ว่านหางจระเข้ สรรพคุณว่านหางจระเข้ ประโยชน์ว่านหางจระเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้


1,838 ผู้ชม


ว่านหางจระเข้ สรรพคุณว่านหางจระเข้ ประโยชน์ว่านหางจระเข้ สรรพคุณของว่านหางจระเข้

 

“ว่านหางจระเข้” มหัศจรรย์สมุนไพรไทย

          กระแสความงามที่หนุ่มสาวสมัยใหม่ในสังคมต่างเรียกร้องโหยหาความงามของตนเองภายใต้หน้ากากที่ห่อหุ้มจากมลภาวะในสังคม จุดนี้เองจึงเกิดกระแสสร้างความงามด้วยเคมีขึ้น

          แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าทางด้านราคาและความปลอดภัยทางเคมีแล้ว กลับมีผลเสียมากกว่าผลดีที่ได้ จึงทำให้หลายฝ่ายต่างหวนหาและย้อนกลับมาใช้ความคุ้มค่าจากสมุนไพร

          ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความคุ้มค่าของสมุนไพรอย่าง “ว่านหางจระเข้” จากภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น ยาทาบาดแผล เพื่อใช้ในการรักษาแผลไฟไหม้หรือรอยขีดข่วน เมื่อตัดว่านหางจระเข้จะมีเมือกเหนียวๆ ซึ่งมีคุณสมบัติโปร่งแสง โดยนำว่านหางจระเข้ปิดไว้ที่บาดแผลจะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าไป และไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค มีส่วนช่วยบำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ดีอีกด้วย

          ด้วยเหตุนี้คลินิกเพื่อความสวยความงามหลายๆ แห่งได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้สมุนไพรอย่าง “ว่านหางจระเข้” จึงคิดค้นเวชสำอางหลายชนิดที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ เพราะว่านหางจระเข้นอกจากจะมีคุณค่าด้านการรักษาโรคแล้ว ยังสามารถใช้บำรุงผิวและเส้นผมได้อีกด้วย จะเห็นได้ว่าเวชสำอางหลายชนิดในท้องตลาดที่ใช้สมุนไพรและว่านหางจระเข้เป็นส่วนประกอบนั้นกำลังเป็นที่นิยมของคนทั่วไป

          เนื่องจากว่านหางจระเข้มีคุณสมบัติสามารถช่วยให้กระบวนการเมตะโบลิซึมทำงานได้เป็นปรกติ ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค กระตุ้นการเกิดใหม่ของเนื้อเยื่อส่วนที่ชำรุด ฉะนั้นว่านหางจระเข้จึงถูกนำมาใช้เพื่อบำรุงผิวพรรณ

          ผู้ที่ใช้ว่านหางจระเข้บำรุงผิวพรรณอยู่เป็นประจำจะรู้สึกได้ว่าว่านหางจระเข้มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณผุดผ่อง สดชื่น มีน้ำมีนวล และยังสามารถขจัดสิว ใช้ว่านหางจระเข้ทาบริเวณหัวสิวจะทำให้หัวสิวแห้งเร็ว และลบรอยจุดด่างดำได้ด้วย โดยส่วนที่นำมาใช้มี 2 ส่วนคือ ส่วนที่ 1.ยางจากใบ โดยการทำให้แห้งเป็นก้อน เรียกว่า ยาดำ นำมาใช้เป็นยาระบาย ส่วนที่ 2.ส่วนที่เป็นวุ้น

          สารที่มีประโยชน์ เช่น สารอะโลอิน (aloin) และสารอื่นๆ มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase)ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง

          นอกจากนี้เอกสารทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์ โรมัน กรีก แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดีย และจีน ก็มีการรายงานใช้พืชนี้เป็นทั้งเครื่องสำอางและยาด้วยเช่นกัน ทั้งในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไป และระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปรกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ แผลมีดบาด ผื่นคัน สิว ผิวหนังเป็นด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนังในกรณีของโรคเรื้อน

          ทราบไหมครับ แม้แต่พระนางคลีโอพัตราผู้เลอโฉมยังทรงรักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้ด้วยเช่นกัน

แหล่งที่มา : thaihealth.or.th , หนังสือพิมพ์โลกวันนี้

อัพเดทล่าสุด