โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ อันตรายจากบุหรี่ ผลเสียของการสูบบุหรี่


3,344 ผู้ชม


โรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ อันตรายจากบุหรี่ ผลเสียของการสูบบุหรี่

 


   
โรคผิวหนังอักเสบติดเชื้อ มีอะไรได้บ้าง
 
 
         ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกันซึ่งผิวหนังสามารถติดเชื้อได้ง่าย 
ผิวหนังเป็นเนื้อเยื่อส่วนนอกสุดของร่างกายที่ห่อหุ้มโครงสร้างและอวัยวะทุกอย่างไว้ ซึ่งในแต่ละบริเวณจะมีความหนา-บางแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ที่ต้องรองรับ และถูกเสียดสี ผิวหนังของเราแบ่งเป็น 2 ชั้นใหญ่ ๆ คือ
1.ชั้นหนังกำพร้า (Epidermis) เป็นชั้นที่อยู่บนสุด บางและหลุดลอกออกไปได้ง่าย หรือที่เรียกว่าขี้ไคลนั่นเอง ในชั้นนี้จะไม่มีเลือดและเส้นประสาทหล่อเลี้ยงครับ แต่มีเซลล์ที่ชื่อ เมลาโนไซด์ (Melanocyte) ซึ่งทำหน้าที่สร้างเม็ดสีเมลานิน (Melanin) ที่ทำให้แต่ละคนมีสีผิวที่แตกต่างกันออกไป
2.ชั้นหนังแท้ (Dermis) เป็นชั้นที่อยู่ลึกถัดจากชั้นหนังกำพร้าลงมา มีความหนากว่าชั้นแรกมาก เป็นที่อยู่ของเซลล์ ต่อม หลอดเลือด และระบบประสาทที่มาหล่อเลี้ยง
หน้าที่ของผิวหนังนอกจากปกป้องอวัยวะภายในไม่ได้ได้รับอันตรายแล้ว ยังมีความสำคัญในการรักษาระดับอุณหภูมิร่างกาย ขับของเสียออกทางเหงื่อ รับความรู้สึกสัมผัสต่าง ๆ ทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างวิตามินดี และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายอีกด้วย

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผิวหนังของเรามีได้หลายอย่างครับ สำหรับวันนี้จะกล่าวถึงโรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นกับระบบผิวหนัง ซึ่งมีด้วยกันหลายโรคตามตำแหน่งที่เกิดการติดเชื้อ โดยเชื้อที่ก่อโรคมี 3 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ แบคทีเรีย รา และไวรัส
1.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
          อันที่จริงแล้วผิวหนังของคนเราก็มีเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่นะครับ เรียกว่าเป็นเชื้อประจำถิ่น (Normal Flora) ซึ่งโดยปกติจะไม่ทำให้เกิดโรคครับ แต่ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงสภาพของผิวหนังไปจากเดิม เช่น มีบาดแผล มีโรคผิวหนังอื่น ๆ อยู่ก่อน สุขอนามัยไม่ดี หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ เชื้อเหล่านี้ก็มีโอกาสทำให้เกิดโรคได้ ตัวที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อมากที่สุด ได้แก่ Staphylococcus aureus และ Staphylococcus pyogenes โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียที่พบมาก ได้แก่
  • แผลพุพอง (impetiongo)
          เป็นการติดเชื้อของชั้นหนังกำพร้า ส่วนใหญ่เกิดจากสุขอนามัยไม่ดี หรือละเลยบาดแผลเล็ก ๆ จะลุกลามจึงพบได้บ่อยในเด็กเล็ก ส่วนมากบาดแผลเกิดขึ้นที่ใบหน้าบริเวณรอบจมูก เนื่องจากการแกะ เกา และตามแขน-ขาทั่วไป เริ่มแรกเป็นเพียงผื่นแดงเล็ก ๆ มีอาการคัน แล้วกลายเป็นตุ่มน้ำพองใส เมื่อแตกออกพื้นแผลจะเป็นสีแดง มีน้ำเหลืองไหล พอแห้งจะตกเป็นสะเก็ดเหลืองเกาะที่แผล ถ้าเกิดที่หนังศีรษะมีชื่อเรียกว่าชันนะตุ หากปล่อยไว้นานแผลอาจลุกลามขยายใหญ่ขึ้น หรือกินลึกลงไปมากขึ้น และเข้าสู่กระแสเลือดได้
          การรักษา เริ่มต้นด้วยการล้างทำความสะอาดบาดแผล และใช้ยาทาฆ่าเชื้อ Mupiroxin ประมาณ 7-10 วัน ก็เพียงพอ แต่หากบาดแผลกว้างและลึกมาก อาจต้องใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • รูขุมขนอักเสบ (Folliculitis, Furuncles Carbuncler)
          เป็นการติดเชื้อของรูขุมขนจนเกิดเป็นผื่นแดง ไม่มีอาการหรืออาจคัน หรือเจ็บเล็กน้อย พบได้ในบริเวณที่มีต่อมขนเยอะ เช่น หนวด เครา รักแร้ เป็นต้น ส่วนมากมักจะหายเอง แต่บางครั้งอาจเกิดการอักเสบมาก จนเป็นตุ่มหนอง แดงและเจ็บ เมื่อแตกออกจะมีหนองไหลออกมาได้ เรียกว่าฝี (Furuncles) ถ้าแผลลึกและกว้างมากจนมีรูหนองที่เชื่อต่อกันหลาย ๆ รู เรียกว่า Carbuncles หรือฝีฝักบัวนั่นเอง ซึ่งมักจะมีใช้ร่วมด้วย เนื่องจากการอักเสบที่มากขึ้น
          การรักษา ในขั้นต้นหากมีอาการ ให้ใช้ยาทาฆ่าเชื้อ 1% Clindamycin ทาบริเวณแผลวันละ 2-3 ครั้ง สำหรับ Furuncies และ Carbuncles จำเป็นต้องผ่าระบายหนองออก และใช้ยา Dicloxacillin รับประทานร่วมด้วย
  • ไฟลามทุ่ง (Erysipelas)
          เป็นการอักเสบของผิวหนังร่วมกับหลอดน้ำเหลือง เริ่มจากตุ่มแดงแล้วกระจายลามออกไปอย่างรวดเร็วแผลมีสีแดงจัด กดเจ็บ ผิวบริเวณนั้นยกขึ้นมาจากบริเวณที่ปกติอย่างชัดเจน ผู้ป่วยจะมีใช้ร่วมด้วย
          การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
  • ผิวหนังอักเสบ (Cellulitis)
          เป็นการอักเสบของเนื้อเยื่อชั้นหนังแท้และลึกลงไปยังชั้นได้ผิวหนัง ลักษณะเป็นผื่นแดงจัด ลามอย่างรวดเร็ว กดเจ็บและออกร้อน แยกจากไฟลามทุ่งได้จากขอบเขตที่ไม่ชัดเจน มักพบว่ามีอาการใช้และต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย พบได้บ่อยในรายที่ประสบอุบัติเหตุ ผู้ป่วยเบาหวาน อ้วน หรือติดสุรา
          การรักษา รับประทานยา Dicloxacillin ประมาณ 5-7 วัน ร่วมกับการประคบร้อน
          ข้อควรระวัง ไฟลามทุ่งและโรคผิวหนังอักเสบ เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้น เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่าย ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
2.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา
          เชื้อราเป็นเชื้ออีกกลุ่มที่พบได้ทั่วไปในทุกภูมิอากาศ แต่มักก่อโรคในสภาวะที่อับชื้น และพบได้มากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ หรือกินยาปฏิชีวนะนาน ๆ หรือเป็นเบาหวาน เป็นต้น โรคติดเชื้อผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราที่รู้จักและเป็นกันมาก ได้แก่
  • กลาก
          ธรรมชาติของราชนิดนี้มักเกิดขึ้นในบริเวณที่มีเคอราติน ซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างชนิดหนึ่ง พบที่ ผิวหนัง เล็บ ขน และผม อาการที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะที่ติดเชื้อ อาทิ
           กลากที่ผิวหนัง เช่น ลำตัว แขน ขา รักแร้ ขาหนีบ ผื่นจะเป็นตุ่มแดงเล็ก ๆ แล้วขยายวงกว้างออกเรื่อย ๆ ขอบนูนแดง มีขุยสีขาว คันมาก
           กลากที่ง่ามเท้า เรียกว่าฮ่องกงฟุต หรือน้ำกัดเท้า ผิวหนังบริเวณนั้นจะเป็นแผ่นขาวยุ่ย ลอกออกเป็นแผ่นได้ส่งกลิ่นเหม็นและคันมาก
            กลากที่เล็บ มักเกิดบริเวณข้างเล็บเข้ามา จะเห็นเป็นสีน้ำตาล หรือขาวขุ่น ด้าน ขรุขระ หรืออาจเปื่อยยุ่ยได้ ไม่มีอาการเจ็บหรือคัน แต่มักเป็นเรื้อรัง
            กลากที่หนังศีรษะ ผื่นเป็นวงเหมือนที่เกิดตามลำตัว แต่พบร่วมกับอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผมหัก ซึ่งเกิดจากเชื้อราทำลาย
          การรักษา สำหรับแผลเฉพาะที่เพียงใช้ยาฆ่าเชื้อทาจนแผลหาย อาจจะประมาณ 4-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ แต่ถ้าแผลกว้างมาก เป็นหลายจุด หรือผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจใช้วิธีรับประทานยาฆ่าเชื้อแทน
  • เกลื้อน
          เชื้อราชนิดนี้โดยปกติอาศัยอยู่ที่รูขุมขนของทุกคน โดยได้ไขมันจากรูขุมขนเป็นอาหาร ต่อเมื่อภูมิต้านทานลดลง จึงทำให้เกิดโรค โดยมีลักษณะเป็นต่างขาว มีขุยขอบเขตชัดเจน หรือบางคนอาจเป็นสีเข้มขึ้นก็ได้ แต่มักไม่มีอาการอื่น บริเวณที่พบมาก ได้แก่ ส่วนที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า คอ หน้าอก หลัง
          การรักษา มีทั้งยาทา ยาสระหรือสบู่ ใช้แค่ 3-5 วัน และซ้ำทุกเดือน รวมไปถึงยากินในรายที่มีอาการมาก และต้องใช้อย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แต่ด่างขาวที่เกิดขึ้นอาจต้องรอจนเซลล์ผิวสร้างเม็ดสีขึ้นมาใหม่ จึงจะหายไป ถึงแม้ว่าเชื้อจะถูกกำจัดไปหมดแล้วก็ตาม
          การป้องกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ การหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ต้องแยกเสื้อผ้ารวมทั้งอุปกรณ์ของใช้ออกจากผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดต่อ
3.โรคผิวหนังอักเสบจากเชื้อไวรัส
          ไวรัสเป็นเชื้อกลุ่มใหญ่อีกกลุ่มที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทุกระบบ รวมไปถึงการติดเชื้อที่ผิวหนัง เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเป็น หรือมีคนใกล้ตัวเป็นโรคเหล่านี้กันบ้างแน่ ๆ และไม่ต้องแปลกใจนะครับ หากพบว่าเป็นโรคเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ เพราะเป็นธรรมชาติของไวรัส ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับเชื้อมาแล้วจะมีการสร้างภูมิคุ้มกันต่อตัวเชื้อเพื่อพยายามกำจัด และปกป้องตนเองไม่ให้เป็นโรค แต่ตัวเชื้อก็จะยังคงหลบซ่อนและอาศัยอยู่ในร่างกายนี่ล่ะครับ จนวันดีคืนดีเมื่อภูมิต้านทานต่ำลงก็จะเกิดอาการของโรคขึ้นมาได้ โรคติดเชื้อผิวหนังจากเชื้อไวรัสที่สำคัญ ได้แก่
  • เริม (Herpes Simplex)
          เชื้อเริมเป็นตัวอย่างที่ดีครับว่าสามารถเป็นได้อยู่บ่อย ๆ ถ้าร่างกายอ่อนแอลง เช่น อดนอน ทำงานหนัก เครียด เชื้อนี้มีด้วยกัน 2 ชนิด มักทำให้เกิดอาการในบริเวณที่แตกต่างกันคือ
            เชื้อชนิดที่ 1 (Herpes Simplex Vinus2) มักเกิดบริเวณปากและผิวหนังเหนือสะดือขึ้นไป ถ้าเกิดที่ปากเรียกว่า Herpes Labialis ไม่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ติดจากการดื่มน้ำหรือทานอาหารร่วมกัน
            เชื้อชนิดที่ 2 (Hepes Simplex Virus2) มักเกิดบริเวณอวัยวะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
          ลักษณะของแผลเริมคือ เป็นตุ่มน้ำพองใสเล็ก ๆ ขึ้นเป็นกลุ่ม เมื่อแตกออกจะเป็นแผลตื้น ๆ อยู่บนฐานสีแดง เจ็บและแสบมาก โดยปกติโรคจะดำเนินไปจนหายเองภายใน 10 วัน แต่มีโอกาสเกิดซ้ำถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรืออาจใช้ยา Acyclovir รับประทานต่อเนื่อง 1 สัปดาห์
  • งูสวัด (Herpes Zoster)
          เชื้อก่อโรคคือ Hepes Varicella Zoster คือเชื้อชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคสุกใส แผลที่เกิดขึ้นจึงมีลักษณะเดียวกันคือตุ่มพองใสบนฐานแดง ขึ้นชิดกัน มักกลายเป็นหนองแห้ง และตกสะเก็ดภายใน 10 วัน ลักษณะที่ต่างจากสุกใส คือ ผื่นจะขึ้นเป็นแนวตามแนวของเส้นประสาท มีไข้ และอ่อนเพลียร่วมด้วย หลายคนถามว่าจริงหรือไม่ ที่บอกว่า ถ้างูสวัดพันครบรอบแล้วจะเสียชีวิต ก็อาจเป็นได้นะครับ เพราะภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต้องต่ำมากจริง ๆ เชื้อถึงแพร่กระจายเร็ว
          การรักษา รับประทานยา Acyclovir ตามแพทย์สั่ง
  •  หูด (Wart)
          หูดคือก้อนที่ผิวหนัง อาจจะผิวเรียบ หรือขรุขระ สีขาว ชมพู หรือน้ำตาล เกิดขึ้นบริเวณใดก็ได้ แต่มักพบบ่อยที่นิ้วมือ แขน ขา เกิดจากเชื้อ Human Papilloma Vinus หูดมีลักษณะที่ต่างกันออกไปในแต่ละชนิด คือ
            Verrucus Vulgairs หูดธรรมดา เป็นเม็ดเดียว หรือหลายเม็ด ขรุขระ กระจายทั่วไป มักพบบ่อยที่บริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า
            Verrucus Plana หูดราบ เป็นเม็ดผิวแบนราบ สีเดียวกับผิวหนัง มักพบที่บริเวณใบหน้า
            Condyloma Accuminata หูดหงอนไก่ เป็นติ่งเนื้อนุ่ม สีชมพู พบที่� 


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด