปวกเปียกขณะถูกอุ้ม เด็กไม่สามารถทรงตัวได้

โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง

  1. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง หรือที่เรียกว่า spastic CP พบได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50- 75 ของทั้งหมด โดยจะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อมากผิดปกติ ร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติจากผลของปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ สามารถแบ่งเป็นกลุ่มๆตามส่วนของร่างกายที่ผิดปกติออกเป็นหลายประเภท
  2. ประเภท spastic hemiparesis พบมากที่สุดในบรรดาผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดหดเกร็ง มีอาการของแขนและขาข้างเดียวกัน โดยแขนเป็นมากกว่าขา เห็นลักษณะท่าทางของแขนที่ผิดปกติชัดเจน คือ มีการงอของข้อศอก แขนคว่ำ ข้อมือและนิ้วงอ ส่วนที่ขาจะเดินเท้าจิกลง ส่วนมากโรคสมองพิการชนิดหดเกร็งกลุ่มนี้เกิดจากการบาดเจ็บช่วงการคลอด
  3. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็งประเภท spastic diplegia มีอาการของขาและแขนทั้ง 2 ข้าง โดยขา 2 ข้างมีอาการมากกว่าแขน เด็กจะเดินเกร็งเท้าจิกลงหรือไขว้กัน ส่วนที่แขนพบมีเพียงความตึงตัวของกล้ามเนื้อหรือปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ที่ไวกว่าปกติ มักมีสาเหตุจากการคลอดก่อนกำหนด
  4. ประเภท spastic quadriplegia มีอาการของแขนขาทั้งหมด โดยขา 2 ข้าง มีอาการมากกว่าแขน และในส่วนของแขน มีความผิดปกติให้เห็นชัดเจน เกิดจากพยาธิสภาพในสมองที่ใหญ่และรุนแรง มักจะมีความผิดปกติในส่วนอื่นของร่างกายร่วมด้วย รวมทั้งปัญหาการดูด กลืนและการพูด
  5. โรคสมองพิการชนิดหดเกร็งประเภท double hemiplegia มีอาการของแขนขาทั้งหมด และแขน 2 ข้างมีอาการมากกว่าขา
  6. ผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดหดเกร็งมักมีอาการที่ขามากกว่าแขน พบปัญหาความผิดปกติด้านการเรียนรู้และอาการชักได้น้อย แต่อาจพบอาการสั่นเกิดขึ้นที่แขนขาข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย บางรายอาจสั่นมากจนมีผลต่อการเคลื่อนไหว

โรคสมองพิการชนิดยุกยิก

  1. โรคสมองพิการชนิดยุกยิก หรือที่เรียกว่า athetoid CP (dyskinetic CP) พบได้ร้อยละ 10-20 ของทั้งหมด ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากภาวะเหลืองหลังคลอดในทารกแรกเกิด ซึ่งปัจจุบันลดลงจากการแพทย์ที่ดีขึ้น มักมีอาการที่แขนมากกว่าขา
  2. บางรายมีการเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ ของกล้ามเนื้อส่วนปลายแขน รวมทั้งใบหน้า (athetosis) บางรายมีการเคลื่อนไหวของใบหน้าและกล้ามเนื้อส่วนปลายแขนอย่างรวดเร็ว และไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ (chorea)
  3. โรคสมองพิการชนิดยุกยิกประเภท dystonia จะมีการบิดและการเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะที่ส่วนของลำตัวและกล้ามเนื้อต้นแขน และจะคงอยู่ในท่านั้น ๆ อยู่ช่วงระยะเวลาหนึ่ง
  4. พบว่ามีการสั่นของกล้ามเนื้อเป็นจังหวะ (tremor) ร่วมด้วยบ่อยในผู้ป่วยเด็กโรคสมองพิการชนิดยุกยิก
  5. โรคสมองพิการชนิดยุกยิกมักมีอาการผิดปกติปรากฏชัดที่กล้ามเนื้อใบหน้าและลิ้น พบอาการพูดไม่ชัดได้บ่อย บางรายมีความผิดปกติของการได้ยินร่วมด้วย

โรคสมองพิการชนิดเดินเซ

  1. โรคสมองพิการชนิดเดินเซ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ataxic CP พบได้ร้อยละ 5-10 ของทั้งหมด
  2. สูญเสียความสามารถในการทรงตัวและการรับรู้ระดับสูง-ต่ำ การทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อแขนขาอาจบกพร่องอย่างรุนแรง ลักษณะการเดินไม่มั่นคงและเท้าทั้งสองแยกห่างออกจากกัน
  3. มักมีปัญหากับการเคลื่อนไหวที่รวดเร็วหรือที่ต้องใช้ความแม่น



แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด