วิธีสังเกตุอาการไข้เลือดออก การดูแลอาการไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกของเด็กเล็ก


932 ผู้ชม


วิธีสังเกตุอาการไข้เลือดออก การดูแลอาการไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกของเด็กเล็ก

 

 รู้ทันภัยไข้เลือดออก

ไข้เลือดออก ยุงลาย     ไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่ง ที่ได้รับการกล่าวถึงอย่างมากตามหน้าหนังสือพิมพ์ และสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงฤดูฝน แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคไข้เลือดออกนี่สามารถ แพร่ระบาดได้ตลอดทั้งปี  แต่จะพบจำนวนการแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือน พฤษภาคมถึงกันยายน 
     ไข้เลือดออก เกิดจากเชื้อไวรัส “เดงกี่” ที่มีอยู่ทั้งสิ้น 4 ชนิด เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย ตัวร้ายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยที่เป็นโรคและแพร่เชื้อไปยังกลุ่มคน อื่นๆ ซึ่งโรคนี้ไม่เพียงแต่จะเกิดกับเด็กๆ เท่านั้น แต่สามารถเกิดได้กับคนทุกกลุ่มทุกอายุ และใน ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าผู้ใหญ่จะป่วยเป็นโรคนี้กันมากขึ้น 

     อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกจะแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ซึ่งการสังเกตอาการของตัว เองจะทำให้ผู้ป่วยมารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที และไม่เกิดอันตรายร้ายแรง ดังนี้ค่ะ 
      ระยะที่ 1 คือ ระยะไข้ ผู้ป่วยจะมีไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดง มีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อาจมีจุดแดงตามลำตัว แขน และขา โดยจะมีอาการเหล่านี้อยู่ประมาณ 2-7 วัน
      ระยะที่ 2 คือ ระยะช็อก ระยะนี้จะเกิดในช่วงไข้ลด ผู้ป่วยจะมีอาการซึม มือเท้าเย็น ชีพจรเต้น เร็วแต่เบา มีอาการปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงด้านขวา ปัสสาวะน้อย มีเลือดออกได้ง่าย เช่น เลือด กำเดาไหล หรือ อาเจียนเป็นเลือด และมีอุจจาระสีดำ ระยะนี้เป็นระยะที่อันตรายมาก หากผู้ป่วยไม่ ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงทีอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
     ระยะที่ 3 คือ ระยะพักฟื้น อาการต่างๆ จะดีขึ้น ปัสสาวะมากขึ้น และรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น ในระยะนี้ผู้ป่วยบางรายอาจมีจุดแดงๆ ตามลำตัวและแขนขา
     เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มียาเฉพาะที่สามารถต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออกได้ วิธีการรักษาที่ดีที่สุด คือ การรักษาตามอาการของผู้ป่วย เช่น ในผู้ป่วยที่ มีไข้สูงการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ให้แก่ผู้ป่วย จึงเป็นสิ่งที่พึงกระทำที่สุด หากจำเป็นต้องให้ยาลดไข้ ควรใช้ยาพาราเซตามอลเท่านั้น ห้ามใช้ยา ลดปวดประเภทแอสไพรินโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้เลือดออกได้ง่ายขึ้น หากผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลียให้ดื่มน้ำผลไม้ หรือน้ำตาลเกลือแร่บ่อยๆ สุดท้าย คือ ต้องสังเกตอาการของผู้ป่วย หากผู้ป่วยมีอาการแย่ลง มือและเท้าเย็น ไข้ลดและกระสับกระส่าย จะต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่ สุด 
     ไม่ว่าจะเป็นโรคใดก็ตาม การป้องกันยังคงเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่ทุกๆ คนควรกระทำ เพื่อป้องกันตัวเองให้พ้นจากโรคร้าย โรคไข้เลือดออกก็เช่นเดียว กันที่การป้องกันยังคงเป็นวิธีที่ง่ายกว่าการรักษา ถ้าคุณไม่อยากให้ตัวเองและคนที่คุณรักต้องป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ก็ควรป้องกันโดยระมัดระวัง ไม่ให้ยุงกัดในตอนกลางวัน และกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยการปิดภาชนะเก็บน้ำให้มิดชิด ตรวจดูบริเวณโดยรอบไม่ให้มีน้ำขัง เก็บและ คว่ำหรือทำลายภาชนะที่ไม่ใช้แล้วเพื่อป้องกันไม่ให้มีน้ำขัง ใส่เกลือ น้ำส้มสายชู หรือผงซักฟอกลงในน้ำหล่อขาตู้ต่างๆ และถ้าคุณเป็นคนที่นิยมปลูก ดอกบัวในอ่างหรือเลี้ยงต้นไม้น้ำ ก็ควรนำปลาที่กินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูงมาเลี้ยงไว้ด้วยค่ะ 
      อย่าลืมค่ะว่า วิธีง่ายๆ เพียงเท่านี้ จะช่วยให้คุณและคนที่คุณรักปลอดภัยจากยุงลาย ตัวการสำคัญของโรคไข้เลือดออกค่ะ 

แหล่งที่มา : phuketbulletin.co.th

อัพเดทล่าสุด