พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร คำจำกัดความของพิพิธภัณฑสถาน


1,023 ผู้ชม


พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร คำจำกัดความของพิพิธภัณฑสถาน

 

 

พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


วิชาการดอทคอมพาเที่ยวชมพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยค่ะ พิพิธภัณฑแห่งนี้ได้จัดตั้งขึ้นในปีพุทธศักราช 2530 โดยความร่วมมือร่วมใจของชาววิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ พิพิธภัณฑ์นี้ตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางความรู้ และตัวอย่างของทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นสถานที่ศึกษา อ้างอิง ค้นคว้าและวิจัย แก่นักวิทยาศาสตร์ นักเรียน นักศึกษาและประชาชน เพื่อให้ตระหนักถึงทรัพย์สมบัติอันมีค่าของประเทศไทย อันได้แก่ความหลากหลายของชีวิตในธรรมชาติ โดยเฉพาะในภาวะที่ประเทศชาติกำลังประสบปัญหาการสูญเสียทรัพยากรและสมดุลทางธรรมชาติไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน 
พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งแรกแต่เดิมนั้นได้มีการก่อตั้งขึ้นโดยพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในราวปี พ.ศ.2415 โดยผู้ดำเนินงานคือ นายเฮนรี่ อลาสบาเตอร์ แต่เพราะความยุ่งยากในการดูแลรักษาและดำเนินงาน และยังไม่มีผู้สนใจในการค้นคว้าวิจัย ประกอบกับทัศนคติที่ว่า ทรัพยากรธรรมชาติสมบูรณ์มาก จึงทำให้พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งแรกในประเทศไทยเสื่อมสลายไป เมื่อมีการสถาปนาพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2530 ตัวอย่างบางตัวอย่างที่หลงเหลืออยู่จากพิพิธภัณฑ์เดิมที่เก็บรักษาไว้จึงได้รับการบูรณะและจัดเก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ 
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์

ปัจจุบันผู้ดูแลพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้คือ รศ. จริยา เล็กประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฏวิทยาของภาควิชาชีววิทยา จุฬาฯ ค่ะ วิชาการดอทคอมต้องขอขอบพระคุณอาจารย์จริยาและนิสิตปริญญาโทของภาควิชาชีววิทยาเป็นอย่างสูงค่ะ ที่พาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ที่น่าทึ่งและควรค่าแก่การอนุรักษ์แห่งนี้ค่ะ 

อาจารย์จริยา เล็กประยูร ค่ะ



ทางเข้าพิพิธภัณฑ์ ของดีอยู่ในนี้เพียบ!




ภายในพิพิธภัณฑ์ มีสิ่งมีชีวิตแปลกๆหาดูยากเยอะแยะเลยค่ะ
พิพิธภัณฑ์แมลง เต่า ตะพาบ และ หอยทาก
นอกจากนี้พิพิธภัณฑสถาน ยังมีพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจในบริเวณเดียวกันอีก 3 ส่วนค่ะ คือ พิพิธภัณฑ์แมลง, พิพิธภัณฑ์เต่าและตะพาบ และ พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย
พิพิธภัณฑ์แมลง
พิพิธภัณฑ์แมลงเป็นสถานที่เก็บตัวอย่างของแมลงที่รวบรวมได้จากสถานที่ต่าง ๆ ทั้งในประเทศไทยและจากต่างประเทศ 
- จัดแสดงการจำลองที่อยู่ของแมลงต่าง ๆ ในธรรมชาติ
- จัดแสดงตัวอย่างแมลงที่มีในประเทศไทย โดยมีการจัดแมลงออกเป็นหมวดหมู่ตามอนุกรมวิธาน (Taxonomy) เพื่อสะดวกต่อการศึกษาและเก็บรักษา
- จัดแสดงตัวอย่างแมลงหายาก และแมลงอนุรักษ์
- จัดแสดงลักษณะของรังผึ้งและชันโรงตามธรรมชาติ

ส่วนแสดงแมลงปีกแข็งค่ะ



พิพิธภัณฑ์เต่าและตะพาบ
- จัดแสดงตัวอย่างตะพาบม่านลาย ซึ่งเป็นสัตว์หายากและมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง เป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ปัจจุบันคาดว่ามีเหลืออยู่ในธรรมชาติเฉพาะในประเทศไทยแห่งเดียวในโลก
- จัดแสดงตัวอย่างเต่าบก เต่าน้ำจืด เต่าทะเล และตะพาบทุกชนิดที่พบในประเทศไทย รวมทั้งเต่าต่างประเทศอีกหลายชนิด
- จัดแสดงตัวอย่างโครงกระดูก ไข่ และกะโหลกของเต่าและตะพาบ

ตะพาบม่านลาย ตะพาบที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก! (ขออภัยภาพไม่ค่อยชัดค่ะ) 



พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย
พิพิธภัณฑ์หอยทากของไทย เป็นพิพิธภัณฑ์หอยทากบกแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ที่จัดแสดงนิทรรศการหอยทากที่พบในประเทศไทยที่คนไทยส่วนมากไม่รู้จักเลย ตั้งอยู่ที่ชั้น 2 ห้อง 218 ตึกชีววิทยา 1 การจัดแสดงเน้นแสดงเปลือกหอยสองวงศ์ จากผลการวิจัยของ รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ปัญหา และลูกศิษย์ คือ หอยวงศ์หอยทากจิ๋วปากแตร (Family Pupillidae) วงศ์หอยต้นไม้หรือหอยทากสวยงาม หรือหอยนก (Family Camaenidae) รวมแล้วมากกว่า 200 สปีชี่ส์ เนื่องจากการวิจัยมีการพบหอยชนิดใหม่ของโลกมากกว่า 70 สปีชี่ส์ จึงเป็นที่รวบรวมตัวอย่างของต้นแบบ (Holotype และ Paratype) และเป็นแหล่งเก็บดีเอ็นเอของหอยนก ที่ถือได้ว่ามากชนิด และเก็บได้ดีที่สุดในโลกหลังจากมีการเยี่ยมชมโดยผู้เชี่ยวชาญของโลก นอกจากนี้ยังมีการแสดงผลงานเผยแพร่ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก พิพิธภัณฑ์หอยทากของประเทศไทย เปิดเป็นทางการในวันที่ 13 ธันวาคม 2546 เนื่องในโอกาสการจัดงานครบรอบ 80 ปี ชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ส่วนหนึ่งของหอยทากที่จัดแสดง
ของสะสมที่น่าสนใจ

ในพิพิธภัณฑ์มีสิ่งมีชีวิตที่แปลกๆ ของไทยแสดงไว้มากมายค่ะ

ในพิพิธภัณฑ์แมลงมีผีเสื้อสวยๆและหาดูได้ยากมากมายค่ะ 


มีรังต่อหัวเสือมาผ่าให้ดูภายในรังด้วย



ฟอสซิลของแมลงดึกดำบรรพ์ เก่ามากค่ะ!



"ตุ๊ดตู่" ค่ะเคยเห็นตัวจริงกันหรือเปล่าคะ?


การเดินทางมาเยี่ยมชม
สำหรับผู้ที่สนใจจะเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา สามารถติดต่อได้ที่ 
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท
ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

โทรศัพท์ 02-218-5375-6
โทรสาร 02-2185389

แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด