การรักษาโรคไข้เลือดออก การดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก


1,124 ผู้ชม


การรักษาโรคไข้เลือดออก การดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก การควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก

ถ้าพบผู้ป่วยที่มีอาการ การสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออกอีโบล่า ควรปฏิบัติอย่างไร จะมีแนวทางในการดำเนินงานสืบสวนโรคและป้องกันการระบาดอย่างไร

           
ถ้าพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าน่าจะเป็นไข้เลือดออก ควรแนะนำให้ไปโรงพยาบาล เพื่อแพทย์จะได้ให้การดูแลรักษาได้ทันท่วงที  ถ้าผู้ป่วยมีประวัติเดินทางจากประเทศในแอฟริกา จงนึกถึงเชื้อที่พบในแอฟริกา คือ อีโบล่า ลาซซ่า และอื่น ๆ ผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัยโลก และศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค สหรัฐอเมริกา เชื่อว่านักท่องเที่ยวทั่วไปไม่คิดเชื้อไวรัสกลุ่มนี้ ผู้ที่จะติดเชื้อคือชาวพื้นเมืองที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย และนักเดินทางที่ไปอาศัยอยู่คลุกคลีกับชาวพื้นเมืองในหมู่บ้านมาตรการที่ใช้สำหรับป้องกันโรคติดเชื้อทั่วไปสามารถป้องกันการติดเชื้อได้แต่ต้องระมัดระวังเรื่องการได้สัมผัสเลือด หรือสิ่งปฏิกูลที่มีเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางของมีคม หรือเข็มฉีดยา หรือบาดแผล หรือทางเยื่อเมือก ไม่พบว่าติดจากคนไปสู่คนทางการหายใจ

          อย่างไรก็ตาม เชื้อนี้เพาะเลี้ยงง่ายในห้องปฏิบัติการ การที่มีเชื้อจำนวนมากอาจติดทางการหายใจได้ในสภาพละอองฝอย จากการปั่นรอบสูง หรือเข้าทางผิวหนังที่มีบาดแผลและเยื่อเมือก จึงแนะนำให้ปฏิบัติ งานในห้องที่มีระบบรักษาความปลอดภัยป้องกันการติดเชื้ออย่างดีที่สุดสำหรับไข้เลือดออกจากเชื้อกลุ่มฮันตา และเชื้อตัวอื่น ยังไม่พบว่ามีการระบาดในประเทศไทย


ไข้เลือดออกของเมืองไทย

         ไข้เลือดออกที่พบประจำในประเทศไทยเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ มีการระบาดเกือบทุกปีในหน้าฝน บางปีระบาดหนัก บางปีระบาดน้อย ส่วนใหญ่พบในเด็กนักเรียน พบได้ทุกอายุทั้งเด็กเล็ก วัยรุ่นและผู้ใหญ่  โรคไข้เลือดออกเดงกี่แสดอาการรุนแรงแตกต่างกันในแต่ละคน บางรายอาการรุนแรงต้องรักษาในโรงพยาบาล บางรายเสียชีวิต อัตราตายนับว่าต่ำ เมื่อเทียบกับไข้เลือดออกในแอฟริกา ทั้งนี้อาจเนื่องจากการศึกษาวิจัยในเรื่องนี้จนทราบถึงสาเหตุ เข้าใจถึงกลไกในการเกิดโรค และพัฒนาวิธีการดูแลรักษาที่ได้ผล ใน ขณะนี้วัคซีนป้อกันไข้เลือดออกเดงกี่ ได้รับการพัฒนาเป็นผลสำเร็จแล้ว คาดว่าจะมีใช้ในอนาคต

          ถ้าพบเด็กอาการไข้สูง ซึม คลื่นไส้ อาเจียน กินอาหารและน้ำไม่ได้ควรรีบพาไปพบแพทย์ ไม่ควรให้ยาแอสไพรินลดไข้ เพราะจะทำให้เลือดออกง่าย ถ้าให้พาราเซตามอลก็อย่าให้ถี่เกินกว่า 6 ชั่วโมง เพราะยาพาราเซตามอลขนาดสูงเป็นพิษต่อตับได้


ยุงลาย  พาหะโรคไข้เลือดออก

          วิธีป้องกันไข้เลือดออกเดงกี่ที่ได้ผลดีและช่วยลดการระบาด คือ ช่วยกันดูแลไม่ใช้มีภาชนะขังน้ำทั้งในบ้านและรอบบ้าน เนื่องจากยุงลายจะวางไข่เป็นลูกน้ำในน้ำนิ่งที่ขังอยู่บริเวณบ้าน ยุงลายที่มีจำนวนมากขึ้นจะแพร่เชื้อเดงกี่ นอกจากนี้ต้องระวังไม่ให้เด็กถูกยุงกัดในเวลากลางวัน ให้นอนในห้องมุ้งลวดหรือมีมุงครอบ  และเพื่อเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้  หน้าฝนนี้  ทุกคนอย่าลืมเตรียมตัวและป้องกันกับโรคไข้เลือดออกนะคะ ^^

 


แหล่งที่มา : vcharkarn.com , มูลนิธิหมอชาวบ้าน

อัพเดทล่าสุด