แผ่นพับสมุนไพรรักษาโรค สมุนไพรรักษาโรคเหน็บชา สมุนไพรรักษาโรคเหงือก


11,037 ผู้ชม


แผ่นพับสมุนไพรรักษาโรค สมุนไพรรักษาโรคเหน็บชา สมุนไพรรักษาโรคเหงือก

 

 

พืชสมุนไพรเพื่อการรักษาโรค

ขมิ้นอ้อย
ขมิ้น อ้อย เป็นไม้ล้มลุกสูง 50-70 ซม. ลักษณะคล้ายขมิ้นชัน แต่ต้นสูงกว่า ขนาด เหง้าและใบใหญ่กว่า โดยเหง้าใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย มีเนื้อใน สีเหลืองอมส้ม กลีบดอกสีนวล มีกลิ่นหอม
ชื่อ : ขมิ้นอ้อย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma zedoaria (Berg) Roscoe
ชื่อสามัญ : Zedoary, Luya-Luyahan
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่นๆ : ว่านเหลือง (กลาง) สากเบือ(ละว้า) ขมิ้นขึ้น(เหนือ)แฮ้วดำ(เชียงใหม่) ละเมียด(เขมร)

ลักษณะทั่วไป :
ต้น : ขมิ้นอ้อย เป็นไม้ล้มลุกสูง 50-70 ซม. ลักษณะคล้ายขมิ้นชัน แต่ต้นสูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยเหง้าใต้ดินจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย มีเนื้อในสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกสีนวล มีกลิ่นหอม
ใบ :ใบออกเป็นรัศมีติดผิวดิน รูปหอกแกมขอบขนาน กว้าง 8-10 ซม. ยาว 30-40 ซม. ก้านใบยาว 8-15 ซม. ท้องใบจะมีขนนิ่ม ๆ ในหน้าแล้งใบจะแห้งลงหัว บางครั้งเราก็เรียกว่าขมิ้นหัวขึ้น
ดอก : ขมิ้นอ้อยจะออกดอกเป็นช่อ ก้านดอกยาวพุ่งออกจากเหง้าที่อยู่ใต้ดิน ช่อดอกจะมีใบประดับ ดอกมีสีขาว ตรงปลายช่อดอกจะเป็นสีชมพู ส่วนดอกสีเหลืองจะบานจากล่างขึ้นข้างบน และจะบานครั้งละ 2-3 ดอก

** ขมิ้นอ้อย สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เหง้ามาปลูก การปลูกขมิ้นอ้อยที่ดีที่สุด ควรปลูกราว ๆ เดือนพฤษภาคม ย่างเข้าฤดูฝน และไม่ควรให้น้ำขังจะทำให้เหง้าขมิ้นเน่าเสีย ในหน้าหนาวขมิ้นอ้อยจะมีต้นโทรมหัวใหญ่

ส่วนที่ใช้ทำยา :
ใบ มีรสเฝื่อน ช่วยขับปัสสาวะ แก้ช้ำบวม
เหง้า มีรสเฝื่อน แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว สมานลำไส้ แก้อักเสบ แก้ลม แก้เลือดคั่ง เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก
สรรพคุณ ของ ขมิ้นอ้อย : รักษาอาการท้อง ร่วงท้องเดิน (ที่ไม่ใช่บิด หรืออหิวาตกโรค) โดยใช้หัวขมิ้นอ้อยสด ๆ ประมาณ 2 แว่น มาบดผสมกับน้ำปูนใส กินแก้ท้องร่วงได้
รักษาแผล โดยนำขมิ้นอ้อยไปหุงในน้ำมันมะพร้าว แล้วนำมาใส่แผล จะช่วยให้แผลหายเร็ว เนื่องจากหัวขมิ้นอ้อยเป็นยาฝาดสมานด้วย
รักษาฝี ถ้าเป็นฝีหัวเดือน ให้นำใบไผ่มาเผ่าไฟให้ไหม้ แล้วนำหัวขมิ้นอ้อยมาตำด้วยกัน แล้วใช้น้ำเป็นกระสายยา และใช้ได้ทั้งกินและทา หรือพอก
แก้ฝีในมดลูก โดยใช้ขมิ้นอ้อย 3 ท่อน บอระเพ็ด 3 ท่อน ลูกขี้กาแดง 1 ลูก (ผ่าเป็น 4 ซีกแต่ใช้แค่ 3) นำมาต้มรวมกับสุรา กินแก้ฝีในมดลูกได้
รักษาอาการเสี้ยนหนามตำ โดยนำขมิ้นอ้อยมา 5 แว่น ข้าวเหนียวสุก ประมาณ 1 กำมือ ดอกชบา 5 ดอก ใช้ตำพอก จะดูดเสี้ยนและหนองออกจากแผลได้
รักษาอาการปวดบวม ฟกช้ำ โดยนำขมิ้นสด ๆ มาตำให้ละเอียดแล้วนำมาพอกบริเวณปวดบวม ฟกช้ำ
แก้หวัด โดยนำหัวขมิ้นอ้อย พริกหาง อบเชยเทศ มาต้มและเติมน้ำผึ้งลงไปผสม นำมารับประทานแก้หวัดได้
แก้ริดสีดวงทวาร นำขมิ้นอ้อย พริกไทยล่อน เปลือกยางแดง มาผสมกันทำยาผง แล้วนำไปละลายในน้ำยางใส ปั้นทั้งหมดเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วชี้ รับประทานเช้า-เย็น
แก้หัดหลบใน นำต้นต่อไส้ 1 กำมือ ขมิ้นอ้อย 5 แว่นมาต้มรวมกับน้ำปูนใสพอสมควร แล้วใช้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหารเช้าเย็น
ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฝี หนองที่แผล เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อที่ทำให้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ เพราะน้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อย จะมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ดี
ฆ่าเชื้อรา มีผลวิจัยพบว่า ขมิ้นอ้อย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้ถึง 11 ชนิด และหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อราอีก 4 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนัง เช่น กลาก ชันนะตุ เชื้อราที่เล็บ ผิวหนัง ซอกนิ้วเท้า นอกจากนี้ ขมิ้นชัน ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราได้เหมือนขมิ้นอ้อย
ขับลม น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นอ้อย สามารถช่วยขับลมในท้องได้
บำรุงผิว นำขมิ้นอ้อย กระชาก พริกไทย หัวแห้วหมู มาทุบรวมกันแล้วดองด้วยน้ำผึ้ง รับประทานก่อนนอนทุกคืน จะช่วยให้ผิวสวย

** ทั้งนี้ นอกจากจะนำขมิ้นอ้อยมาใช้เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถใช้แต่งสีเหลืองในอาหาร เช่น ข้าวเหนียวเหลือง ขนมเบื้องญวน ได้ แถมยังนำมาย้อมสีผ้าให้เป็นสีเหลืองได้อีก


หนาดใหญ่
เป็นไม้พุ่มทรง สูง 1-4 เมตร มีกลิ่นหอมคล้าย การบูร ลำต้นกลม มีขนนุ่มยาว เปลือกต้นสี น้ำตาลเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอกแกนขนาดปลายและโคนแหลมขอบจักฟัน เลื่อย ผิวใบทั้งสองด้าน มีขนละเอียดหนาแน่น ดอกเล็กเป็นพู่กระจุกกลม ออก เป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง


ชื่อ : หนาดใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Blumea baslsamifera (Linn.) DC.
ชื่อวงศ์ : Asteraceae
ชื่ออื่น ๆ : พิมเสน ใบหลม ผักชีช้าง(กลาง) หนาด หนาดหลวง คำพอง (เหนือ) จะบอ(ปัตตานี) ตั้งโฮ่งเช่า (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : เป็นไม้พุ่มทรงสูง 1-4 เมตร มีกลิ่นหอมคล้าย การบูร ลำต้นกลม มีขนนุ่มยาว เปลือกต้นสีน้ำตาลเทา ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปหอกแกนขนาดปลายและโคนแหลมขอบจักฟันเลื่อย ผิวใบทั้งสองด้าน มีขนละเอียดหนาแน่น ดอกเล็กเป็นพู่กระจุกกลม ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง ผลมีขนสีขาว ผลแห้งไม่แตกโค้งงอเล็กน้อยเป็นเส้น 5-10 เส้น

ส่วนที่ใช้เป็นยา : ใบ

+ สรรพคุณ ++
รสเมาร้อนหอมฉุน แก้การเกร็งของกล้ามเนื้อ ห้ามเลือด เจริญอาหาร แกไขข้ออักเสบ เป็นยาบำรุงหลังคลอด ขับเหงื่อ ขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ แก้ธาตุพิการ แก้มุตกิต แก้เหน็บชา สูบแก้ริดสีดวงจมูก ต้มอาบบำรุงผิวหนังให้ชุ่มชื่น แก้โรคหิต

การขยายพันธุ์ :
 เมล็ด ปักชำ

การปลูก :
 หนาดเป็นพืชที่ขึ้นเองตาม ธรรมชาติ ตามบริเวณที่ชื้นแฉะ สำหรับการปลูกโดยทั่ว ๆ ไป เตรียมดินและรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก นำต้นกล้าที่ได้จากการเพาะเมล็ด หรือปักชำลงปลูก แล้วรดน้ำให้ชุ่ม

การดูแลรักษา : หลังปลูกใหม่ ๆ ควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ หมั่นพรวนดิน กำจัดวัชพืช ตัดแต่งกิ่ง และใสปุ๋ยเป็นครั้งคราว


เขยตาย
เป็น พรรณไม้ขนาดกลาง ความสูงประมาณ ๓-๖ เมตร ส่วนผิวของลำต้นเป็นสีเทา ๆ ตกกระ เป็นดวงสีขาว ๆ ใบลักษณะปลายใบจะเรียวเล็กส่วนกลางใบกว้าง
ชื่อ : เขยตาย
วงศ์ : Rutaceae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycosmispentaphylla (Retz.) DC.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อท้องถิ่น : มันหมู ส้มชื่น กระรอกน้ำ กระรอกน้ำข้าว ลูกเขยตาย น้ำข้าว ประยงค์ใหญ่ ตาระแป พุทธรักษา (เต็ม, 2544)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ต้น เป็นพรรณไม้ขนาดกลาง ลำต้นนั้นจะโตประมาณเท่ากับต้นหมาก และมีความสูงประมาณ ๓-๖ เมตร ส่วนผิวของลำต้นนั้น จะเป็นสีเทา ๆ ตกกระเป็นดวงสีขาว ๆ ใบลักษณะปลายใบจะเรียวเล็กส่วนกลางใบนั้นจะกว้าง ริมใบจะเรียบตรงปลายใบของมันจะแหลม ใบนั้นจะมีความยาวประมาณ ๙-๑๘.๕ ซม. จะออกดอกในฤดูฝน ดอกจะเป็นดอกเล็ก ๆ สีขาวรวมอยู่ในช่อเดียว เป็นช่อเดียวกันเป็น ช่อยาว ๆ ผลนั้นจะมีสีแดงกลมและโตเท่าผลมะแว้ง ในผลหนึ่งมีเมล็ดอยู่เพียง ๑ เมล็ด เมล็ดนั้นจะกลม มีสีดำ เมื่อผลแก่จัดในฤดูหนาว ก็จะมีรสหวาน (วิทย์, 2548)

สรรพคุณ
ดอก : รสเมาร้อน แก้หิด
ผล : รสเมาร้อน แก้หิด
เปลือกต้น : รสเมาร้อน ขับน้ำนม รักษาฝีทั้งภายนอกและภายใน
ราก : รสเมาขื่นปร่า กระทุ้งพิษ แก้พิษฝีทั้งภายใน และภายนอก แก้ พิษงู แก้ไข้กาฬ แก้โรคผิวหนังพุพอง ขับน้ำนม (วิทย์,2548)

สารสำคัญ : การ ทดสอบประสิทธิภาพรากของต้นเขยตาย พบว่าเป็นพืชที่ต่อต้านการรบกวนของเห็บโค โดยจะทำการทดสอบกับโค 30 ตัวในทุ่งหญ้า Paraíba รัฐ São Paulo ประเทศบราซิล แบ่งการทดลองออกเป็นสามกลุ่ม คือ ชุดควบคุม ชุดเจือจางที่ 1:10 mL และชุดเจือจางที่ 1:20 mL โดยจะสร้างจำลองตัวอ่อนขึ้นมา 4000 ตัว ในวันที่ 21, -14, -7, -1, 0, 7 และ 14 ทำการสกัดด้วยวิธี dehydration โดยทำการฉีดพ่นเข้าไปและสกัดในเอทานอลบริสุทธิ์ อัตราส่วนรากต่อเอทานอล คือ 3:1 และฉีดเข้าไปในโค ผลที่ออกมาได้ประสิทธิภาพถึง 76.10% โดยจะเห็นผลหลังจาก 3 วัน สกัดที่ระดับความเข้มข้น 1:10 mL โดยการสกัดครั้งนี้จะไม่ได้แสดงถึงปฏิกิริยาในการยับยั้ง แต่จะมุ่งไปในการเก็บรักษา ตัวอ่อนเพศเมียเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
การใช้ใบมะขามรักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิวพรรณ

มะขามเป็นไม้ยืน ต้นขนาดกลางถึงใหญ่  แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น  เนื้อแข็งเหนียว มาก  สูงประมาณ  60  ฟุต  เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อนแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็กๆ  ใบ เป็นใบประกอบ  ใบย่อยเป็นรูปขอบขนานมีขนาดเล็กมากออกเป็นคู่ๆ  เรียงกันตาม ก้านใบปลายใบและโคนใบมนสีเขียวแก่  ดอกขนาดเล็ก  ออกเป็นช่อที่บริเวณปลาย กิ่ง  กลีบดอกสีเหลืองมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก  ผลเป็นฝักกลมยาว  มีรอย คอดเป็นปล้อง  รสเปรี้ยวเปลือกนอกเปราะสีเทาอมน้ำตาล  เนื้อผลเมื่อแรกมีสี เหลื่องอ่อน  เมื่อแก่จัดมีสีน้ำตาลเมล็ดรูปค่อนข้างกลม


++ การใช้ใบมะขามรักษาโรคผิวหนัง บำรุงผิวพรรณ ++

ใบมะขามสามารถนำมาต้มกับน้ำ เพื่อใช้อาบชำระร่างกายเป็นยารักาาโรคผิวหนัง ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา รักษา กลาก เกลื้อน ผดผื่นคันตามร่างกายได้


สูตรสมุนไพรที่ใช้อยู่ไฟหลังคลอดบุตร
สมุนไพร ไทยมักมีการอังไฟ เข้ากระโจม นาบไฟ ชุดรับประทานยา ขับโลหิตเสีย ยำบำรุง โลหิต ฯลฯ ส่วนมากตำราจีนจะเป็นการรักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารที่ มีส่วนผสมของขิง และพริกไทย  สูตอาหารจีนโบราณ ที่จัดให้ผู้หญิงหลังคลอดรับ ประทาน เช่น ชาชงข้าวเหนียว คั่วขิง ขาหมูน้ำส้มดำขิงแก่ แกงจืดกระเพาะหมู พริกไทย ไข่เจียวขิงแก่  ไก่ต้มขิงใส่เหล้าขาว และสูตรอาหารสำหรับเพิ่มน้ำ นมโดยเฉพาะ คือ แกงจืดปลาช่อนกับเต้าหู้และขิงแก่ การชำระร่างกายจะใช้น้ำ อุ่นที่ผ่านการต้มใบส้มโอ ซึ่งของไทยจะใช้ใบตะไคร้หอม  ใบหนาด ใบชุดเห็ด เทศ ใบส้มป่อย เป็นต้น
ฉบับ นี้ขอแนะนำสมุนไพรและตำรายาจาก คุณลุงทิ้ง เพ็งเซะ และคุณลุงจบ สุวรรณรัตน์ บ้านคอกช้าง อ.นาทวี จ.สงขลา ซึ่งเป็นตำรับโบราณและได้ผล ดังนี้

++ ตำหรับยาอยู่ไฟหลังคลอด ++

1. หนาดใหญ่ ส่วนที่ใช้ ใบ
2. กล้วยน้ำว้า ส่วนที่ใช้ ใบ
3. เขยตาย ส่วนที่ใช้ ใบ
4. จิงจ้อขาว ส่วนที่ใช้ เถา , ใบ
5. จิงจ้อแดง ส่วนที่ใช้ เถา , ใบ
6. ขมิ้น ส่วนที่ใช้ ใบ

++ วิธีการใช้ ++

นำตัวยาทั้งหมดอย่างละประมาณ 2 กำมือ ผสมเข้ากันกับน้ำสะอาด แล้วผสมน้ำอาบ หรือ ต้มกับน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไอน้ำเดือดรมในกระโจมผ้า

เขียนโดย : ผชช.นลินี จาริกภากร


การใช้สมุนไพรแก้อาการเล็บขบ เล็บช้ำ
คุณ เคยทรมานกับอาการเล็บขบ เล็บช้ำ โดยเฉพาะเล็บซึ่งเกิดจากการตัดเล็บไม่ได้ สัดส่วน ทำให้เกิดอาการอักเสบปวดทรมานไปหลายวัน นอกจากจะเจ็บกายแล้วยังเจ็บ ใจอีกเพราะเล็บดูน่าเกลียดอีกต่างหาก แต่มีวิธีการรักษาง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ยุ่งยากแต่อย่างใด ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

++สูตรที่1++
ใช้ใบฝรั่งสด 2 ใบ เกลือป่น ½ ช้อนชา ข้าวสุก 2 ช้อนโต๊ะ โขลกให้เข้ากัน จากนั้นพอกตรงหนองบริเวณที่เป็นเล็บขบ จะช่วยบรรเทาอาการปวดหนึบๆได้

++สูตรที่2++
ใช้ไพล 1 แง่ง (ยาวประมาณ 1 นิ้ว) เกลือตัวผู้(เกลือที่เป็นเม็ดยาว) จำนวน 7 เม็ด ข้าวสุก 1 กำมือ นำตัวยาทั้งสามอย่างมาตำให้ละเอียด แล้วพอกบริเวณที่มีอาการ ภายใน 20 นาที จะทำให้หนองแตกออกมา หายปวดทันที

++ สูตรที่3++
ใช้มะนาวฝานตรงส่วนหัวออกให้ได้ขนาดกว้างพอที่จะสอดนิ้วที่มีอาการขบหรือช้ำ เข้าไปได้ แล้วใช้มีดคว้านเนื้อในออกเล็กน้อย เอาปูนแดงทาแผลที่ฝานไว้ในลูกมะนาวบางๆ แล้วเอานิ้วสอดเข้าไป ทิ้งไว้จนกว่าจะบรรเทาอาการปวด ทำ ซ้ำ 2-3 ครั้ง ก็จะกายจากอาการเล็บขบหรือช้ำทันที

++สูตรที่4++
ใช้ใบเทียนดอก(เทียนนา) 7-10ใบ หรือ จะใช้ดอกในช่วงที่มีแต่ดอกก็ได้เช่นกัน นำมาตำให้ละเอียด แล้วนำไปพอกบริเวณเล็บขบ เล็บช้ำ ทำการเปลี่ยนตัวยาวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น ไม่นานก็จะหาย

++สูตรที่ 5++
นำเกลือป่นไปใส่ตามซอกเล็บเท้าที่มีอาการขบ และถ้าขบมากๆ ให้ใส่เกลือทุกเช้า-เย็นจนกว่าจะหาย

++สูตรที่6++
ใช้ใบพลู 3-5 ใบตำผสมกับเกลือ แล้วพอกเล็บขบ เล็บช้ำ เปลี่ยนยาวันละ 2 ครั้งเช้า-เย็น


กะเพรารักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน
กะเพรามีน้ำมัน ที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด เมื่อนำใบประมาณ 20 ใบมา คั้นน้ำ จะได้น้ำกะเพราเข้มข้นที่นำมาใช้เป็นยาทาภายนอก

กะเพรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Ocimum sanctum) เป็นไม้ล้มลุก แตกกิ่งก้านสาขา สูง 30 – 60 ซม. นิยมนำใบมาประกอบอาหารคือ ผัดกะเพรา กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาว และ กะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว

กะเพรามีชื่อสามัญอื่นอีกคือ กอมก้อดำ กอมก้อขาว กอมก้อดง (เชียงใหม่) กะเพราขน (กลาง) กะเพราขาว กะเพราแดง (กลาง) ห่อกวอซู ห่อตูปลู (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) อิ่มคิมหลำ (เงี้ยว แม่ฮ่องสอน) และ อีตู่ไทย (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

สรรพคุณของกระเพรากับความงาม :
กะเพรามีน้ำมันที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด เมื่อนำใบประมาณ 20 ใบมาคั้นน้ำ จะได้น้ำกะเพราเข้มข้นที่นำมาใช้เป็นยาทาภายนอก รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อนได้ หากหมั่นทาเช้าเย็นเป็นประจำ หรือถ้านำน้ำคั้นจากใบสดไปผสมน้ำใช้อาบชโลมร่างกาย ก็จะเป็นการช่วยรักษาผิวพรรณให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคได้ด้วย

แหล่งที่มา : blog.taradkaset.com

อัพเดทล่าสุด