มีลูกยากทําไงดี มีลูกยากทําอย่างไรดี มีลูกยาก pantip IVM อีกทางเลือกใหม่สำหรับคนอยากมีลูก


1,853 ผู้ชม


มีลูกยากทําไงดี มีลูกยากทําอย่างไรดี มีลูกยาก pantip IVM อีกทางเลือกใหม่สำหรับคนอยากมีลูก

 

 

 

 IVM อีกทางเลือกใหม่สำหรับคนอยากมีลูก

ขอขอบคุณข้อมูลนิตยสาร Modern Mom 

          ปัจจุบันเทคโนโลยีเพื่อช่วยการเจริญพันธุ์ได้รับพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)  อิ๊กซี่ (ICSI) และซิฟต์ (ZIFT) ล่าสุดมีวิธีการใหม่ๆ สำหรับช่วยผู้มีบุตรยาก เรียกว่า IVM หรือ In Vitro Maturation มาเป็นทางเลือกใหม่เพิ่มขึ้นค่ะ
                          

รู้จัก IVM 
          IVM ย่อมาจาก In Vitro Maturation เป็นการนำไข่ที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์เต็มที่จากรังไข่ มาเลี้ยงในห้องทดลองจนโตเต็มที่ แล้วนำมาผสมกับเชื้ออสุจิจนมีการปฏิสนธิที่สมบูรณ์ จากนั้นจึงย้ายเข้าไปที่โพรงมดลูก โดยไม่ต้องฉีดฮอร์โมนเพื่อให้ได้ไข่หลายใบ ถึงแม้อัตราความสำเร็จของ IVM จะยังถือว่าต่ำกว่าแบบที่ใช้ฮอร์โมนอยู่ แต่ก็นับเป็นอีกทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจไม่น้อยเลยค่ะ
IVM เหมาะกับใคร
1.กลุ่มผู้หญิงซึ่งมีรังไข่ชนิดพิเศษ ที่มีถุงไข่เล็กๆ รอบๆ รังไข่ เรียกว่า POC เมื่อทำการกระตุ้นด้วยฮอร์โมน ผู้หญิงกลุ่มนี้จะตอบสนองมากเกินไป หรือเรียกว่ามีอาการบวมน้ำ ทำ ให้ปวดท้อง มีอาการบวม มีน้ำในช่องท้องและช่องปอด ซึ่งสามารถสังเกตได้ เช่น ประจำเดือนอาจจะมาผิดปกติ มีหน้ามัน มีสิวเยอะ มีหนวดและขนขึ้นเยอะผิดปกติ เมื่อมีอาการดังกล่าวข้างต้นแล้ว ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้ และบางครั้งอาจทำให้พิการได้ หากลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมอง
2.กลุ่มที่มีการตอบสนองต่อการกระตุ้นฮอร์โมนแบบครึ่งๆ กลางๆ อาจทำให้ไข่เจริญเติบโตเพียงครึ่งหนึ่ง แล้วหยุดการเจริญเติบโต อาจมีภูมิต้านทานจากการได้รับสัญญาณจากฮอร์โมน 
3.กลุ่มที่ตัวอ่อนที่ได้จากการกระตุ้นฮอร์โมนคุณภาพไม่ดี เพราะว่าไข่ที่ได้สัมผัสฮอร์โมนสูงๆ อาจมีปัญหาเรื่องคุณภาพได้
 
4.ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็ง แล้วรักษาด้วยการฉายรังสี หรือใช้เคมีบำบัด มะเร็งบางชนิดอาจกระตุ้นให้ฮอร์โมนขึ้นสูง มะเร็งจึงกระจายมากขึ้น กรณีนี้สามารถดูดไข่ออกมาเลี้ยงให้สมบูรณ์แล้วแช่แข็งเก็บไว้ พอรักษามะเร็งหายก็ค่อยเอาไข่ไปใช้ได้
 
5.ผู้ที่ต้องการจะบริจาคไข่แต่ไม่ต้องการฉีดกระตุ้นฮอร์โมน วิธีนี้สามารถดูดเอาไข่ออกเอาไปใช้ได้เลย แต่ยังเป็นขั้นตอนที่อยู่ในการพัฒนา
                                

ข้อดีและข้อด้อย

-ข้อดี
1.คุณแม่จะเครียดน้อยกว่า แล้วสามารถกลับทำซ้ำได้ในภายใน 1 เดือน หากเป็นการกระตุ้นฮอร์โมนก็ต้องรอฮอร์โมนลดต่ำลง ซึ่งต้องใช้เวลา 2-3 เดือนก่อนที่จะกลับมาทำใหม่ได้ 

อีกทั้งค่าใช้จ่ายของวิธีการนี้ก็ถูกกว่าประมาณ 30-40% สำหรับวิธีนี้ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาท  
2.เทคโนโลยี IVM เหมาะกับคนที่ไม่ต้องการเสี่ยงกับโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น เช่น อาการบวมน้ำ เพราะโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจะอันตรายต่อสุขภาพ ค่าใช้จ่ายก็อาจเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การตั้งครรภ์ล่าช้าออกไป
 
-ข้อเสีย 
          อัตราความสำเร็จของ IVM จะต่ำกว่าการกระตุ้นฮอร์โมนประมาณ 5% และหากไม่มีอาการแทรกซ้อนของโรค การกระตุ้นฮอร์โมนยังคงเป็นตัวเลือกอันดับแรกอยู่ดี 

          แม้ว่าเทคโนโลยีจะเป็นส่วนหนึ่ง แต่การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงก็ยังคงเป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จในการตั้งครรภ์ ขอเอาใจช่วยผู้ที่อยากเป็นคุณแม่ทุกคนให้สมหวังนะคะ


แหล่งที่มา : vcharkarn.com

อัพเดทล่าสุด