สมุนไพรรักษาโรคมะเร็ง สมุนไพรรักษาโรคหัวใจ สมุนไพรรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ
พืชสมุนไพร ประเภท สมุนไพรแก้มะเร็ง
ข่อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Siamese Rough Bush, Tooth Brush Tree, Streblus aspera Lour.ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : กักไม้ฝอย, ส้มพอ
รูปลักษณะ : ข่อย เป็นไม้ยืนต้น มีน้ำยางขาว สูง 5-15 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่แกมขอบขนาน รูปวงรี หรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ผิวใบสากคาย ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศอยู่คนละต้น ช่อดอกตัวผู้เป็นช่อกลม ช่อดอกตัวเมียออกเป็นกระจุกมี 2-4 ดอกย่อย กลีบดอกสีเหลือง ผลสด รูปไข่ เมื่อสุกสีเหลือง
สรรพคุณของ ข่อย : เปลือกต้น แก้โรคผิวหนัง รักษาแผล หุงเป็นน้ำมันทารักษาริดสีดวงทวาร รักษารำมะนาด แก้ท้องร่วง เมล็ด ผสมกับหัวแห้วหมู เปลือกทิ้งถ่อน เปลือกตะโกนา ผลพริกไทยแห้งและเถาบอระเพ็ด ดองเหล้าหรือต้มน้ำดื่ม เป็นยาอายุวัฒนะ
ทองพันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhinacanthus nasutus (Linn.) Kurz.ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : ทองคันชั่ง, หญ้ามันไก่
รูปลักษณะ : ทองพันชั่ง เป็นไม้พุ่ม สูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่หรือรูปวงรี กว้าง 2-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากล่างมีจุดสีม่วงแดง ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณของ ทองพันชั่ง : ใบสด, ราก ใช้ใบสดและรากโขลกละเอียด แช่เหล้าโรง 1 สัปดาห์ เอาน้ำเหล้าทาแก้กลากเกลื้อน สารสำคัญ คือ Rhinacanthin และ Oxymethylanthraquinone
พญาสัตบรรณ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blackboard Tree, Devil Tree, Alstonia scholaris (Linn.) R. Br.ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE
ชื่ออื่น : สัตบรรณ, ตีนเป็ด, ตีนเป็ดขาว, ชบา, ยางขาว, หัสบรรณ
รูปลักษณะ : พญาสัตบรรณ เป็นไม้ยืนต้น สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีเทา มียางขาวมาก กิ่งแตกออกรอบข้อ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อๆ ละ 6-9 ใบ รูปขอบขนานแกมใบหอกกลับหรือรูปไข่กลับ กว้าง 2-6 ซม. ยาว 5-18 ซม. ปลายทู่กลม หรือเว้าเล็กน้อย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว แกมเหลือง ผลเป็นฝักออกเป็นคู่ รูปกลมยาว
สรรพคุณของ พญาสัตบรรณ : เปลือกต้น ใช้แก้ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ แก้บิด สมานลำไส้ การทดลองในสัตว์พบว่า สารสกัดจากเปลือกต้น มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด รักษาแผลเรื้อรัง และต้านเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
ราชดัด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Brucea javanica (Linn.) Merr.ชื่อวงศ์ : SIMAROUBACEAE
ชื่ออื่น : กระดัด, ฉะดัด, กาจับหลัก, เท้ายายม่อมน้อย, มะดีความ, ดีคน, พญาดาบหัก
รูปลักษณะ : ราชดัด เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับเวียนรอบกิ่ง ใบย่อย รูปไข่แกมใบหอก กว้าง 3-6 ซม. ยาว 5-10 ซม. ขอบใบหยัก ผิวใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ มีต้นที่พบเฉพาะช่อดอกตัวผู้ และต้นที่มีทั้งดอกตัวผู้ และดอกตัวเมียในช่อเดียวกัน ดอกย่อยมีขนาดเล็ก สีน้ำตาลแดง มีขนปกคลุม ผลเป็นผลสด เมื่อแห้งมีสีน้ำตาลดำ คล้ายเมล็ดมะละกอแห้ง
สรรพคุณของ ราชดัด : ผล ผลแห้งบำรุงน้ำดี แก้ไข้ และแก้บิด เมล็ด ยับยั้งการเจริญของมาลาเรียชนิด ฟัลซิพารัม และเชื้อบิดในหลอดทดลอง แต่พบความเป็นพิษสูง
สะบ้าลิง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mucuna gigantea (Willd.) DC.ชื่อวงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ, หมามุ้ย
รูปลักษณะ : สะบ้าลิง เป็นไม้เถาเลื้อยพัน ยาว 5-15 เมตร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ใบย่อยรูปไข่แกมวงรี กว้าง 5-9 ซม. ยาว 9-16 ซม. ดอกช่อกระจะ ออกที่ซอกใบ ห้อยลงกลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก สีดำมีขนสีน้ำตาลอ่อน ปกคลุมหนาแน่น เมล็ดแข็งสีน้ำตาลอ่อนมีลาย
สรรพคุณของ สะบ้าลิง : เปลือก, ต้น มีสารกลุ่มซาโปนิน ใช้ล้างแผล สระผม, นำมาต้มน้ำผสมเกลือ อมแก้ปวดฟัน เมล็ด เผา บดเป็นผงผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้คัน และโรคผิวหนัง
หญ้าปักกิ่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Murdannia loriformis (Hassk.) Rolla Rao et Kammathyชื่อวงศ์ : COMMELINACEAE
รูปลักษณะ : หญ้าปักกิ่ง เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 10 ซม. ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบที่โคนต้นกว้างประมาณ 1.5 ซม. ยาว 10 ซม. ใบส่วนบนสั้นกว่าใบที่โคนต้น ดอกช่อ ออกที่ปลายยอด รวมกันเป็นกระจุกแน่น ใบประดับย่อยค่อนข้างกลมซ้อนกัน สีเขียวอ่อน บางใส กลีบดอกสีฟ้าหรือม่วงอ่อน ร่วงง่าย ผลแห้ง แตกได้
สรรพคุณของ หญ้าปักกิ่ง : หญ้าปักกิ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ แถบสิบสองปันนา ในตำรายาจีนปรากฏชื่อพิชสกุลเดียวกันนี้ ใช้รักษาอาการเจ็บคอ และมะเร็ง ในประเทศไทยมีผู้นำหญ้าปักกิ่งมาใช้รักษาอาการของโรคมะเร็งหลายชนิด เช่นมะเร็งในลำคอ ตับ มดลูก ลำไส้ ผิวหนัง และเม็ดเลือด เป็นต้น โดยนำหญ้าปักกิ่ง 6 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ปั่นหรือตำให้แหลก เติมน้ำ 4 ช้อนโต๊ะ คั้นเอาแต่น้ำแบ่งครึ่ง ดื่ม 2 ครัง ก่อนอาหารเช้าครึ่งชั่วโมง และก่อนนอน หญ้าปักกิ่งไม่มีพิษเฉียบพลัน และพิษกิ่งเรื้อรังในหนูขาว เป็นสมุนไพรที่มีศักยภาพ ในการรักษาโรคมะเร็ง ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย
เหงือกปลาหมอดอกม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sea Holly, Acanthus ilicifolius Linn.ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : แก้มหมอเล, จะเกร็ง, อีเกร็ง, เหงือกปลาหมอน้ำเงิน
รูปลักษณะ : เหงือกปลาหมอดอกม่วง เป็นไม้พุ่ม สูง 0.5-1.0 เมตร พบตามป่าชายเลน และบริเวณน้ำกร่อย ชนิดดอกขาวพบในภาคกลาง และภาคตะวันออก ส่วนชนิดดอกม่วงพบทางภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ลำต้นกลมเรียบ แข็ง สีเขียวแกมเทา มักมีหนามตามข้อๆ ละหนาม ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปขอบขนาน กว้าง 3-7 ซม. ยาว 6-20 ซม. ขอบใบเว้าหยักซี่ฟันห่างๆ ปลายซี่เป็นหนาม ผิวใบเรียบเป็นมัน เนื้อใบเหนียวแข็ง ดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง ชนิดดอกขาวมีกลีบดอกสีขาว จุดประสีแดงหรือม่วงแดง ชนิดดอกม่วงมีกลีบดอกสีม่วงอมฟ้า มีแถบสีเหลืองอ่อนกลางกลีบ ผลเป็นฝัก รูปไข่หรือทรงกระบอก
สรรพคุณของ เหงือกปลาหมอดอกม่วง : ต้น, เมล็ด รักษาฝี แก้โรคน้ำเหลืองเสีย เมล็ดเป็นยาขับพยาธิ ใช้น้ำคั้นใบทาศีรษะ ช่วยบำรุงรักษารากผม ใบ เป็นยาอายุวัฒนะ โดยปรุงรวมกับพริกไทย ในอัตราส่วน 2:1 บดทำเป็นยาลูกกลอน กินครั้งละ 1-2 เม็ด
แหล่งที่มา : likemax.com