สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์ สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง สมุนไพรรักษาโรคถุงลมโป่งพอง


2,550 ผู้ชม


สมุนไพรรักษาโรคเก๊าท์ สมุนไพรรักษาโรคผิวหนัง สมุนไพรรักษาโรคถุงลมโป่งพอง

 

 

 

สมุนไพรแก้โรคเก๊าท์ โรคเรื้อน คุดทะราด

สมัยก่อน ไม้ต้นนี้ได้รับความนิยมปลูกเป็นไม้ประดับอย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นไม้ที่มีดอกสวยงามแปลกตามาก และในสมัยนั้นจะมีผู้ขยายพันธุ์นำต้นออกวางขายอย่างกว้างขวาง ที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ แต่ในปัจจุบัน ต้น ดองดึง” กลายเป็นไม้ที่ถูกลืม ไม่ได้รับความสนใจจากผู้ปลูกเหมือนเช่นแต่ก่อนอีก จนกลายเป็นไม้หายากไปโดยปริยาย

ทุกวันนี้ ทราบว่า ดองดึง” ชนิดที่เป็นต้นปลูกในกระถางไม่พบว่ามีวางขายแล้ว จะมีเฉพาะ หัว” ของ ดองดึง” เท่านั้น วางขายให้ผู้ซื้อ ซื้อไปปลูกเอง จึงแจ้งให้ทราบอีกตามระเบียบ
ดองดึง หรือ GLORIOSA SUPERBA LINN. ชื่อสามัญ GLORY LILY, CLIMBING LILY อยู่ในวงศ์ LILIACEAE มี ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดเล็ก มีหัวใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปใบหอกค่อนข้างยาว ปลายใบยืดยาวและม้วนลงเป็นมือเกาะ โคนใบมน สีเขียวสด

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบรวมมี กลีบ เป็น รูปแถบโค้งกลับไปทางด้านก้านดอก ขอบหยักเป็นคลื่น ดอกเป็นสีเขียวอ่อน เปลี่ยนเป็นสีเหลืองและสีแดง เมื่อบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ซม. มีเกสรตัวผู้ อัน ก้านเกสรกางแผ่เป็นรัศมี เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันทั้งต้นจะดูสวยงามมาก ผล” เป็นฝัก เมื่อแก่แตกได้ ภายในมีเมล็ด ดอกออกช่วงฤดูฝน ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและหัวใต้ดิน ถิ่นกำเนิดเอเชียเขตร้อนทั่วไป และ แอฟริกา มีชื่อเรียกอีกคือ ก้ามปู (ชัยนาท) คมขวานบ้องขวานหัวขวาน (ชลบุรี) ดาวดึงส์,ว่านก้ามปู (ภาคกลาง) พันมหา (นครราชสีมา) และ มะขาโก้ง (ภาคเหนือ)


ประโยชน์ หัวใต้ดิน และ เมล็ด มีสารจำพวก อัลคาลอยด์” ชื่อCOLCHICINE, SUPER BINE, GLORIOSINE, METHYLCOLCHICINEโดยเฉพาะ COLCHICINE ใช้ในยาแผนปัจจุบัน แก้โรคปวดข้อ (GOUT) และฆ่าเซลล์มะเร็งบางชนิด ยาพื้นบ้าน แก้โรคเรื้อน คุดทะราด บาดแผล แก้เสมหะ หัว ฝนทาแก้พิษสัตว์กัดต่อย แต่ หัวกับเมล็ดก็มีโทษ ถ้ากินมากจะคลื่นไส้อาเจียน ทำให้หมดสติและตายได้ จึงต้องระวังครับ

ความรู้เรื่องโรคเก๊าท์
โรคเก๊าท์ (Gout) 
โดย อ.นพ.สมบูรณ์ อินทราภาพร
โรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ การเกิดเก๊าท์มักต้องมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าระดับกรดยูริกยิ่งสูง อุบัติการณ์ในการเกิดโรคจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และจะเกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายจะพบโรคนี้ได้บ่อยกว่าเพศหญิงประมาณ เท่า แต่วัยหลังหมดประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะมีความชุกของโรคสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย


โรคเก๊าท์มีอาการอย่างไร 
จะเริ่มจากมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานก่อน โดยเฉลี่ยมักไม่น้อยกว่า 20 ปี การอักเสบของข้อครั้งแรกมักพบในผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักพบหลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว ข้ออักเสบในระยะแรกมักเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะมีการอักเสบรุนแรงเป็นเฉียบพลัน จากระยะเริ่มปวดจนอักเสบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง มักเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรือข้อเข่า บ่อยครั้งที่เป็นในเวลากลางคืนขณะหลับ ระยะแรกข้ออักเสบมักเป็นไม่นาน 2-5 วัน บางรายมีไข้ได้ ในผู้สูงอายุบางครั้งอาจมีข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกันโดยเฉพาะเป็นที่ข้อนิ้วมือข้างตั้งแต่ระยะแรกของโรคซึ่งอาจได้ประวัติได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย หลังจากข้ออักเสบหายแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน เดือนถึง ปี ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง จำนวนข้อที่อักเสบจะเพิ่มขึ้น เริ่มพบที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และข้อศอก การอักเสบรุนแรงขึ้น เป็นถี่ขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังไม่มีช่วงหายสนิท ระยะนี้มักพบตุ่มโทฟัส (tophus) ใต้ผิวหนัง ตามเนื้อเยื่อต่างๆรอบข้อ ระยะเวลาตั้งแต่ข้ออักเสบครั้งแรกจนถึงระยะนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 11.6 ปี แต่ถ้าเริ่มมีข้ออักเสบเป็นครั้งแรกในวัยสูงอายุ ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ข้ออักเสบครั้งแรกจนถึงระยะที่เกิดตุ่มโทฟัสจะสั้นลง คือมีแนวโน้มเกิดตุ่มโทฟัสเร็วและมักพบตามนิ้วมือแทนที่จะพบบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อศอก หรือข้อเข่าก่อน

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบหรือทำให้ข้ออักเสบหายช้าได้แก่อะไรบ้าง 
ได้แก่ การได้รับยาบางชนิดเช่นยาลดกรดยูริก ยาขับปัสสาวะ หรือยาแอสไพริน เป็นต้น ดังนั้นไม่ควรเริ่มยาหรือปรับเปลี่ยนยาดังกล่าวขณะที่มีข้ออักเสบ เพราะจะทำให้มีอาการมากขึ้นหรือหายช้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นได้แก่ การบาดเจ็บที่ข้อ การบีบนวดข้อ การดื่มแอลกอฮอล์ การผ่าตัด การเสียเลือด การเสียน้ำ และการติดเชื้อ เป็นต้น

จะดูแลรักษาอย่างไร 
การรักษาในระยะที่มีการอักเสบของข้อ ควรพักการใช้งานของข้อนั้น หลีกเลี่ยงการบีบนวดข้อ การประคบข้อ และเริ่มรักษาโดยเร็วโดยใช้ยาลดการอักเสบของข้อ ปัจจุบันที่นิยมใช้มียาโคลชิซิน (colchicine) และยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ยาโคลชิซิน ขนาดยาที่ใช้ เม็ด (0.6 มิลลิกรัม ) รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงในวันแรก และลดเหลือวันละ เม็ดในวันต่อมา ( ทั้งนี้ขึ้นกับการทำงานของไต สำหรับผู้สูงอายุอาจต้องลดขนาดยาลงโดยเฉพาะในวันแรก ) ให้นาน 3-7 วันหรือจนกว่าการอักเสบของข้อจะหายดี ผลข้างเคียงคือท้องเดินหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการดังกล่าวให้หยุดยา สำหรับยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) สามารถให้ได้เช่นกัน ควรเลือกยาชนิดที่ค่าครึ่งชีวิตสั้น ออกฤทธิ์เร็ว จะให้ นาน 3-7 วัน หรือจนกว่าข้อที่อักเสบจะหายดี ข้อห้ามในการใช้ยาต้านการอักเสบคือผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร การทำงานของไตบกพร่อง หรือมีโรคตับเป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องใช้จะต้องประเมินปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ไม่ควรให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับยูริกในระยะนี้เช่นผู้ป่วยที่ทานยาลดกรดยูริกในเลือดอยู่ไม่ควรให้หยุดยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือยังไม่ได้รับยาลดกรดยูริกมาก่อนแพทย์ไม่ควรเริ่มยาลดกรดยูริกในระยะนี้

การรักษาระยะยาวเพื่อป้องกันการอักเสบซ้ำ 
• การป้องกันการเกิดข้ออักเสบซ้ำ ภายหลังจากข้ออักเสบหายแล้ว ถ้าผู้ป่วยมีข้ออักเสบเป็นซ้ำอีกหลายครั้ง ภายใน 1ปีจะแนะนำให้ทานยาโคลชิซินป้องกันโดยให้ขนาด 0.6-1.2 มิลลิกรัม / วัน จนกว่าตรวจไม่พบตุ่มโทฟัส ระดับกรดยูริกในเลือดลงต่ำกว่า 4-5 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และไม่มีข้ออักเสบเลยอย่างน้อย 3-6 เดือน

• การรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูง โดยมีเป้าหมายเพื่อไปละลายกรดยูริกหรือผลึกยูเรตที่อยู่ในข้อ, รอบๆข้อตามตุ่มโทฟัส หรือตามเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ไต โดยใช้ยาลดกรดยูริกในเลือดซึ่งขณะนี้มี กลุ่มใหญ่ได้แก่ยาเพิ่มการขับกรดยูริกทางไต และยาลดการสร้างกรดยูริก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใช้ยาชนิดใดนั้นขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาเป็นระยะเวลาหลายปี มีการตรวจเลือดเช็คระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ โดยเป้าหมายจะต้องให้ระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า 5.0-6.0 มิลลิกรัม / เดซิลิตร

• คำแนะนำอื่นๆ โรคเก๊าท์มักสัมพันธ์กับการมีโรคร่วมอื่น ได้แก่ ภาวะไขมันสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องรับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคร่วมด้วยเสมอ ต้องลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักตัว ดื่มน้ำพอสมควร งดการดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับอาหารนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่จำป็นต้องจำกัดอาหารประเภทสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หรือยอดผัก เพราะอาหารประเภทดังกล่าวมีผลทำให้เกิดข้ออักเสบได้น้อย ยกเว้นต้องจำกัดอาหารเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือไขมันเป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรจะต้องได้รับการประเมินการทำงานของไตและนิ่วของทางเดินปัสสาวะเสมอ

แหล่งที่มา : dongdueng.blogspot.com

อัพเดทล่าสุด