วิธีการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง บุหรี่ กับ โรคถุงลมโป่งพอง ปอด ผลกระทบจากการสูบบุหรี่


1,117 ผู้ชม


วิธีการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง บุหรี่ กับ โรคถุงลมโป่งพอง ปอด ผลกระทบจากการสูบบุหรี่

 

อาการโรคถุงลมโป่งพอง 
image

ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองจะมีอาการแตกต่างกันได้มาก ตั้งแต่มีอาการเพียงเล็กน้อย จนมากถึงขนาดไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติ ระยะแรกๆ จะมีอาการไอเรื้อรัง อาจมีเสมหะร่วมด้วย เป็นหวัดง่ายแต่หายช้า หลอดลมอักเสบบ่อยๆ หากยังสูบบุหรี่อยู่ อาการก็จะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ระยะต่อมาจะมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้นเรื่อยๆ
หน้าอกบวมโป่ง หายใจมีเสียงวี้ดในอก ออกกำลังได้น้อย ขึ้นบันไดหรือเดินเร็วๆ ก็เหนื่อยแล้ว ระยะที่โรคเป็นมาก แม้จะทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ผู้ป่วยก็จะเหนื่อย เช่น เดินไปมาในบ้านก็เหนื่อย และระยะสุดท้ายอยู่เฉยๆ ก็เหนื่อย
ไม่สามารถทำอะไรได้เลย เหมือนคนพิการ ต้องนอนเฉยๆ และต้องใช้ออกซิเจน ช่วยในการหายใจตลอดเวลา เนื่องจากถุงลมถูกทำลายจนไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีก

ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง มักจะมีอาการไอเป็นเลือดได้บ่อย ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะที่โรคกำลังกำเริบ ผู้ป่วยไอมาก ไอรุนแรง เสมหะข้นเหนียวและ มีหนองปน เลือดที่ปนออกมาไม่มากเท่าใดนัก อาการไอเป็นเลือดอาจเป็นอาการของโรคมะเร็งปอดที่เกิดขึ้นร่วมด้วยได้ จึงควรไปพบแพทย์และตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติม


การวินิจฉัย

โรคนี้สามารถให้การวินิจฉัยได้จากประวัติอาการ การตรวจร่างกาย การตรวจภาพรังสีการประเมินความรุนแรงของโรค พบว่าบางครั้งโรคจะอยู่ในระยะสงบ ผู้ป่วยสบายดีหรือมีอาการหอบเหนื่อยเพียงเล็กน้อย ในขณะที่บางครั้งอาการอาจรุนแรงมาก อาการหอบเป็นมากขึ้น รู้สึกเหนื่อย กินอาหารไม่ได้ นอนไม่ได้ การตรวจวัดสมรรถภาพของปอดและทางเดินหายใจช่วยประเมินความรุนแรงของโรคได้เป็นอย่างดี เครื่องไม้เครื่องมืออาจแตกต่างกันไปได้บ้าง แต่ผลการตรวจจะช่วยให้แพทย์วางแนวทางการดูแลรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การวัดระดับความเข้มข้นของก๊าซออกซิเจนในเลือด ก็ถือว่าเป็นดัชนีที่มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงของโรคเช่นกัน

การรักษา

หลักการรักษาโรคถุงลมโป่งพอง นอกจากจะบรรเทาอาการของผู้ป่วยแล้ว แพทย์ยังจะต้องนึกถึงวิธีที่จะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น และถ้าเป็นไปได้ให้มีชีวิตอยู่นานขึ้นด้วย การรักษาตัวของผู้ป่วยถ้าทำโดยถูกวิธี อย่างน้อยอาจทำให้ผู้ป่วยสบายขึ้น มีอาการเหนื่อยน้อยลง สามารถที่จะทำงานหรือช่วยตัวเองได้มากขึ้น อาการกำเริบของโรคน้อยลงและเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลน้อยลงด้วย

 

แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด