การป้องกันโรคปากนกกระจอก ยารักษาโรคปากนกกระจอก วิตามินโรคปากนกกระจอก
ทานข้าวกล้อง-ผักใบเขียว ป้องกันโรค “ปากนกกระจอก”
เจอกันบ่อย ที่มีแผลที่มุมปาก มีอาการเจ็บเวลาอ้าปาก หรือเวลาทานอาหาร โรคปากนกกระจอก จะมาจากการขาดสารอาหาร แต่ว่าแผลที่มุมปาก ก็อาจจะเกิดจากการติดเชื้อ พวกเชื้อราหรือเชื้อแบคทีเรียได้
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้
โรคนี้เกิดได้ในทุกช่วงอายุ ยิ่งที่คนมีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือผ่านการฉายรังสี หรือเป็นเบาหวานจะยิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้น
ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็คือ
การขาดธาตุเหล็ก
การขาดวิตามิน B2
การขาดวิตามิน B12
การขาดวิตามิน Folate
การใช้ฟันปลอมหรืออุปกรณ์ดัดฟันที่ไม่พอดี
อาการที่พบได้
แผลที่มุมปาก จะมีลักษณะได้หลายแบบตามความรุนแรงโรคปากนกกระจอกมีลักษณะเป็นวงกลมขาวๆ ขนาดเล็ก หรือเจ็บรอบๆ บริเวณที่เป็น สีแดง โรคปากนกกระจอกจะไม่มีการแพร่กระจาย ซี่งอาจทำให้สับสนกับโรคปากเปื่อย ซึ่งเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส มันอาจจะช่วยให้จำได้ง่ายว่า และก็สามารถเกิดซ้ำได้อีก มีทั้งขนาดเล็ก ใหญ่ หรือกระจายกันเป็นกลุ่ม
การดูแลเบื้องต้น
โรคปากนกกระจอก โดยปกติแล้วโรคปากนกกระจอกจะหายได้ภายใน 7-10 วัน ถึงแม้ว่าอาการจะเกิดขึ้นอีกเป็นปกติ ไม่มียาที่สั่งจากแพทย์โดยเฉพาะซึ่งเป็นยาขี้ผึ้ง หรือยาบรรเทาอาการปวด สามารถบรรเทาได้เพียงชั่วคราว บ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก ที่ต่อต้านจุลินทรีย์อาจช่วยอาการอักเสบได้ บางครั้งยาปฏิชีวนะอาจเป็นการลดอาการ ทางอ้อมได้
ทางเลือกง่าย ๆ คือ เปลี่ยนมาทานข้าวกล้อง ผักใบเขียว จะได้วิตามิน B เพิ่มขึ้น หรืออาจจะทานวิตามิน B รวม วันละ 3 เวลาหลังอาหารก็ได้ถ้ามีอาการเจ็บมาก อาจจะใช้ครีมที่ทาลดการอักเสบ ลดอาการเจ็บได้แต่ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ควรจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีสาเหตุมาจากการติดเชื้อหรือไม่ ซึ่งหากพบว่ามีการติดเชื้อก็จำเป็นต้องรับยารักษาตามเชื้อที่ตรวจพบนั้นๆ
การดูแลสุขภาพในช่องปาก แปรงฟันเป็นประจำ และการดื่มน้ำให้มากๆ เพื่อป้องกันปากแห้ง ก็จะช่วยลดการเกิดแผลได้
แหล่งที่มา : thaihealth.or.th