มะเร็งปากมดลูก อาการมะเร็งปากมดลูก สาเหตุมะเร็งปากมดลูก


2,577 ผู้ชม


มะเร็งปากมดลูก อาการมะเร็งปากมดลูก สาเหตุมะเร็งปากมดลูก

 

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ “มะเร็งปากมดลูก”
โดย : พญ.จีริชุดา ปัทมดิลก  
         ผลตรวจ Pap test พบเซลล์ปากมดลูกเปลี่ยนแปลง บางครั้งเวลาคุณไปตรวจ Pap test อาจได้รับการแจ้งจากโรงพยาบาลว่า ผลตรวจพบ “เซลล์ผิดปกติ” หรือ “พบเซลล์ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจยากแต่จริงๆ แล้วทุกๆ ปี มีสตรีที่ได้รับการรายงานผลแบบนี้กว่า 3 ล้าน รายทั่วโลก 

 

เซลล์ปากมดลูกเปลี่ยนแปลง...ไม่จำเป็นต้องเป็นมะเร็งปากมดลูกเสมอไป  
     ข่าวดี คือ สตรีที่มีเซลล์ปากมดลูกเปลี่ยนแปลง จากผล Pap testไม่ได้เป็นมะเร็งปากมดลูกแต่จำเป็นต้องให้ความสำคัญใส่ใจต่อสุขภาพ โดยการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนะของแพทย์

ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ “ปากมดลูก”  


     เมื่อได้รับแจ้งผลดังกล่าวแล้วจะทำอย่างไร “เซลล์ปากมดลูก เปลี่ยนแปลง” แปลว่าอะไร รายละเอียดต่อไปนี้จะทำให้คุณเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับ 
          1. การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก...มีอะไรบ้าง 
          2. วิธีการตรวจ/ทดสอบ และการรักษา 
          3. จะไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากที่ไหน 
          4. จะไปรับคำปรึกษาจากใครได้บ้าง 

 

1. ปากมดลูก...คือ อะไร 
     ปากมดลูก (cervix)  คือ ส่วนที่อยู่ต่ำที่สุดของมลลูก (มดลูก หรือ uterus  คือ อวัยวะที่เป็นที่อาศัยของทารกในครรภ์) มีลักษณะแคบ เป็นทางคลอดของทารก และทางออกของประจำเดือน ขณะที่ตรวจภายใน จะสามารถเห็นปากมดลูกได้ที่บริเวณในสุดของช่องคลอด ผิวของปาก

ประกอบด้วย เซลล์ 2 ประเภท ได้แก่
     1. Glandular cell ซึ่งบุผิวปากมดลูกทางด้านใน ซึ่งต่อเนื่องกับโพรงมดลูก
     2. Squamous epithelial cell เป็น เซลล์แบนๆบุผิวปากมดลูกด้านนอก (ด้านที่ติดต่อกับช่องคลอด)

2. การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกที่พบทั่วๆไป ...ไม่ใช่ เรื่อง มะเร็ง 
     เซลล์บุปากมดลูกเปลี่ยนรูปร่างหน้าตาได้หลายแบบ ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเป็นมะเร็งปากมดลูก     การเปลี่ยนแปลงสามารถเกิดได้จาก

     - ภาวะอักเสบ (เช่น การบาดเจ็บ ฟกซ้ำ การฉีกขาด การคลอด แท้ง) 
     - ภาวะติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส 
     - การเจริญเติบโตเป็นติ่งเนื้อ โพลิบ (ติ่งเนื้อธรรมดา) หรือ ซิสต์ 
     - ฮอร์โมนเพศที่เปลี่ยนไป เช่น ช่วงตั้งครรภ์ หรือวัยทอง

     ภาวะต่างๆ ดังกล่าว พบได้ตลอดเวลาชั่วชีวิตของสตรีทุกคนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นมะเร็งใดๆ ทั้งสิ้น แต่บางครั้ง การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ดังกล่าว  ดูแล้วหน้าตาผิดปกติ ดังนั้น แพทย์ หรือพยาบาลมักจะแนะนำให้ตรวจซ้ำช่วง 6 เดือน หรือ 12 เดือนถัดมาถึงแม้เซลล์ส่วนใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงจะไม่ใช่มะเร็ง แต่การตรวจ Pap test อย่างน้อยทุก 3 ปี ยังจำเป็นอยู่

 

3. เซลล์ปากมดลูกเปลี่ยนแปลง โดยเกิดจากการติดเชื้อ HPV นี่แหละที่สำคัญ! 
     การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปากมดลูกบางครั้งเกิดจากไวรัสตัวที่สำคัญ คือ HPV หรือ Human papilloma virus 
     สตรีส่วนใหญ่ ติดเชื้อ HPV ที่ปากมดลูก และมันมักจะหายไปเอง แต่บางครั้ง เชื้อ HPV คงอยู่ และทำให้เซลล์ปากมดลูกผิดปกติพัฒนาไปเป็น เซลล์ระยะก่อนมะเร็ง (Pre cancerous) เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี เซลล์ระยะก่อนมะเร็งก็กลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด และเริ่มลุกลามแพร่กระจายไปยังอวัยวะข้างเคียง

การตรวจ HPV test ช่วยบอกว่าคุณมีภาวะตัดเชื้อ HPV ที่เซลล์ปากมดลูกหรือไม่

     HPV คืออะไร 
         - เป็นไวรัสที่พบบ่อย                                                                                      
         - มีกว่า 100 สายพันธุ์ 
         - มี 15 สายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer)
         - บางสายพันธุ์ทำให้เป็นหูด หรือ ตาปลาที่นิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งไม่ทำให้เป็นมะเร็ง 
         - บางสายพันธุ์ทำให้เป็นโรคหูดหงอนไก่ บริเวณอวัยวืบพันธุ์ แต่ก็ไม่ทำให้เป็นมะเร็ง

 

4. ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ของมะเร็งปากมดลูก 
 
HPV เป็นสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดที่ทำให้สตรีเป็นมะเร็งปากมดลูก ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

  • การสูบบุหรี่
  • มีบุตรมาก
  • การมีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น คนที่ทานยา...ภูมิคุ้มกัน หรือคนไข้เอดส์

 

5. แล้วฉันควรรู้อะไรบ้างเกี่ยวกับ HPV  
 
     ผู้หญิงติด HPV ได้อย่างไร
     ส่วนใหญ่ การติดเชื้อ HPV ที่ปากมดลูก มาจากการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งมักมีการสัมผัสโดยตรงระหว่างอวัยวะสืบพันธุ์ทั้ง 2ฝ่าย หรืออวัยวะสืบพันธุ์ นิ้วมือ หรือมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก แต่ออรัลเซกส์ไม่ค่อยทำให้เกิดการแพร่เชื้อ

     คุณจะมีความเสี่ยงสูงที่ได้รับเชื้อ HPV ถ้าหาก
          - มีคู่นอนมากกว่า 1 คน 
          - แฟนหรือคู่นอนคุณ มีคู่นอนอื่น ดังนั้น ถ้าคุณทราบว่าติดเชื้อ HPV คู่ของคุณควรไดรับการตรวจเช็ค ซึ่งจะพบบ่อยว่าฝ่ายชายมักไม่มีอาการผิดปกติใดๆ

6. การตรวจหาเซลล์ปากมดลูกผิดปกติ 
 
     Pap test
     หรือแพปสเมียร์ (Pap smear) ช่วยให้พบการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของเซลล์ปากมดลูกตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่คุณจะเป็นมะเร็งปาดมดลูก เมื่อพบความผิดปกติดังกล่าวคุณจำเป็นต้องได้รับการรักษา ดังนั้นคุณก็จะไม่เป็นมะเร็ง โดยส่วนใหญ่การเปลี่ยนแปลงเซลล์ปากมดลูกเกิดขึ้นช้าๆ

 

...วิธีการป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่ดีที่สุด   คือการเฝ้าระวัง ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอปีละครั้ง......


แหล่งที่มา : 108health.com

อัพเดทล่าสุด