สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน สมุนไพรรักษาโรคเอดส์ สมุนไพรรักษาโรคปอด
สมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน
เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า “อินซูลิน” ออกมาไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งโรคเบาหวานเป็นโรคที่เรื้อรัง สามารถรักษาได้แต่ไม่หายขาด ทั้งนี้เกิดจากสาเหตุหลายๆ อย่าง ทั้งจากกรรมพันธุ์ และอาหารการกิน โดยสาเหตุของโรคเบาหวาน เกิดจากตับอ่อนเสื่อม จึงสร้างอินซูลินได้น้อยหรือไม่ได้เลย สารอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินในร่างกายไม่พอ น้ำตาลก็ไม่ถูกนำมาใช้ จนทำให้เกิดการคั่งของน้ำตาลในเลือดและอวัยวะต่างๆ และถูกไตขับออกมาทางปัสสาวะ
ในการแพทย์แผนปัจจุบัน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานต้องใช้ยาควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติไปตลอดชีวิต ถ้าหยุดใช้ยาควบคุมเมื่อไหร่น้ำตาลก็จะสูงขึ้นและถ้าสูงจนอยู่ในภาวะวิกฤต อาจทำให้ถึงแก่กรรมได้
ปัจจุบันสมุนไพรได้เข้ามามีบทบาทในการรักษาและควบคุมความรุนแรงของโรคที่มีผลต่อสุขภาพชีวิตของคนไทยได้หลายๆโรค เบาหวานก็เป็นอีกโรคหนึ่งที่สามารถใช้สมุนไพรในการควบคุมความรุนแรงของโรคได้ ดังจะกล่าวต่อไปนี้
สมุนไพรบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน
1.เตยหอม (ใบและราก) กับใบต้นสักทอง
วิธีทำ นำต้นเตยหอมเอาทั้งใบและราก ล้างให้สะอาด ตัดส่วนของใบสักทองและใบเตยหอมอย่างละเท่าๆ กัน เอามาคั่วไฟให้เหลือง ส่วนรากเตยหอมไม่ต้องคั่วแต่เอามาทุบให้แตก แล้วใส่ทั้ง 3 อย่างลงในหม้อต้ม นำน้ำยาที่ได้มาดื่มแทนน้ำทุกวัน ประมาณ 1 เดือน
2.ใบอินทนินน้ำ
วิธีทำ นำใบสดของต้นอินทนินน้ำ ประมาณ 2-3 กำมือล้างน้ำให้สะอาด ใส่หม้อเติมน้ำต้มให้สุก ทิ้งไว้ให้เย็น นำน้ำที่ได้มาดื่ม
3.ต้นไมยราบกับต้นครอบจักรวาล
วิธีทำ นำต้นไมยราบและต้นครอบจักรวาลอย่างละเท่าๆ กันมาหั่นตากแดดให้แห้ง คั่วไฟให้เหลืองพอประมาณ ชงกับน้ำร้อนเป็นน้ำชาดื่ม
4.มะระขี้นก
วิธีทำ ให้หั่นเนื้อมะระขี้นก ตากแดดให้แห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม หรือถ้าต้องการกลบรสขมให้เติมใบชาชนิดใดก็ได้ลงไปขณะที่ชง และสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ การรับประทานเมล็ดของมะระขี้นก อาจจะทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ปวดท้อง ดังนั้นหากจะนำมะระขี้นกมาทำยารับประทานต้องแกะเมล็ดออกเสมอ
5.สมุนไพรอื่นๆ อย่างเช่น อบเชย บอระเพ็ด เป็นต้น
แหล่งที่มา : ttmed.psu.ac.th